สถาบันกษัตริย์ไทย ใจ อึ๊งภากรณ์ 2009
1
สถาบันกษัตริย์ไทย นิยายและความจริง
ใจ อึ๊งภากรณ์
สังคมไทยมีส่วนคล้ายนิทานเรื่อง “เสื้อผ้าชุดใหม่ของจักรพรรดิ” เพราะในรอบหลายปีที่ผ่านมาอำมาตย์1 ผลิตซ้ำนิยายโกหก
ว่ากษัตริย์ “เป็นเจ้าเหนือหัวเรา” “เป็นที่เคารพรักของคนไทยทุกคน” “เป็นคนที่มีฝีมือและความสามารถทุกด้าน เกินความ
เป็นมนุษย์” “เป็นผู้มีอำนาจสูงสุด” หรือ “เป็นคนดีที่ทำให้ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุข” และพวกผู้ใหญ่ของสังคมทั้งหลาย
นอกจากจะบังคับกล่อมเกลาให้ประชาชนเชื่อแล้ว ก็ยังท่องนิยายนี้จนเชื่อเอง ... และไม่แน่...กษัตริย์ภูมิพลอาจหลงเชื่อ
นิยายไปด้วย
แต่เด็กน้อยคนซื่อ ผู้มองเห็นแต่ความจริง ได้พูดออกมาแล้ว “จักรพรรดิเปลือยกาย!!!” ไม่ได้ใส่ชุดสวยหรูเหมือนกับที่
ผู้ใหญ่บอก
กษัตริย์ภูมิพลไม่ได้รักประชาชนและสร้างความสงบอยู่เย็นเป็นสุข เพราะกษัตริย์ภูมิพลผู้เป็นเศรษฐีอันดับหนึ่งของไทย
คัดค้านสวัสดิการเพื่อประชาชน ส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงที่ไม่เห็นด้วยกับการกระจายรายได้ สนับสนุนความรุนแรงใน
เหตุการณ์ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ และชมคนที่ทำรัฐประหาร ๑๙ กันยาและคนที่ทำลายประชาธิปไตย เสรีภาพ และมาตรฐาน
ความยุติธรรมทางกฎหมาย และในขณะที่ยอมให้คนยอว่าเป็น “พ่อแห่งชาติ” ตัวเองเลี้ยงลูกชายมาจนเป็นที่รังเกียจของ
สังคม ถ้าภูมิพลเป็นคนก้าวหน้าหรือเป็นคนดี เขาจะไม่ปล่อยให้มีการหยุดวิ่งรถตามถนนหนทาง เพื่อให้ตัวเขาและญาติๆ
เดินทางด้วยความสะดวกในขณะที่รถพยาบาลฉุกเฉินไม่เคยได้รับการอำนวยความสะดวกแบบนี้เลย เขาจะไม่ปล่อยให้มีการ
หมอบคลานต่อตัวเองเหมือนกับว่าประชาชนเป็นสัตว์ และเขาจะออกมาแสดงจุดยืนที่ชัดเจนในการปกป้องประชาธิปไตย
และการคัดค้านกฎหมายเผด็จการต่างๆ รวมถึงกฎหมายหมิ่นเจ้าด้วย
กระบวนการในการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยแท้ ที่ปราศจากเครือข่ายอำมาตย์ จะใช้เวลานาน และในขณะที่เราต่อสู้อยู่ คน
อย่าง สุวิชา ท่าค้อ, ดา ตอร์ปิโด, บุญยืน ประเสริฐยิ่ง และคนอื่นๆ อีกมากมายก็จะทนทุกข์ทรมานในคุกของเผด็จการ คนเสื้อ
แดงที่ต้องการประชาธิปไตยแท้จะต้องเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง และด้วยความอิสระ เพราะผู้นำเสื้อแดงบางคน โดยเฉพาะ
ทักษิณ ยังพยายามอ้างความจงรักภักดีและปกป้องสถาบันกษัตริย์ในรูปแบบเดิมอยู่
1 “อำมาตย์” ในความเข้าใจของผม คือกลุ่มชนชั้นนำอนุรักษ์นิยมไทย ที่ไม่ค่อยชอบประชาธิปไตย มันเป็นระบบที่พวกนี้สร้างด้วย เพื่อครอบงำ
สังคม อำมาตย์ประกอบไปด้วย ทหาร ข้าราชการชั้นสูง นักการเมือง นายทุน และกษัตริย์กับองค์มนตรี มันไม่ใช่บุคคลคนเดียว
สถาบันกษัตริย์ไทย ใจ อึ๊งภากรณ์ 2009
2
บทบาทคู่ขนาน ทหาร กับ กษัตริย์
ถ้าเราจะเข้าใจบทบาทของกษัตริย์ภูมิพลในสังคมไทย เราต้องเข้าใจบทบาทคู่ขนานของทหารกับกษัตริย์ เพราะในสังคม
ต่างๆ โดยทั่วไปทั่วโลก ชนชั้นปกครองจะดำรงอยู่ได้ก็ต่อเมื่อมีการใช้อำนาจข่มเหง และการสร้างความชอบธรรมสำหรับ
ตนเองในสายตาประชาชนพร้อมๆ กัน และการใช้อันใดอันหนึ่งตามลำพังมีประสิทธิภาพต่ำเกินไปที่จะสร้างความมั่นคง
ให้กับชนชั้นปกครอง
ในไทยกษัตริย์ภูมิพลคือสัญลักษณ์ของลัทธิอนุรักษ์นิยมที่ให้ความชอบธรรมกับอำนาจของอำมาตย์ โดยเฉพาะอำนาจ
ทหาร และทหารคือผู้ใช้อำนาจข่มเหงประชาชนและสังคมด้วยอาวุธ ดังนั้นกษัตริย์ภูมิพลไม่มีอำนาจเอง แต่มีหน้าที่สร้าง
ความชอบธรรมให้กับอำมาตย์ หรืออาจพูดได้ว่าเป็นเครื่องมือของอำมาตย์ในการสร้างความชอบธรรม แต่เป็นเครื่องมือที่
ยินดีทำตามหน้าที่ เพราะได้ประโยชน์ตรงนั้นด้วย อย่างไรก็ตามภาพลวงตาที่เราเห็น คือภาพละครอำนาจ ที่เสนอว่าภูมิพล
เป็นใหญ่
สี่นิยาย
ในสังคมเรา มีนิยายเกี่ยวกับกษัตริย์ภูมิพล ที่ไม่ตรงกับความจริง แต่ถูกผลิตซ้ำในโรงเรียน มหาวิทยาลัย พื้นที่สาธารณะและ
ในสื่อ โดยอำมาตย์ นิยายเหล่านี้มีบางส่วนที่อาจจริงเพื่อให้ดูน่าเชื่อ แต่เนื้อหาหลักๆ เป็นแค่นิยายอนุรักษ์นิยม ซึ่งจะ
พิจารณาดังต่อไปนี้
1. คนไทยทุกคนรักในหลวง กษัตริย์อยู่ในดวงใจคนไทยตั้งแต่สุโขทัย
2. กษัตริย์ภูมิพลสร้างความสงบให้กับสังคม
3. กษัตริย์ภูมิพลส่งเสริมความเป็นธรรมทางสังคม เพราะรักประชาชน
4. กษัตริย์ภูมิพลมีอำนาจสูงสุด
1. คนไทยทุกคนรักในหลวง และกษัตริย์อยู่ในดวงใจคนไทยตั้งแต่สุโขทัย จริงหรือ?
