Tuesday, December 29, 2009

เจอเธอแล้ว! ดา ตอร์ปิโด หน้า 5 นิวยอร์กไทมส์

เจอเธอแล้ว! ดา ตอร์ปิโด หน้า 5 นิวยอร์กไทมส์
ประวิตร โรจนพฤกษ์
แปลและเรียบเรียงจาก
There She Was: Daranee Charnchoengsilpakul on The New York Times ประชาไท



ในหน้า A5 ของหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์ ฉบับวันที่ 29 สิงหาคม 2552 มีภาพขาวดำขนาดประมาณ 1x1 นิ้ว ของหญิงคนหนึ่ง เธอกำลังยิ้ม ตั้งท่าราวกับหญิงงามในภาพวาดอันโด่งดังของ เลโอนาร์โด ดา วินชี --โมนา ลิซ่า

แต่สิ่งที่ออกจะต่างกันอยู่สักหน่อยคือ เธอผู้นี้เพิ่งถูกตัดสินจำคุกถึง 18 ปีในข้อหา ดูหมิ่นกษัตริย์!

ใช่แล้ว เธอคือ ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล หรือที่รู้จักกันดีในนาม “ดา ตอร์ปิโด”

“ประเทศไทย: หมิ่นกษัตริย์ -- ถูกจำคุก 18 ปี” คือพาดหัวข่าวของรายงานข่าว ยาวสองย่อหน้าของ The New York Times ชิ้นนี้ ซึ่งเขียนโดยโทมัส ฟูลเลอร์ ผู้สื่อข่าวประจำประเทศไทย

(คุณสามารถอ่านข่าวเวอร์ชั่นออนไลน์ได้ที่นิวยอร์กไทม์

“นักเคลื่อนไหวทางการเมืองถูกตัดสินจำคุก 18 ปีเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ในข้อหาทำลาย “ชื่อเสียงและเกียรติยศ” ของกษัตริย์และราชินีไทย ซึ่งคดีนี้เป็นหนึ่งในอีกหลายคดีที่เกี่ยวกับการดูหมิ่นสถาบันกษัตริย์ ผู้พิพากษาทั้งสามคนกล่าวว่า ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล ผู้ซึ่งเป็นอดีตนักข่าว ได้กล่าวพาดพิงถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ . . . [ผู้เขียนเซ็นเซอร์คำออกหนึ่งคำ เพื่อหลีกเลี่ยงข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ] . . . รัฐประหารเพื่อล้มอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ซึ่งดารณีกล่าวว่า เธอจะยื่นอุทธรณ์

“ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่เข้มงวดมาเป็นเวลายาวนาน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่มีวิกฤติทางการเมืองในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ผนวกกับความกังวลถึงพระพลานามัยของกษัตริย์ผู้ทรงเจริญพระชนมายุ 81 พรรษา กฎหมายนี้ก็ถูกนำมาบังคับใช้บ่อยจนเป็นเรื่องปกติ”

เมื่อได้อ่านข่าวนี้แล้ว คุณผู้อ่านที่รักเห็นว่าอย่างไรบ้าง

เพื่อนของผู้เขียนคนหนึ่ง ซึ่งเป็นหญิงชาวอเมริกันผิวขาว จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยชั้นแนวหน้าของสหรัฐฯ กล่าวว่า ข่าวของดาทำให้เธอนึกถึงประเทศเกาหลีเหนือ

“มันตลกมาก . . . ฉันหมายความว่า มันทำให้ฉันขนลุก ในยุคนี้ เธอไม่น่าต้องเข้าคุกถึง 18 ปีเพราะการดูหมิ่นกษัตริย์”

“ล้าหลัง . . .”

“มันไร้สาระจริงๆ . . .”