ในขณะที่คนไทยเป็นล้านรักในหลวงภูมิพล คนไทยเป็นล้านเกลียดและไม่เคารพเจ้าฟ้าชาย และในปัจจุบันคนไทยเป็นล้าน
เริ่มเกลียดชังระบบกษัตริย์ทั้งหมดเนื่องจากการกระทำของทหารในการยึดอำนาจเมื่อ ๑๙ กันยา ๔๙ ในนามของกษัตริย์
ประเด็นที่เริ่มเห็นชัดคือการรักในหลวงไม่ใช่การปลื้มสถาบัน แต่เป็นการมองตัวบุคคล ซึ่งแปลว่าสถาบันกษัตริย์ไม่ได้อยู่
ในดวงใจคนไทยมาตลอดตั้งแต่สุโขทัย คนไทยจะรักหรือจะชังกษัตริย์ขึ้นอยู่กับบุคคลและสถานการณ์ซึ่งเปลี่ยนแปลง
ตลอดเวลา และมันแปลว่าคนไทยอาจไม่เอาระบบกษัตริย์เลยก็ได้ ไม่ขัดกับ “ธรรมชาติของคนไทย” แต่อย่างใด นี่คือข้อมูล
สถาบันกษัตริย์ไทย ใจ อึ๊งภากรณ์ 2009
3
ง่ายๆ ที่เข้าใจง่าย แต่ไม่มีการพูดกันอย่างเปิดเผยเพราะทุกคนมีเหตุผลที่จะกลัวกฎหมายหมิ่นฯ ที่สำคัญคือความสนใจของ
ประชาชนที่จะอ่านหนังสือของ Paul Handley 2 หรือหนังสือทวนกระแสอื่นๆ ชี้ให้เห็นว่าคนไทยไม่ได้เชื่อคำหลอกลวงของ
อำมาตย์แบบง่ายๆ
ตั้งแต่รัฐประหาร ๑๙ กันยา อำมาตย์เล่นเกมส์ที่อันตรายสำหรับเขา เพราะตั้งแต่การล่มสลายของพรรคคอมมิวนิสต์แห่ง
ประเทศไทย (พคท) อำมาตย์สามารถสร้างสถานการณ์ที่ความรักเจ้าครองใจประชาชนจำนวนมาก สาเหตุสำคัญก็เพราะ
ฝ่ายค้านเจ้าอ่อนแอและไม่สามารถนำเสนอความคิดในสังคมได้อย่างเปิดเผย แต่ตั้งแต่ ๑๙ กันยา อำมาตย์ทำลายรัฐบาลที่
ประชาชนส่วนใหญ่ชื่นชม ทำลายประชาธิปไตย ทำลายพรรคการเมืองที่คนส่วนใหญ่เลือก สร้างความวุ่นวายด้วยพฤติกรรม
รุนแรง เช่นการยึดทำเนียบรัฐบาลและสนามบิน และการถือและใช้อาวุธกลางถนนเหมือนโจร และทุกอย่างที่ทำไปทำในนาม
ของกษัตริย์ภูมิพล ยิ่งกว่านั้นการที่ราชินีและลูกสาวไปงานศพพันธมิตรฯ ก็ยิ่งทำให้คนหมดความศรัทธาในราชวงศ์มากขึ้น
เราอาจพูดได้ว่าสังคมไทยกลับคืนสู่ยุคที่คนจำนวนมากในประเทศพร้อมจะพิจารณาระบบสาธารณรัฐ เหมือนสมัย พคท
รุ่งเรืองหลัง ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ หรือสมัยการปฏิวัติ ๒๔๗๕ และแม้แต่นักวิชาการอนุรักษ์นิยมที่รักเจ้าอย่าง ชัยอนันต์ สมุทร
วานิช ก็ยอมรับความจริงนี้ 3 นอกจากนี้ในหมู่คนที่ยังรักในหลวงภูมิพล มีคนจำนวนมากที่กำลังรอให้คนแก่คนนี้เสียชีวิต
เพราะหลังจากนั้นเขาจะเลิกรักเจ้า ไม่ชื่นชมคนต่อไป และอาจไม่เอาทั้งระบบ
ถ้ามองย้อนหลัง เราอาจคิดได้ว่าพวกอำมาตย์น่าจะปล่อยวางเรื่องการอ้างอิงกษัตริย์ตอนที่เขาทำทุกอย่างเพื่อล้มและ
สกัดกั้นทักษิณและพรรคการเมืองของคนเสื้อแดง แต่อำมาตย์อาจไม่มีทางเลือกก็ได้ เพราะสำหรับอำมาตย์การสกัดกั้นและ
ล้มรัฐบาลทักษิณกระทำผ่านกระบวนการประชาธิปไตยไม่ได้ เพราะเขาไม่พร้อมจะรอและเสนออะไรที่ “ซ้าย” และดีกว่า
ทักษิณในการเลือกตั้งข้างหน้า จึงไม่มีวันครองใจประชาชนคนจนที่เลือกไทยรักไทยได้ ดังนั้นอำมาตย์ต้องอาศัยวิธีที่เป็น
เผด็จการและขัดกับรัฐธรรมนูญ แค่อำมาตย์และพรรคพวกพูดเรื่อง “การคอรรับชั่น” ของทักษิณก็ไม่พอ เพราะทหารและ
อำมาตย์อื่นๆ ก็มีประวัติการคอร์รับชั่นมายาวนาน ดังนั้นอำมาตย์ต้องใช้อำนาจทหารข่มเหงประชาชนเพื่อเปลี่ยนรัฐบาลและ
สกัดกั้นรัฐบาลใหม่ของคนเสื้อแดง โดยใช้ลัทธิกษัตริย์เป็นเครื่องมือในการสร้างความชอบธรรมกับสิ่งที่เขาทำ
นอกจากนี้อำมาตย์ยังกลัวอีกว่าในช่วงที่ภูมิพลอายุสูงใกล้ตาย ทักษิณ ถ้ายังคงเป็นนายกอยู่ อาจได้เปรียบในการใช้เจ้า
ฟ้าชายเป็นเครื่องมือเมื่อมีการเปลี่ยนรัชกาล ถ้าข่าวลือว่าทักษิณให้เงินเจ้าฟ้าชายเพื่อจ่ายหนี้เป็นเรื่องจริง ซึ่งแสดงให้เห็นว่า
ความขัดแย้งระหว่างทักษิณกับอำมาตย์ ไม่ใช่ความขัดแย้งระหว่างอำมาตย์ผู้รักเจ้ากับทักษิณ”ผู้ต้องการล้มเจ้า”แต่อย่างใด
2 Paul Handley (2006) The King Never Smiles. Yale University Press. ซึ่งมีการแปลเป็นไทย หาได้ในอินเตอร์เน็ท
3 http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9520000087280 02/08/2009.
สถาบันกษัตริย์ไทย ใจ อึ๊งภากรณ์ 2009
4
มันเป็นความขัดแย้งระหว่างชนชั้นปกครองสองซีกที่ต้องการใช้เจ้าเพื่อความชอบธรรมของตนเองต่างหาก สิ่งที่อำมาตย์กลัว
มากที่สุดคือ ระบบการเลือกตั้งที่ให้ประโยชน์กับพรรคของทักษิณเนื่องจากมีนโยบายที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน จะทำให้
อำมาตย์เสียอำนาจและอิทธิพล และเสียผลประโยชน์เดิมที่เคยมี เช่นผลประโยชน์อันไม่ชอบธรรมของทหาร หรือของ
นักการเมืองเจ้าพ่อ เป็นต้น การทำรัฐประหาร ๑๙ กันยา เป็นการโต้ตอบของอำมาตย์ และทำให้ทักษิณแพ้การช่วงชิง
ความชอบธรรมจากระบบกษัตริย์
แต่เรื่องมันไม่ได้มีแค่ความขัดแย้งระหว่างสองซีกของชนชั้นบน มันเกี่ยวพันกับการเคลื่อนไหวและผลประโยชน์ของคนชั้น
ล่างจำนวนมากอีกด้วย ประเด็นสำคัญคือ ถ้าใครจะปกครองสังคม กลุ่มนั้นจะต้องหาทางครองใจประชาชนที่ไม่โง่เหมือนวัว
หรือควายแต่คิดเองเป็น
กระแสไม่เอาเจ้าแบบที่เห็นอยู่ทุกวันนี้ เคยมีมาสองครั้งในรอบ 100 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ท้ายรัชกาลที่ ๕ ข้าราชการทหาร
และพลเรือนที่ถูกสร้างมาจากการปฏิวัติสังคมของ ร๕ เริ่มไม่พอใจในระบบที่ให้ประโยชน์พิเศษกับราชวงศ์ และในที่สุดก็
นำไปสู่การปฏิวัติ ๒๔๗๕4 แต่การปฏิวัติ ๒๔๗๕ มีปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอีกด้วยคือ ประชาชนทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นกรรมกรใน
เมือง หรือชาวไร่ชาวนา ก็ไม่พอใจในรัฐบาลเผด็จการของรัชกาลที่ ๗ ท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจโลก
หลัง ๒๔๗๕ กระแสต้านเจ้าในสังคมไทยสูงมาก และดำรงอยู่ภายใต้เผด็จการของจอมพล ป. และรัฐบาลอื่นๆ ที่มาจาก
การเลือกตั้ง ในช่วงนั้นภูมิพลขึ้นมาเป็นกษัตริย์โดยอุบัติเหตุ เพราะเล่นปืนกับพี่ชายจนพี่ชายผู้เป็นกษัตริย์เสียชีวิต ดังนั้นภูมิ
พลเป็นกษัตริย์ใหม่ที่ขาดความมั่นใจอย่างยิ่ง ไม่มีคุณสมบัติเป็นผู้นำเลย และต้องไม่ออกหน้าออกตาในสังคมเพราะคนอย่าง
จอมพลป. ไม่ปลื้มกษัตริย์เท่าไร ภูมิพลต้องรอถึงรัฐประหารของจอมพลสฤษดิ์ ถึงจะมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายของรัฐต่อ
กษัตริย์ และมีการเริ่มรณรงค์และสร้างความสำคัญของกษัตริย์ในสังคม 5 ช่วงนี้เป็นช่วงที่มีการชูลัทธิ “ชาติ ศาสนา
พระมหากษัตริย์” และบังคับความจงรักภักดีต่อกษัตริย์โดยเผด็จการทหาร6 การที่ต้องมีการบังคับความจงรักภักดี แสดงให้
เห็นว่าในยุคนั้นประชาชนจำนวนมากไม่ได้รักในหลวงด้วยความสมัครใจ
4 Kullada Kesboonchoo Mead (2004) The rise and decline of Thai absolutism. Routledge.
5 Thak Chaloemtiarana (1979) The politics of despotic paternalism. Social Science Association of Thailand.ทักษ์ เฉลิมเตียรณ
(๒๕๒๕) “การเมืองระบบพ่อขุนอุปถัมภ์แบบเผด็จการ” สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
6 ลัทธิ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ มีการใช้ก่อนหน้านี้ภายใต้ระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แต่คราวนี้ใช้เพื่อให้ความชอบธรรมกับทหาร
สถาบันกษัตริย์ไทย ใจ อึ๊งภากรณ์ 2009
5
ในสมัยก่อนเผด็จการสฤษดิ์ ประชาชนจำนวนมากในชนบท ประกอบอาชีพโดยที่ไม่สนใจและให้ความสำคัญกับกษัตริย์
เลย7 นอกจากนี้ในยุคศักดินา ก่อนรัชกาลที่ ๕ ซึ่งเป็นยุคเกณฑ์แรงงานและทำสงครามกวาดต้อนคน ประชาชนในหมู่บ้าน
ต่างๆ คงจะเกลียดและกลัวกษัตริย์และทหารของกษัตริย์ ไม่ว่าจะมาจากเมืองไหน ไม่มีทางที่ชาวบ้านจะรักกษัตริย์อย่างที่
อำมาตย์โฆษณา ในภาคเหนือจะมีเรื่องเล่าโดยคนแก่คนชราว่า ถ้าพวกเจ้ามาแถวๆ หมู่บ้าน จะต้องเอาลูกสาวไปซ่อนไว้ก่อน
ช่วงที่สองที่เกิดกระแสต้านเจ้าในประชาชนครึ่งหนึ่งของประเทศ คือยุคที่ พคท ขึ้นมานำการต่อสู้กับเผด็จการทหารหลัง
เหตุการณ์นองเลือด ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ ในสมัยนั้นปัญญาชนและนักศึกษาจำนวนมาก มองว่ากษัตริย์ “ศักดินา” ภูมิพล เป็น
ศัตรูหลักของประชาชน 8 พรรคคอมมิวนิสต์มีอิทธิพลต่อความคิดของประชาชนจำนวนมาก ทั้งในเมืองและในชนบท เพราะ
สามารถนำการต่อสู้กับอำมาตย์และมีสถานีวิทยุ “เสียงประชาชนไทย” ที่คนแอบฟังเป็นจำนวนมาก สถานีวิทยุนี้จะวิจารณ์
ระบบกษัตริย์อย่างต่อเนื่อง
สิ่งที่น่าสังเกตคือ อำมาตย์จะพยายามปกปิดประวัติศาสตร์สองช่วงนี้ เพื่อไม่ให้เราทราบว่าคนไทยมีประวัติอันยาวนานใน
การต่อต้านระบบกษัตริย์
2. กษัตริย์ภูมิพลสร้างความสงบความมั่นคงให้กับสังคมไทยจริงหรือ?
ทุกวันนี้เราจะอ่านบทความของนักข่าวต่างประเทศที่เขียนว่า “ภูมิพลสร้างความสงบและความมั่นคงให้สังคมไทย” และ
นักเขียนกระแสหลักไทยก็จะมีความเห็นทำนองเดียวกันว่า “ภูมิพลสร้างความอยู่เย็นเป็นสุข” ดังนั้นพวกนี้จะมองว่าในยุค
หลังภูมพลสังคมไทยจะปั่นป่วน แต่เราแค่ดูความจริงเกี่ยวกับสังคมเราทุกวันนี้ก็จะเห็นว่าสังคมมันปั่นป่วนอยู่แล้ว และเคย
ปั่นป่วนในอดีตหลายครั้ง ทั้งๆ ที่ภูมิพลเป็นกษัตริย์
ในความเป็นจริง “ความสงบหรือความมั่นคง” ที่ภูมิพลช่วยสร้างในสังคมไทย คือความมั่นคงของการปกครองของ
อำมาตย์ต่างหาก ซึ่งเป็นความมั่นคงของชนชั้นที่ปกครองสังคมที่มีความเหลื่อมล้ำสูงมาก ไม่ใช่ความมั่นคงอยู่เย็นเป็นสุข
ของพลเมืองส่วนใหญ่แต่อย่างใด ประเด็นคือบทบาทสำคัญของภูมิพลเป็นบทบาทในเชิงลัทธิหรือสัญลักษณ์เพื่อความมั่นคง
ของอำมาตย์ ซึ่งจะพิจารณาในรายละเอียดข้างล่าง
7 Katherine Bowie (1997) Rituals of National Loyalty. New York: University of Columbia Press.
และลองอ่านหนังสือ “ลูกอีสาน” ของคำพูน บุญทวี
8 ปัญญาชนที่มีหน้ามีตาในสังคมไทย เช่นธีรยุทธิ์ บุญมี และ เสกสรรค์ ประเสริฐกุล เคยมีความคิดแบบนี้ในอดีต
สถาบันกษัตริย์ไทย ใจ อึ๊งภากรณ์ 2009
6
ตามลำพังกษัตริย์ภูมิพลไม่มีวุฒิภาวะที่จะสร้างอะไรหรือนำการเมืองไทยได้เลย เพราะเป็นคนขี้อาย แรกเริ่มไม่พร้อมจะ
เป็นกษัตริย์ และไม่กล้าที่จะมีอุดมการณ์หรือจุดยืนของตนเอง เวลาภูมิพลทำอะไรก็ย่อมตามกระแสผู้มีอำนาจเสมอ แต่ตาม
กระแสด้วยความยินดีสมัครใจ คำพูดกำกวมของภูมิพล เป็นวิธีในการหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบทุกอย่าง และเป็นวิธี “ส่งลูก”
ให้อำมาตย์ไปตีความเพื่อเข้าข้างตนเองเสมอ
ตั้งแต่แรก กษัตริย์ภูมิพลปล่อยให้ผู้บริสุทธิ์สามคนถูกประหารชีวิตในข้อหาฆ่ารัชกาลที่ ๘ โดยที่ภูมิพลไม่มีความซื่อสัตย์
และความกล้าที่จะสารภาพความจริง นอกจากนี้เขายอมให้เรื่องนี้กลายเป็นข้ออ้างในการขับไล่ อาจารย์ปรีดี ออกจาก
ประเทศไทย ตลอดเวลาที่สังคมเราตกอยู่ภายใต้เผด็จการทหาร สฤษดิ์ ถนอม ประภาส กษัตริย์ภูมิพลยินดีทำงานร่วมกับ
เผด็จการโดยไม่วิจารณ์อะไร แต่พอนักศึกษาและประชาชนออกมาล้มเผด็จการทหารสำเร็จในวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ มี
การแนะนำจากอำมาตย์ส่วนอื่นให้ภูมิพลรีบออกมาฉวยโอกาส กอบกู้สถานการณ์สำหรับอำมาตย์ โดยการออกโทรทัศน์
และตั้ง “สภาสนามม้า” เปิดทางให้มีการออกแบบประชาธิปไตยรัฐสภาที่รักษาอำนาจอำมาตย์
หลัง ๑๔ ตุลา ภูมิพลและราชวงศ์ ได้สนับสนุนฝ่ายขวาสุดขั้ว เช่นลูกเสือชาวบ้านและกลุ่มอื่นๆ ที่ใช้ความรุนแรงในสังคม
และนำไปสู่รัฐประหาร ๖ ตุลา ๒๕๑๙ ต่อจากนั้นสังคมไทยก็เข้าสู่ยุคสงครามกลางเมืองเต็มที่ เพราะ รัฐไทยรบกับ พคท ใน
เหตุการณ์เหล่านี้ภูมิพลสนับสนุนพวกฝ่ายขวาและรัฐประหารเพราะมองว่าไทยมี “ประชาธิปไตยมากเกินไป” 9 นายกรัฐมนตรี
ขวาตกขอบที่ภูมิพลชื่นชมในสมัยนั้น คือธานินทร์ กรัยวิเชียร แต่รัฐบาลของธานินทร์ ซึ่งมี สมัคร สุนทราเวช เป็นรัฐมนตรี
มหาดไทย ได้สร้างความแตกแยกในสังคมไทยจนฝ่ายทหารส่วนใหญ่ต้องปลดรัฐบาลนี้ออกเพียงหนึ่งปีหลัง ๖ ตุลา นี่หรือคือ
การสร้างความอยู่เย็นเป็นสุขของภูมิพล?
ในกรณีพฤษภาคม ๒๕๓๕ ในช่วงแรก ภูมิพล แนะนำให้ประชาชนไว้ใจและสนับสนุน เผด็จการสุจินดา แต่พอมีการลุกฮือ
ขับไล่สุจินดาสำเร็จไปแล้ว ภูมิพลก็ต้องออกมาสร้างภาพว่า ไกล่เกลี่ยระหว่างสุจินดากับจำลอง ภายใต้การประสานงานของ
องค์มนตรีเปรม
วิกฤตการเมืองปัจจุบันที่เริ่มต้นเมื่อมีการเคลื่อนไหวของพันธมิตรฯ และมีรัฐประหาร ๑๙ กันยา เป็นวิกฤตที่ภูมิพลไม่ได้
พยายามแก้ไขแต่อย่างใด ภูมิพลนั่งเฉยและปล่อยให้ผู้มีอำนาจแท้ในกองทัพ ทำลายความมั่นคงและความสงบของสังคม
ด้วยการอ้างความชอบธรรมจากกษัตริย์
9 คำปราศรัยของภูมิพลในวันเกิดปี ๒๕๑๙
สถาบันกษัตริย์ไทย ใจ อึ๊งภากรณ์ 2009
7
จะเห็นได้ว่าภูมิพลไม่เคยปกป้องประชาชนจากการถูกฆ่าโดยทหาร ไม่เคยรักษาความสงบ แต่มีหน้าที่หลักในการกอบกู้
สถานการณ์ เมื่อประชาชนลุกฮือ ไม่ให้หลุดไปจากอิทธิพลของอำมาตย์เท่านั้น และการกระทำดังกล่าว ทำไปภายใต้
คำแนะนำขององค์มนตรี ซึ่งเป็นเครือข่าย “ประสานงาน” ระหว่างส่วนต่างๆ ของอำมาตย์ เช่น ทหาร นักการเมือง ข้าราชการ
ผู้ใหญ่ นายทุน และนักการเมือง เราไม่ควรหลงเชื่อว่าองค์มนตรีมีอำนาจสูงสุด
3. กษัตริย์ภูมิพลส่งเสริมความเป็นธรรมทางสังคมผ่านโครงการหลวงต่างๆ เพราะรักประชาชน
หรือไม่?