“ยุคมืด . . . มันบั่นทอนประชาธิปไตย”

เธอขอที่จะไม่เปิดเผยชื่อ (เพื่อที่เธอจะได้มาพักผ่อนในช่วงวันหยุดในประเทศไทยได้อย่างไม่มีปัญหา)

คนต่อมา: เพื่อนร่วมงานหญิงชาวนิวซีแลนด์

“มันเป็นการทำเรื่องเล็กให้กลายเป็นเรื่องใหญ่ ฉันคิดว่า มันเป็นเรื่องน่าขัน และมันก็ได้ทำให้ประเทศไทยดูแย่มากๆ ในตอนนี้ ถ้า [มีกฎหมายอย่างนี้] ในประเทศอังกฤษ คนกว่าครึ่งประเทศคงต้องเข้าคุกไปแล้วกระมัง ฉันสงสัยว่า การมีกฎหมายแบบนี้ ราวกับว่าพวกเขา . . . [ผู้เขียนเซ็นเซอร์คำพูดของเธอออกไปสามคำ] . . .. เบื้องหลัง ถ้าพวกเขาเป็นกษัตริย์ที่ดีและเป็นบุคคลที่น่าเคารพยกย่อง ก็ไม่สำคัญเลยว่าใครจะพูดอะไร
มันเหมือนกับว่า . . . [ผู้เขียนเซ็นเซอร์คำไปสี่คำ] . . . ซ่อนอยู่”

เพื่อนร่วมงานชาวเม็กซิกันอีกคนหนึ่งกล่าวว่า
“ฉันคิดว่า มันเป็นเรื่องน่าอดสู จากมุมมองของตะวันตก มันเป็นความอัปยศอดสูของคนไทยที่ไม่สามารถพูด ... [ผู้เขียนเซ็นเซอร์คำหนึ่งคำ] ... ที่ได้รับรู้มาได้ และทำให้คำพูดเหล่านั้นเป็นที่รับรู้มากขึ้น พวกเขาจะทำลายตัวเองเพราะแบบนี้ การทำเช่นนี้ทำให้คำวิพากษ์วิจารณ์เหล่านั้นมีพลังยิ่งขึ้น มันกลายเป็นรูปแบบหนึ่งของการควบคุมทางสังคมไปแล้ว”

แต่ถ้าในที่สุดแล้ว ดาเลือกที่จะขอพระราชทานอภัยโทษ ดาก็ได้รับโทษจำคุกไปถึงหนึ่งปีแล้วใช่หรือไม่

เราต้องพิจารณาว่า กรณีของดายังคงทำให้อีกหลายๆ คนคิดว่า กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเป็นอุปสรรคต่อเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และความเท่าเทียมภายใต้กฎหมายของระบอบ “ประชาธิปไตย” และมีผลเสียต่อความสามารถในการแสดงความคิดเห็น คิด พูด และเขียนของคนไทยมากน้อยแค่ไหน

หากถามต่อว่า กฎหมายหมิ่นบรมเดชานุภาพมีผลกระทบต่อสมองส่วนไหนของคนไทย นั่นก็คงต้องให้ผู้เชี่ยวชาญด้านสมองเป็นผู้ตอบ แต่ถ้าถามคนไทยผู้มีใจรักเสรีภาพ รักการแสดงความคิดเห็นและความเท่าเทียมแล้วล่ะก็ พวกเขาคงต้องตอบว่า มัน “ทำร้าย” จิตวิญญาณของพวกเขาอย่างมาก

แม้ว่าบางสิ่งที่ดาพูดอาจจะหยาบคาย และอาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิด หากแต่อนาคตจะเป็นเช่นไร ถ้าคนในสังคมถูกปิดปากและกดขี่ด้วยกฎหมายเช่นนี้

กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ยิ่งทำให้ความกลัวฝังรากลึกลงในสังคมไทย และยิ่งทำให้สถาบันกษัตริย์ถูกเชิดชูยกย่องอย่างไม่ลืมหูลืมตา ซึ่งประชาชนไทยควรถามตัวเองว่า นี่คือสิ่งที่เขาสามารถหรือควรที่จะภูมิใจหรือไม่