ถ้าเรามองข้ามข้อมูลว่า โครงการหลวงเต็มไปด้วยการโกงกินและการกอบโกยผลตอบแทนสำหรับเจ้าหน้าที่ชั้นสูงของ
โครงการ เราจะพบว่าโครงการหลวงมีผลกับการพัฒนาชีวิตประชาชนน้อยมาก ถ้าเทียบกับโครงการต่างๆ ของรัฐบาลหลาย
สมัย 10 และประสิทธิภาพในการพัฒนาชีวิตพลเมืองของรัฐบาลไทยรักไทยเมื่อเทียบกับโครงการหลวง เป็นปัจจัยหนึ่งที่สร้าง
ความไม่พอใจกับอำมาตย์ เพราะเขาจะเสียเปรียบ นอกจากนี้โครงการหลวงหรือโครงการสร้างวังบนยอดเขาห่างไกลจาก
เมือง บ่อยครั้งสร้างปัญหาให้คนชนเผ่าที่ดำรงอยู่ในพื้นที่นั้นมานาน เพราะถูกขับไล่ออกจากบ้าน
ภูมิพลมีจุดยืนที่คัดค้านการกระจายรายได้และการสร้างระบบรัฐสวัสดิการสำหรับประชาชน 11 แต่สิ่งที่น่าเกลียดที่สุดคือ
ภูมิพลในฐานะเศรษฐีรายใหญ่อันดับหนึ่งที่สร้างสระว่ายน้ำให้หมาของตนเอง ไม่ละอายใจเลยที่จะสั่งสอนประชาชนให้
“พอเพียง”ท่ามกลางความยากจน เพราะแนวคิดเรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นลัทธิฝ่ายขวาที่คัดค้านการกระจายรายได้ และ
พยายามสอนให้คนจนพึงพอใจท่ามกลางความยากลำบาก
ข้อมูลจากนิตยสาร Forbes ในปีค.ศ. 200912 ระบุว่าภูมิพลมีทรัพย์สิน 30 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งไม่รวมทรัพย์สินอื่นๆ
นอกเหนือจากทรัพย์สินส่วนพระองค์ ในขณะเดียวกันเศรษฐีไทยอันดับยอด 40 คนแรก มีทรัพย์สินร่วมแค่ 25 พันล้านเหรียญ
นอกจากนี้ภูมิพลเป็นกษัตริย์ที่รวยที่สุดในโลกอีกด้วย แค่นี้ไม่พอ ประชาชนไทยทั้งประเทศออกเงินภาษีเพื่อหนุนกิจกรรมของ
วังเป็นพันๆ ล้านบาท หลังการทำรัฐประหาร ๑๙ กันยา มีการเพิ่มเงินจำนวนนี้ที่ประชาชนต้องออกทุกปี จาก 1,137 ล้าน
บาท เป็น 2,086 ล้านบาท13 และในปี ๒๕๕๑ ถ้าบวกค่าเครื่องบิน “พระที่นั่ง” เข้าไปอีก 3.650 ล้านบาท ยอดเงินที่ประชาชน
คนยากคนจนต้องจ่ายเพื่ออุ้มเจ้า สูงเกือบถึง 6 พันล้านบาท แต่แน่นอนไม่มีนักการเมืองหรือนักวิชาการคนไหนที่จะวิจารณ์
10 Paul Handley (2006) อ้างแล้ว
11 Kevin Hewison (1997) The Monarchy and democratization. In: K. Hewison (ed.) Political Change in Thailand. Democracy and
Participation. Routledge.
12 Forbes 23/09/2009, 17/06/2009.
13 ตัวเลขสำนักงบประมาณฯ
สถาบันกษัตริย์ไทย ใจ อึ๊งภากรณ์ 2009
8
ว่าค่าใช้จ่ายนี้ “ทำลายวินัยทางการคลัง” เหมือนกับที่เคยวิจารณ์สวัสดิการของ ไทยรักไทย ที่เป็นประโยชน์กับประชาชนเจ็ด
สิบล้านคน
ทั้งๆ ที่คำอธิบายอันไร้เนื้อหาของนักการเมือง ทหาร หรือนักวิชาการ เรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียง” ที่บอกเพียงว่าสอนให้คน
ทำอะไรพอเหมาะ อาจชวนให้เราคิดเหมือนวารสาร The Economist ว่ามันเป็นทฤษฏีเศรษฐศาสตร์ “ขยะเพ้อฝัน” แต่เรา
ต้องเข้าใจว่ามันไม่ใช่ทฤษฏีเศรษฐศาสตร์เลย เพราะไม่มีการระบุถึงบทบาทรัฐและตลาด หรือการผลิตในรูปแบบต่างๆ เพื่อ
การส่งออกหรือทดแทนการนำเข้าเลย แท้จริงแล้วเศรษฐกิจพอเพียงเป็น “ลัทธิ” ทางการเมืองของพวกฝ่ายขวาอนุรักษ์นิยม ที่
พยายามจะแช่แข็งความยากจนและความเหลื่อมล้ำในสังคม เพื่อประโยชน์ของคนชั้นสูง แต่ลัทธินี้มีองค์ประกอบพิเศษคือ
อ้างว่ามาจากปากภูมิพล ดังนั้น “ต้องเป็นมหาความคิด” และเราวิจารณ์ไม่ได้ เพราะถ้าวิจารณ์จะโดนคดีหมิ่นฯ นับว่าใน
สังคมไทยมีการบังคับให้เชื่อลัทธิขวาตกขอบสามัญ เราโชคดีที่ประชาชนส่วนใหญ่ไม่เชื่อ เพราะถ้าอำมาตย์ได้ดังใจเราจะ
เป็นสังคมปัญญาอ่อน
4. กษัตริย์ภูมิพลมีอำนาจสูงสุดจริงหรือ?
พวกอภิสิทธิ์ชนและอำมาตย์ได้ปกครองสังคมไทยเหมือนเป็นเมืองขึ้นส่วนตัวของเขา โดยที่พลเมืองไทยเป็นแค่ไพร่ การ
ปกครองของอำมาตย์อาศัยเครือข่าย “ร่วมกินร่วมขูดรีด” ที่อ้างความชอบธรรมจากกษัตริย์ 14 และมักสร้างภาพลวงตาว่า
กษัตริย์ภูมิพลเป็นทั้ง ศักดา(เก่าแก่) สมบูรณาญาสิทธิราชย์(อำนาจสูงสุด) และกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ(แบบ
ประชาธิปไตย) พร้อมกันหมด ทั้งหมดนี้เพื่อสร้างความชอบธรรมกับสิ่งที่อำมาตย์ โดยเฉพาะทหาร กระทำในสังคม
การมองลักษณะกษัตริย์แบบนี้ของอำมาตย์ เป็นการสร้างภาพที่ไม่ตรงกับประวัติศาสตร์ เพราะระบบศักดินาถูกปฏิวัติไป
โดยรัชกาลที่ ๕ ผู้สร้างระบบรัฐชาติรวมศูนย์ภายใต้กษัตริย์สมบูรณาญาสิทธิราชย์ และระบบนี้ถูกปฏิวัติไปในปี ๒๔๗๕ โดย
ที่ไม่มีการสถาปนาใหม่ในภายหลังเลย15 มีแต่การนำกษัตริย์มารับใช้ระบบทุนนิยมภายใต้อำมาตย์ในรูปแบบใหม่
กษัตริย์ภูมิพล ราชินีและลูกชาย มีภาพน่ากลัว แต่แท้จริงไม่มีอำนาจ มีแต่บทบาทหน้าที่ในละครใหญ่เพื่อหลอกปกครอง
ประชาชน แต่การที่ประชาชนจะเชื่อหรือไม่ ไม่ใช่เรื่องอัตโนมัติ เพราะคนส่วนใหญ่คิดเองเป็น
14 Duncan McCargo เรียกว่าเป็นเครือข่ายกษัตริย์ “Network Monarchy” แต่เขาเชื่อว่าภูมิพลมีอำนาจจริงในขณะที่ผมมองว่าภูมิพลเป็น
สัญญลักษณ์ Duncan McCargo (2005) Network monarchy and legitimacy crises in Thailand. The Pacific Review 18 (4)
December, 499-519.
15 ใจ อึ๊งภากรณ์และคณะ (๒๕๔๓) “การเมืองไทยในทัศนะลัทธิมาร์คซ์” สำนักพิมพ์ประชาธิปไตยแรงงาน
สถาบันกษัตริย์ไทย ใจ อึ๊งภากรณ์ 2009
9
เวลาทหารจะก่อรัฐประหารหรือทำอะไรที่มีผลกระทบต่อสังคม มีการคลานเข้าไปหาภูมิพล เพื่อสร้างภาพว่าไป “รับคำสั่ง”
แต่แท้จริงแล้วเป็นเพียงการ “แจ้งให้ทราบ” ว่าตัดสินใจทำอะไรก่อนหน้านั้น มันเป็นละครครั้งใหญ่ที่ผู้คลานมีอำนาจเหนือผู้
ถูกไหว้ ในกรณีแบบนี้กษัตริย์ภูมิพลจะถามความเห็นจากองค์มนตรีก่อนว่าควรมีจุดยืนอย่างไร ถ้าองค์มนตรีเห็นด้วยกับ
ทหาร ภูมิพลจะอนุญาตให้ “เข้าเฝ้า” แต่ถ้าองค์มนตรีแนะว่าไม่เห็นด้วย ภูมิพลจะ “ไม่สะดวกที่จะให้เข้าเฝ้า” แต่อย่าเข้าใจ
ผิดว่าสถานการณ์แบบนี้แสดงว่าองค์มนตรีมีอำนาจสูงสุด ไม่ใช่ องค์มนตรีมีไว้เป็นกลุ่มประสานงานระหว่างอำมาตย์ส่วน
ต่างๆ เช่นทหารชั้นผู้ใหญ่ นายทุนใหญ่ นักการเมืองอาวุโส หรือข้าราชการชั้นสูง และจะต้องสรุปความเห็นส่วนใหญ่ของ
อำมาตย์เพื่อแนะแนวให้กษัตริย์ นอกจากนี้ฝ่ายต่างๆ ของอำมาตย์ แม้แต่ในกองทัพเอง ก็ขัดแย้งกัน แข่งกัน แย่งกินกันอีก
ด้วย ไม่มีใครที่ผูกขาดอำนาจได้ มีแต่ความสามัคคีชั่วคราวเท่านั้น
การสร้างภาพว่ากษัตริย์ภูมิพลเป็นใหญ่ หรือภาพว่าทหาร “เป็นของกษัตริย์หรือราชินี” มีประโยชน์ต่ออำมาตย์ที่คอย
บังคับให้เราจงรักภักดีต่อกษัตริย์และราชวงศ์ เพราะการจงรักภักดีดังกล่าวเป็นการจงรักภักดีต่อทหารและส่วนอื่นๆ ของ
อำมาตย์
ถ้าศึกษาประวัติศาสตร์จะไม่พบช่วงไหนที่ภูมิพลมีอำนาจสั่งการอะไรได้ อาจแสดงความเห็นบ้าง แต่บ่อยครั้งก็ไม่มีใครฟัง
เช่นกรณีสุจินดา กรณีรัฐบาลหลัง ๖ ตุลา ที่อยู่ได้แค่ปีเดียว หรือแม้แต่กรณีการใช้เศรษฐกิจพอเพียงเป็นรูปธรรม นอกจากนี้
ภูมิพลพร้อมจะตามกระแส ไปด้วยกับผู้มีอำนาจทุกรูปแบบ เช่นสมัยรัฐบาลทักษิณก็มีการชมสงครามยาเสพติดที่ฆ่าคน
บริสุทธิ์กว่าสามพันคน16 และมีการร่วมธุรกิจระหว่างธนาคารไทยพาณิชย์กับบริษัท Shin Corp ของทักษิณอีกด้วย
บางครั้ง “ละครอำนาจ” ที่อำมาตย์เล่น ทำให้พวกราชวงศ์มีพื้นที่ที่จะทำอะไรตามใจชอบได้ กรณีพฤติกรรมของเจ้าฟ้า
ชายเป็นตัวอย่างที่ดี แต่ในเรื่องสำคัญๆ เช่นนโยบายต่อการปกครองบ้านเมือง หรือผลประโยชน์หลักของอำมาตย์ สมาชิก
ราชวงศ์ไม่สามารถทำอะไรได้
หลังรัฐประหาร ๑๙ กันยา คนเสื้อแดงและทักษิณ พยายามสร้างภาพของอำนาจและความเลวร้ายของประธานองค์มนตรี
เปรม ตินสุลานนท์ หลายคนเชื่อว่าเปรมเป็นผู้สั่งการให้มีรัฐประหาร และทักษิณมีความหวังว่าในช่วงเปลี่ยนราชกาล จะมี
การลด “อำนาจ” ขององค์มนตรี17 นอกจากนี้บางคนเชื่ออย่างสุดขั้วว่าเปรมจะตั้งตัวเป็นกษัตริย์คนต่อไป ผ่านตำแหน่งผู้
16 ปราศรัย 4 ธันวาคม ๒๕๔๖ http://www.thaiveterans.mod.go.th/mas_page/about_king/speak_birth/4_12_46_1.htm
17 สัมภาษณ์ The Times http://www.timesonline.co.uk/tol/news/world/asia/article6909258.ece 9/11/09.
สถาบันกษัตริย์ไทย ใจ อึ๊งภากรณ์ 2009
10
รักษาการแทนประมุข แต่คนอีกจำนวนหนึ่ง อาจจำนวนมากด้วย ด่าเปรม เพราะกฎหมายหมิ่นไม่เปิดโอกาสให้วิจารณ์ภูมิพล
อย่างตรงไปตรงมา “เปรม” กลายเป็นคำที่ใช้แทน “ภูมิพล”
การให้ความสำคัญกับเปรมแบบนี้ เป็นการเบี่ยงเบนประเด็นเรื่องกษัตริย์ เปรมเป็นแค่ประธานองค์กรที่ใช้ประสาน
ผลประโยชน์รว่ มของอำมาตย์ และหน้าที่ประธานคนนี้คือหน้าที่ผู้ประสาน ไม่ใชห่ นา้ ที่ผู้สั่งการ เปรมเป็นทหารชราที่ยังมี
พรรคพวกในกองทัพ แต่กองทัพไทยมีหลายพวกหลายพรรคที่แย่งชิงผลประโยชน์กันตลอด นี่คือสาเหตุที่ไม่มีใครสามารถนั่ง
ในตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกได้นาน จะต้องหมุนเวียนกัน เพื่อให้หมูใหญ่ทุกตัวเข้าถึงอาหารในคอกได้ และอย่าลืมว่า
เปรมถูกปลดออกจากการเป็นนายกโดยทหารและนักการเมืองคู่แข่ง
ถ้าเราอ่านงานของนักวิชาการสำคัญๆ เรื่องกษัตริย์ไทย18 เราจะเห็นว่าสถาบันกษัตริย์มีการวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงตาม
ยุคสมัย การเสนอว่าสถาบันนี้คงที่ ไม่เปลี่ยนแปลง และเป็นที่นิยมของคนไทยทุกคนตลอดกาล จึงเป็นความเห็นที่ไม่ตรงกับ
ความจริง และถ้าเราจะเข้าใจบทบาทของกษัตริย์ไทยที่เน้นหนักในทางสัญลักษณ์มากขึ้น เราต้องไปเปรียบเทียบกับกษัตริย์
ในยุโรป โดยเฉพาะอังกฤษ ซึ่งจะมีการพิจารณาต่อไปข้างล่าง
ในสังคมชนชั้นทั่วโลก ชนชั้นปกครองมีความสำเร็จระดับหนึ่งในการสร้างภาพเท็จ เพื่อปกครองและควบคุมประชาชน
เช่นภาพเท็จที่เสนอว่าคนส่วนใหญ่ไม่มีความสามารถในการปกครองตนเอง หรือภาพของ “เงิน” ว่ามันมีมูลค่าในตัวมันเอง
แทนที่จะเห็นว่ามันเป็นแค่เครื่องมือแลกเปลี่ยนระหว่างมูลค่า ภาพ “การมีอำนาจ” ของกษัตริย์ไทย สามารถครองใจคน
จำนวนมาก เพราะอำมาตย์สร้างความกลัวและทำลายความมั่นใจในตนเองของประชาชนผ่านกฎหมายหมิ่นและกฎหมาย
เผด็จการอื่นๆ ในสภาวะการขาดอำนาจและความมั่นใจที่จะกำหนดอนาคตของตนเอง คนจำนวนมากจะถูกชักชวนให้เชื่อ
นิยายเท็จได้ง่ายขึ้น นี่คือสภาวะแปลกแยก (Alienation) ที่นักมาร์คซิสต์พูดถึงมานาน19 แต่การครองใจของอำมาตย์เริ่มหมด
ประสิทธิภาพเมื่อประชาชนออกมาเคลื่อนไหวต่อสู้20 เช่นกรณียุค พคท หรือกรณีการต่อสู้ของคนเสื้อแดงปัจจุบัน ทั้งนี้เพราะ
การต่อสู้รวมหมู่หรือเป็นกลุ่ม ทำให้คนมีความมั่นใจมากขึ้น และบังคับให้คนต้องตั้งคำถามกับความเชื่อกระแสหลักที่ถูกสอน
มา
18 ธงชัย วินิจจะกูล (๒๕๔๘) “ข้ามให้พ้นประชาธิปไตยแบบหลัง ๑๔ ตุลา” มูลนิธิ ๑๔ ตุลา. ทักษ์ เฉลิมเตียรณ (๒๕๒๕)อ้างแล้ว และ Paul