ใครจะสามารถภูมิใจที่ประเทศเรามีกฎหมายอย่างนี้ได้ กฎหมายที่มีบทลงโทษรุนแรงเช่นนี้ ทำให้ประชาธิปไตยของไทยก้าวหน้าได้หรือ และกฎหมายนี้ได้ส่งผลเสียต่อการคิดวิเคราะห์ของคุณใช่หรือไม่



ประวิตร โรจนพฤกษ์ ได้ทุนจาก Kettering Foundation เพื่อไปทำวิจัยเรื่องประชาธิปไตยแบบเสวนาหาทางออก ณ เมือง Dayton รัฐ Ohio ตั้งแต่ต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา

4 comments:

  1. อย่างงี้สื่อถึงถูกครอบงำไงครับ พูดอะไรจริงก้อไม่ได้ กลัวหลอนไปหมดแล้ว สามัญชนต้องเจียมเนื้อเจียมตัว ปิดหู ปิดตา ปิดปาก รู้แต่ก็ ทำไรไม่ได้ เป็นบ้าดีกว่าเนอะ

    ReplyDelete
  2. ฝรั่งก็ต้องว่าอย่างงั้นอยู่แล้ว

    เขาไม่ใช่คนไทย

    กษัตริย์ของเขาไม่ใช่ในหลวงของเรา

    เขาไม่เข้าใจหรอกว่าทำไมคนไทยรักในหลวง

    ทำไมคนไทยปกป้องในหลวงนัก

    คนไทยเกือบทั้งหมดรักในหลวง เราว่ามีแค่กลุ่มน้อยอย่างพวกคุณที่ไม่คิดแบบนั้นนะ

    มาด้วยเหตุผลนะนี่ ไม่ได้มาหยาบคาย

    เผื่อพวกคุณจะเข้าใจคนอื่นบ้าง เผื่อจะได้เปลี่ยนความคิดบ้าง

    ReplyDelete
  3. คนต่างชาติไม่นับถือกบัตริย์เขาๆจึงด่าได้ ด่าไอ้เหี้ย ไอ้สัตว์ กับกษัตริย์เขาก็ได้ แต่ประเทศไทยถือ และที่มีเพราะพวกคุณนั่นแหละ ผมอยากถามว่าถ้างั้นพวกต่างชาติก็ด่าใครก็ได้ซิครับ งั้นตั้งเวทีด่าสันตะปาปาให้ดูทีด่าไอ้เหี้ย ไอ้สัตว์ ตั้งเวทีด่าเลยด่าได้ครบ 1 เดือนผมจะยอมรับ(ผมนับถือพระเจ้าอยู่หัว พวกคุณนับถือสันตะปาปา ดังนั้นสถานะเท่ากัน)

    ReplyDelete
  4. ขอร้องพวกที่อยู่นอกประเทศไทย แต่ยังมีความเป็นคนไทยอยู่ ให้หยุดการกระทำที่ พ่อแม่ ปู่ย่าตายาย ไม่ได้สั่งสอนสักทีเถอะ คนไทยเกิดมาทุกคนต้องให้ความเคารพ องค์เหนือหัว อยู่แล้ว มันเป็นจารีต ประเพณีที่เป็นมาช้านานแล้ว โดยที่ไม่มีใครในโลกนี้เหมือนคนไทย เราจงภูมิใจในความเป็นไทย ไม่ดีกว่าหรือครับ จำไว้ครับว่า คนไทยที่อยู่ในแระเทศไทย ส่วนใหญ่ยังรักและเคารพในหลวงของเรา แม้ว่าในอดีตจะเป็นอย่างไร เราคนไทยก็ไม่สนใจ เพราะปัจจุบัน ท่านทำทุกอย่างที่เป็นประโยชน์และช่วยเหลือคนไทยที่ยากจนทุกคน พวกคุณไม่เคยเป็นคนจน คงไม่เข้าใจใช่ไหมครับ (พวกเมียเช่า)(พวกกระหรี่เมืองนอก)ขอโทษที่หยาบคาย จบแล้ว

    ReplyDelete

Note: Only a member of this blog may post a comment.