Handley (2006) อ้างแล้ว
19 Georg Lukács (1971) History and class consciousness. Merlin Press.
20 มาร์คซ์, Lukács และกรัมชี เชื่อว่าการเคลื่อนไหวต่อสู้ ทำให้คนเปิดหูเปิดตา ดู ใจ อึ๊งภากรณ์ และคณะ(๒๕๔๕) “อะไรนะลัทธิมาร์คซ์เล่ม2”
สำนักพิมพ์ประชาธิปไตยแรงงาน หน้า219
สถาบันกษัตริย์ไทย ใจ อึ๊งภากรณ์ 2009
11
มุมมองนักวิชาการกระแสหลักที่คิดว่ากษัตริย์ภูมิพลมีอำนาจ
มุมมองนักวิชาการกระแสหลักที่กล่าวถึงนี้ ไม่ใช่ “กระแสหลัก” ในแง่ของชนชั้นปกครองอำมาตย์ที่ใช้มุมมองที่ขัดกับ
ประวัติศาสตร์ แต่เป็นมุมมองของนักวิชาการส่วนใหญ่ที่พยายามเข้าใจลักษณะของสถาบันกษัตริย์ โดยจะมีจุดร่วมว่า
กษัตริย์ภูมิพลมีอำนาจสูงในสังคมไทย นักเขียนที่สำคัญมีเช่น Paul Handley21, Duncan McCargo22, นักเขียนสำนักพิมพ์
ฟ้าเดียวกัน 23, Kevin Hewison24, Michael Connors25 และ นิธิ เอียวศรีวงศ์26 และหลายคนมองว่ากษัตริย์ภูมิพลมีบทบาท
สำคัญเบื้องหลังการทำรัฐประหาร ๑๙ กันยา
นักวิชาการเหล่านี้เชื่อว่าภูมิพลมีอำนาจเพราะใช้กรอบคิดร่วมกันสองกรอบคือ กรอบคิด “สตาลิน-เหมา” เรื่องขั้นตอนการ
ปฏิวัติทุนนิยม และกรอบคิด “รัฐข้าราชการ” (Bureaucratic Polity) ที่เน้นแต่การกระทำของคนชั้นสูงเท่านั้น
การวิเคราะห์ของนักวิชาการที่อาศัยกรอบการมองสังคมไทยตาม แนวสตาลิน-เหมา ของ พคท เสนอว่าไทยเป็น “กึ่งศักดิ
นา” ดังนั้นเขามักจะมองว่าความขัดแย้งที่นำไปสู่รัฐประหาร ๑๙ กันยาเป็นความขัดแย้งระหว่างนายทุนสมัยใหม่(ทักษิณ)
กับระบบกึ่งศักดินาของกษัตริย์ โดยที่กษัตริย์เป็นผู้นำทางการเมืองที่สำคัญ มุมมองแบบนี้จะต้องอาศัยข้อสรุปว่าการปฏิวัติ
นายทุน(กระฎุมพี)ยังไม่ได้ประสบความสำเร็จหรือยังไม่สมบูรณ์ในประเทศไทย 27 มันเป็นมุมมองที่เสนอการปฏิวัตินายทุน
และขั้นตอนของประวัติศาสตร์ในลักษณะกลไก เป็นการสวมประวัติศาสตร์ศตวรรษที่ 18 ในยุโรปทับสถานการณ์บ้านเมือง
ในไทยปัจจุบัน มีการพยายามแสวงหาการปฏิวัติในไทยที่มีรูปแบบเหมือนการปฏิวัติฝรั่งเศส ค.ศ. 1789 และเมื่อหาไม่เจอ ก็
สรุปว่ายังไม่ได้เกิดขึ้นหรือยังไม่สำเร็จโดยสมบูรณ์
21 Paul Handley (2006) อ้างแล้ว
22 Duncan McCargo (2005) อ้างแล้ว
23 ดูวารสาร ฟ้าเดียวกัน ฉบับ “โค้ก” ว่าด้วยสถาบันกษัตริย์กับสังคมไทย ตุลาคม-ธันวาคม ๒๕๔๘ และหนังสือ “รัฐประหาร 19 กันยา” ของ
สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน ๒๕๔๙
24 Kevin Hewison (2008) A Book, the King and the 2006 Coup. Journal of Contemporary Asia 38 (1).
25 M. K. Connors, M.K. (2003) Democracy and National Identity in Thailand. Routledge Curzon.
26 นิธิ เอียวศรีวงศ์ (๒๕๕๑) วิจารณ์หนังสือ The King Never Smiles ในการประชุมไทยศึกษาที่ธรรมศาสตร์ปีนั้น
http://www.prachatai.com/ 17/1/2008.
27 ดู เกษียร เตชะพีระ (๒๕๕๐) “ทางแพร่งแห่งการปฏิวัติกระฎุมพีไทย” เสวนาในวันที่๑๖ กันยายน ๒๕๕๐ จัดโดยมูลนิธิโครงการตำรา
สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ โพสธ์ในเวป์ ประชาไท ๑๗ กันยายน ๒๕๕๐ and ปาฐกถา ๑๔ ตุลาประจำปี ๒๕๕๐ หัวข้อ ‘จากระบอบ
ทักษิณสู่รัฐประหาร ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ วิกฤตประชาธิปไตยไทย’ http://www.prachatai.com/ 15/10/2007.
สถาบันกษัตริย์ไทย ใจ อึ๊งภากรณ์ 2009
12
แต่หลังค.ศ. 1848 ชนชั้นนายทุนในยุโรปได้ประนีประนอมกับอำนาจขุนนางเก่า ซึ่งอ่อนแอลงเนื่องจากการขยายตัวของ
ทุนนิยม ดังนั้นชนชั้นนายทุนสามารถครองอำนาจได้โดยไม่ต้องปฏิวัติแบบเก่าอีก และที่สำคัญคือการปฏิวัติแบบ 1789 ใน
ฝรั่งเศสเสี่ยงต่อการที่ชนชั้นล่าง โดยเฉพาะกรรมาชีพในเมือง จะตื่นตัวร่วมปฏิวัติและจะเดินหน้าโค่นล้มนายทุนไปด้วย นี่คือ
สาเหตุที่ คาร์ล มาร์คซ์ มองว่านายทุนหลัง 1848 เป็นชนชั้นที่ขี้ขลาดไม่กล้านำการปฏิวัติ
สำนักคิด สตาลิน-เหมา ที่ พคท ใช้ในการวิเคราะห์สังคมไทย เป็นแนวคิดที่มองว่าประเทศด้อยพัฒนายังเป็น “กึ่งศักดินา-
กึ่งเมืองขึ้น” อยู่ ทั้งนี้เพื่อเสนอวา่ การต่อสู้ขั้นตอนต่อไปในประเทศเหล่านี้ต้องเปน็ ขั้นตอน “ประชาชาติประชาธิปไตย” หรือ
ขั้นตอน “สถาปนาทุนนิยม” นั้นเอง มันเป็นทฤษฏีที่สร้างความชอบธรรมกับการทำแนวร่วมระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์กับชน
ชั้นนายทุนทั่วโลก และในไทย พคท เสนอให้ทำ “แนวร่วมรักชาติ” กับนายทุนก้าวหน้าหลัง ๖ ตุลา ซึ่งในภายหลังมีการ
ตีความต่อไปว่าควรทำแนวร่วมกับทักษิณ “เพื่อต่อต้านศักดินา” อย่างไรก็ตาม ทักษิณ ยืนยันอยู่ตลอดว่าเขารักและ
จงรักภักดีต่อภูมิพล และเจ้าฟ้าชาย และรัฐบาลของเขาก็มีส่วนสำคัญในการรณรงค์ให้คนใส่เสื้อเหลืองและรักเจ้า
แนวคิดแบบนี้มองข้ามลักษณะการเป็นนายทุนสมัยใหม่ของกษัตริย์ภูมิพล และเครือข่ายอำมาตย์ ที่ประกอบไปด้วยทหาร
ข้าราชการ และนายทุนธนาคาร และที่สำคัญ ไม่สามารถทำความเข้าใจได้ว่าทำไมนายทุนสมัยใหม่อย่างทักษิณ หรือนาย
ธนาคาร จะส่งเสริมสถาบันกษัตริย์เพื่อประโยชน์ของนายทุนเอง
กรอบคิดอีกกรอบหนึ่งของนักวิชาการที่เชื่อว่าภูมิพลมีอำนาจ คือกรอบคิด “รัฐข้าราชการ” ที่เน้นแต่บทบาททางสังคมของ
คนชั้นสูง โดยไม่พิจารณาบทบาทของคนส่วนใหญ่ในสังคมเลย สำนักคิดนี้ในไทยเติบโตมาจากงานของ Fred Riggs28 ในยุค
เผด็จการสฤษดิ์ที่เสนอว่าไทยเป็นรัฐข้าราชการ และคนส่วนใหญ่ในสังคมไม่สนใจและไม่มีบทบาททางการเมือง
ในกรณี Paul Handley มีการเสนอว่าพลเมืองไทยโง่และอ่อนแอ29 ซึ่งคล้ายๆ กับจุดยืนที่พวกเสื้อเหลืองมีต่อประชาชน
ส่วนใหญ่ ดังนั้นนักวิชาการเหล่านี้จะไม่ให้ความสำคัญกับบทบาทของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม ประชาสังคม และฝ่าย
ซ้าย โดยเฉพาะ พคท ในการวิเคราะห์สังคมไทยเลย การมองแบบนี้ทำให้ละเลยการวิเคราะห์ความจำเป็นของชนชั้นปกครอง
อำมาตย์ที่จะสร้างความชอบธรรมและครองใจประชาชน เพราะมองแค่ว่าคนข้างบนมีอำนาจข่มเหงเพียงพอที่จะควบคุม
สังคมได้ ดังนั้นเขาจะไม่ค่อยศึกษาบทบาทสำคัญของกษัตริย์ในการเป็นสัญลักษณ์ของลัทธิอำมาตย์เพื่อปกป้อง
ผลประโยชน์ของชนชั้นนายทุน
28 Fred Riggs (1966) Thailand. The Modernisation of a bureaucratic polity. East West Press.
29 Paul Handley (2006) อ้างแล้ว, หน้า 6,10,94,105
สถาบันกษัตริย์ไทย ใจ อึ๊งภากรณ์ 2009
13
อย่างไรก็ตามเราไม่ควรปฏิเสธและไม่เคารพงานเขียนของนักวิชาการกระแสหลักเหล่านี้เลย เพราะเวลาอ่านโดยรวม เรา
จะเห็นความพยายามที่จะวิเคราะห์ปัญหาที่พิจารณายากในสังคมไทย เพราะมีการเซ็นเซอร์และลงโทษผู้ที่พยายามแสดง
ความเห็นเรื่องกษัตริย์ตลอดเวลา ถ้าใครจะเข้าใจลักษณะกษัตริย์ไทย คนนั้นจะต้องต่อยอดจากองค์ความรู้ของนักวิชาการ
เหล่านี้
ข้อเสนอเรื่อง “เครือข่ายกษัตริย์” ของ Duncan McCargo มีความจริงอยู่ไม่น้อย เพราะเราจะพบเครือข่ายของทหาร
ข้าราชการ นายทุนและนักการเมืองกษัตริย์นิยม ซึ่งพึ่งพาซึ่งกันและกันและร่วมมือกันในการผลักดันผลประโยชน์ มันเป็น
ระบบอุปถัมภ์อันยิ่งใหญ่สำหรับการกอบโกยของอำมาตย์ แต่ประเด็นสำคัญคือ ในเครือข่ายนี้ภูมิพลมีอำนาจสูงสุด หรือเป็น
แค่หุ่นเชิดในเชิงสัญลักษณ์ของเครือข่าย
Michael Connors เสนอว่ากษัตริย์ภูมิพลเป็น “กลุ่มอำนาจหนึ่ง” ในระบบการเมืองไทย 30 ซึ่งเป็นการยอมรับว่าภูมิพล
อาจไม่มีอำนาจผูกขาด ในขณะที่ สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล เสนอว่าหลังพฤษภาคม ๒๕๓๕ ภูมิพลขึ้นมาเป็นหัวหน้าของชนชั้น
ปกครองไทยทั้งหมด31 แต่การวิเคราะห์แบบนี้ของสมศักดิ์ชวนให้เราคิดต่อว่า ภูมิพลเป็น “หัวหน้า” แบบไหน? แบบมีอำนาจ
เต็มๆและอำนาจสูงสุด หรือแบบที่เป็นประมุขสัญลักษณ์ที่ไร้อำนาจ?
การศึกษาเชิงเปรียบเทียบ
จุดเริ่มต้นที่ดีคือการศึกษาการปฏิวัติของชนชั้นนายทุนในอังกฤษในปี ค.ศ. 1640 เพราะหลังการล้มระบบขุนนางฟิวเดิล และ
การประหารชีวิตพระเจ้าชาร์ลส์ที่หนึ่ง ชนชั้นนายทุนอังกฤษนำกษัตริย์กลับมา เพื่อยับยั้งไม่ให้การปฏิวัติออกไปจาก
เป้าหมายของนายทุน เพราะในยุคนั้นกลุ่มสังคมนิยม เช่นพวก Levellers ในกองทัพของนายทุน ต้องการสร้างสังคมไร้ชน
ชั้น 32 ดังนั้นกษัตริย์ที่นายทุนนำกลับมาใช้ เป็นกษัตริย์ที่อ้างความโบราณ และอ้างว่าแต่งตั้งโดยพระเจ้า แต่แท้จริงเป็น
เครื่องมือของชนชั้นนายทุนในการส่งเสริมลัทธิอนุรักษ์นิยมที่ปกป้องระบบชนชั้นและความเหลื่อมล้ำ 33 การอ้างความเก่าแก่
โบราณสำหรับสิ่งที่พึ่งประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ เรียกว่าการสร้างประเพณีเก่าให้ดูใหม่ (Invention of Tradition) 34 สรุปแล้วใน
30 M. K. Connors (2003) อ้างแล้ว
31 สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล (๒๕๔๘) หลัง ๑๔ ตุลา วารสาร ฟ้าเดียวกัน ฉบับ “สถาบันกษัตริย์กับสังคมไทย” ตุลาคม-ธันวาคม ๒๕๔๘
32 Paul Foot (2005) The Vote. How it was won and how it was undermined. Penguin / Viking.
33 Christopher Hill (1959) The English Revolution 1640. An Essay. Lawrence & Wishart, London.
34 Eric Hobsbawm (1995) Inventing Traditions. In: E. Hobsbawm & T. Ranger, T. (eds) The Invention of Tradition. Cambridge
University Press.
สถาบันกษัตริย์ไทย ใจ อึ๊งภากรณ์ 2009
14
ประเทศของยุโรปตะวันตกที่ยังมีกษัตริย์ สถาบันนี้ไม่ใช่ซากเก่าของสถาบันโบรารณยุคขุนนางฟิวเดิลแต่อย่างใด แต่เป็น
สถาบันประดิษฐ์ใหม่ที่ทำให้ดูเก่า เพื่อหนุนแนวคิดอนุรักษ์นิยมของชนชั้นนายทุน นายทุนจะได้ปกครองบ้านเมืองง่ายขึ้น
ในประเทศไทย การปฏิวัติเปลี่ยนแปลงที่ทำลายระบบศักดินาเก่า และเปิดทางไปสู่การสร้างรัฐทุนนิยมสมัยใหม่ ไม่ได้เป็น
กระบวนการแบบในอังกฤษ ฝรั่งเศส หรือสหรัฐอเมริกา แต่เป็นการปฏิวัติในประเทศล้าหลังท่ามกลางการขยายตัวของระบบ
ทุนนิยมโลกผ่านการล่าอาณานิคม ในประเทศล้าหลังหลายประเทศ เช่นเยอรมัน อิตาลี่ สก็อตแลนด์ หรือญี่ปุ่น การปฏิวัติทุน
นิยมจะถูกนำจากข้างบน โดยชนชั้นปกครองเก่า ไม่ได้นำจากข้างล่างโดยชนชั้นนายทุนที่กำลังสู้กับขุนนาง มันเป็นการ
ปรับตัวของชนชั้นปกครองเก่า ให้เข้ากับยุคทุนนิยม เพราะถ้าไม่ปรับตัวก็ต้องสูญพันธ์35 การปฏิวัติของรัชกาลที่๕ ที่ล้มระบบ
ศักดินาและสถาปนาระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในระบบทุนนิยม มีส่วนคล้ายกับการปฏิวัติในประเทศล้าหลังเหล่านี้ และ
เกิดขึ้นในยุคใกล้เคียงกันด้วย
การปฏิวัติในไทยสมัย ร.๕ มีส่วนคล้ายกับการปฏิวัติเมจี่ในญี่ปุ่น เพราะเป็นการสร้างรัฐชาติทุนนิยมโดยชนชั้นปกครอง
เก่า เพื่อหาทางอยู่รอดในระบบทุนนิยมสมัยใหม่ แต่ไม่เหมือนในทุกประเด็น โดยเฉพาะในเรื่องการปฏิรูปและพัฒนาระบบ
การใช้ที่ดิน ซึ่งเกือบจะไม่เกิดขึ้นเลยในกรณีไทย เพราะกษัตริย์ไทยสมัยนั้นกลัวว่าถ้าพัฒนาระบบการผลิต ทรัพยากรจะตก
อยู่ในมือของทุนตะวันตก ในกรณีญี่ปุ่นมีการพัฒนาระบบการใช้ที่ดินแบบถอนรากถอนโคน ซึ่งส่งผลให้เศรษฐกิจขยายตัว
อย่างรวดเร็ว แต่ในไทยกษัตริย์จักรีพยายามแช่แข็งการพัฒนา เพื่อปกป้องผลประโยชน์ตนเอง36
ทักษ์37, ธงชัย38, เกษียร 39 และ นิธิ40 ได้เขียนเรื่องการสร้างประเพณีใหม่ให้ดูเก่าในกรณีสถาบันกษัตริย์ไทย ประเด็นนี้จึง
ไม่เป็นที่ถกเถียงเท่าไร แต่ประเด็นที่เราจะต้องมาให้ความสำคัญในช่วงนี้คือบทบาทกษัตริย์ในการเป็นสัญลักษณ์แห่งลัทธิ
อนุรักษ์นิยม เพื่อยับยั้งศัตรูของชนชั้นนายทุนสมัยใหม่ในสังคมไทย เช่นขบวนการภาคประชาชน สหภาพแรงงาน พรรค
คอมมิวนิสต์ หรือขบวนการเสื้อแดง
35 Neil Davidson (2004) The prophet, his biographer and the watchtower. International Socialism Journal No. 2:104, p. 23.
36 Tomas Larsson (2008) Western Imperialism and Defensive Underdevelopment of Property Rights Institutions in Siam. Journal
of East Asian Studies 8, 1-28.
37 ทักษ์ เฉลิมเตียรณ (๒๕๒๕) อ้างแล้ว
38 ธงชัย วินิจจะกูล (๒๕๔๘) อ้างแล้ว
39 เกษียร เตชะพีระ (๒๕๔๘) บทวิจารณ์การสร้าง “ความเป็นไทย” กระแสหลักฯ ในวารสาร ฟ้าเดียวกัน ฉบับ “สถาบันกษัตริย์กับสังคมไทย”
ตุลาคม-ธันวาคม ๒๕๔๘
40 http://www.prachatai.com/ 14/3/2006.
สถาบันกษัตริย์ไทย ใจ อึ๊งภากรณ์ 2009
15
บทบาทของกษัตริย์ไทยในการเป็นสัญลักษณ์ของลัทธิอนุรักษ์นิยม
บทบาททางการเมืองของภูมิพลเริ่มชัดเจนขึ้นในสมัยเผด็จการจอมพลสฤษดิ์ ยุคนี้เป็นยุคสงครามเย็น และยุคสงครามอินโด
จีน รัฐบาลเผด็จการของสฤษดิ์ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกา เพราะสหรัฐเชื่อว่าสฤษดิ์เป็นแนวร่วมที่ดีในการสู้กับ
คอมมิวนิสต์ ในหนังสือของทักษ์ เขาเสนอว่าสฤษดิ์ขาดความชอบธรรมที่คนอย่างจอมพล ป. หรือ อาจารย์ปรีดี เคยมี เพราะ
ไม่ได้มีส่วนในการนำการปฏิวัติ ๒๔๗๕ ดังนั้นสฤษดิ์จึงแสวงหาความชอบธรรมในสายตาประชาชนโดยการชูและส่งเสริมภูมิ
พล41 ประเด็นนี้จะจริงแค่ไหนไม่ทราบ เพราะเริ่มจากสมมุติฐานเท็จว่าประชาชน “คงต้องรักเจ้า” แต่เราอาจหาคำอธิบายอื่น
ได้คือ สฤษดิ์ต้องชูกษัตริย์ เพื่อให้ฝ่ายรักเจ้าอนุรักษ์นิยมในไทย และฝ่ายสหรัฐอเมริกาสนับสนุนเผด็จการของเขา
ในบริบทของสงครามเย็น สหรัฐอเมริกา และชนชั้นปกครองอนุรักษ์นิยมไทย รวมถึงเผด็จการทหาร มองว่าสถาบันกษัตริย์
เป็นสัญลักษณ์สำคัญของลัทธิที่จะใช้ต้านคอมมิวนิสต์ได้ หน่วยงานของรัฐบาลสหรัฐมีบทบาทสำคัญในการแจกรูปถ่ายภูมิ
พลไปตามหมู่บ้านต่างๆ เพื่อวัตถุประสงค์นี้42 ดังนั้นการเชิดชูกษัตริย์ภูมิพลผูกพันกับการปกป้องผลประโยชน์ของอำมาตย์
จากการที่จะถูกท้าทายโดยกระแสคอมมิวนิสต์
กระแสคอมมิวนิสต์เป็นสิ่งที่อำมาตย์ไทยกลัวมาก โดยเฉพาะในช่วงที่ประเทศรอบข้างกำลังเปลี่ยนไปปกครองโดยรัฐบาล
คอมมิวนิสต์ แต่หลังจากที่คอมมิวนิสต์ล่มสลาย ภัยจากประชาชนที่มีต่อผลประโยชน์อำมาตย์ ไม่ได้หายไป เพราะมีการ
เคลื่อนไหวของขบวนการทางสังคม สหภาพแรงงาน และกลุ่มเอ็นจีโอ ดังนั้นอำมาตย์ไม่เคยเลิกในความพยายามที่จะครอง
ใจกลุ่มเหล่านี้ด้วยลัทธิกษัตริย์
ลัทธิ “ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์” ที่มองว่ากษัตริย์เป็นหัวใจของชาติ หัวหน้าศาสนา และสัญลักษณ์ของ “ความเป็น
ไทย” ที่ไม่ใช่คอมมิวนิสต์ มีความสำคัญมากในยุคสงครามเย็น และนี่คือที่มาของบทบาทกษัตริย์ในการเป็นตัวแทนของลัทธิ
ที่ให้ความชอบธรรมกับอำมาตย์ในยุคปัจจุบัน
พวกอำมาตย์ ไม่ใช่ซากเก่าของระบบศักดินา แต่เป็นชนชั้นปกครองอนุรักษ์นิยมสมัยใหม่ที่ใช้เผด็จการและความป่าเถื่อน
ยิ่งกว่านั้นภูมิพลไม่ใช่หัวหน้าของแก๊งโจรเหล่านี้ แต่แก๊งโจรใช้เขาเป็นเครื่องมือสร้างความชอบธรรมต่างหาก โดยที่ภูมิพล
ยินดีถูกใช้ตราบใดที่สามารถกอบโกยความร่ำรวยและมีคนมากราบไหว้ต่อไปเรื่อยๆ
41 ทักษ์ เฉลิมเตียรณ (๒๕๒๕) อ้างแล้ว
42 Katherine Bowie (1997) อ้างแล้ว
สถาบันกษัตริย์ไทย ใจ อึ๊งภากรณ์ 2009
16
การสร้างความชอบธรรมจากกษัตริย์มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับทหารไทย เพราะทุกวันนี้กระแสประชาธิปไตยขยายไป
ทั่วโลกในจิตใจประชาชน เวลาทหารทำรัฐประหารก็อาจพยายามอ้างว่าทำ “เพื่อประชาธิปไตย” แต่ไม่ค่อยมีใครเชื่อ เพราะ
บทบาททหารในการเมืองกับระบบประชาธิปไตยมันไปด้วยกันไม่ได้ นอกจากนี้กองทัพไทยไม่มีประวัติอะไรเลยในการปลด
แอกประเทศอย่างในกรณีอินโดนีเซียหรือเวียดนาม ดังนั้นทหารต้องอ้างความชอบธรรมจากที่อื่น เวลาทหารอ้างว่า “ทำเพื่อ
กษัตริย์” จะได้ดูเหมือนว่าไม่ได้ยึดอำนาจมาเพื่อตนเอง จะเห็นได้ว่าการสร้างภาพว่ากษัตริย์มีอำนาจสูงสุด เป็นประโยชน์ใน
การปิดบังความจริงเกี่ยวกับการใช้อำนาจของทหาร ที่ใช้อำนาจเพื่อประโยชน์ตนเองเสมอ และทุกกลุ่มทุกรุ่นที่แย่งชิง
ผลประโยชน์กันเองในกองทัพ ก็จะพยายามโกหกเสมอว่า “ทำเพื่อในหลวง”
การใช้กษัตริย์เพื่อเป็นลัทธิที่ให้ความชอบธรรมกับอำมาตย์ ต่างจากยุโรปตะวันตกตรงที่อำมาตย์ไทยยังไม่ถูกบังคับโดย
ประชาชนให้ยอมรับประชาธิปไตย ดังนั้นลัทธิกษัตริย์ในไทย ใช้ในลักษณะเผด็จการพร้อมกับกฎหมายหมิ่นฯ หรือกฎหมาย
เผด็จการอื่นๆ และมีการสร้างภาพว่ากษัตริย์เป็นเทวดาเหนือมนุษย์ด้วยการหมอบคลานและการใช้ราชาศัพท์ ถ้าไทยจะมี
ระบบกษัตริย์เหมือนยุโรปตะวันตก ก็จะต้องยกเลิกกฎหมายหมิ่นฯ การหมอบคลาน และการใช้ราชาศัพท์ และต้องยินยอม
ให้มีการวิพากษ์วิจารณ์กษัตริย์อย่างเสรีพร้อมกับการมีเสรีภาพในการเสนอระบบสาธารณรัฐอีกด้วย และที่สำคัญต้องมีการ
ทำลายอำนาจอำมาตย์ลงจนยอมรับประชาธิปไตย ในสถานการณ์แบบนั้น เราไม่จำเป็นต้องมาปกป้องหรือรื้อฟื้นกษัตริย์ใน
รูปแบบใหม่เลย ยกเลิกไปจะดีกว่า และจะมีประโยชน์กว่า เพราะจะประหยัดงบประมาณ และในอนาคตจะไม่มีใครสามารถ
อ้างกษัตริย์ในการทำลายประชาธิปไตยได้อีก
เมื่อภูมิพลตาย
คนไทยจำนวนมาก ไม่ว่าจะแดงหรือเหลือง กำลังรอวันตายของ ภูมิพล ด้วยอารมณ์ที่แตกต่างกันไป เพราะ ภูมิพล มี
ความสำคัญในสังคมไทย ทั้งในแง่บวกและลบ แล้วแต่จุดยืน เมื่อ ภูมิพล ใกล้ตาย บางคนอาจคิดว่าต้องมีการแย่งชิงอำนาจ
กันเพื่อขึ้นมาเป็นกษัตริย์คนต่อไป มันจะเกิดจริงหรือ? ทหารของพระเทพฯจะรบกับทหารของเจ้าฟ้าชาย? หรือทหารของ
ราชินี? ทหารของเปรมจะแต่งตั้งเปรมเป็นกษัตริย์แทนหรือ? ไม่น่าจะใช่ พวกอำมาตย์มันอาจจะแย่งกัน แต่สิ่งที่แย่งกันคือ ว่า
ใครจะมีสิทธิ์ใช้สถาบันกษัตริย์เพื่อสร้างความชอบธรรมกับตนเองมากกว่า เขาจะแย่งกันผูกมิตรกับและควบคุมเจ้าฟ้าชาย
เมื่อ ภูมิพล ตาย ผมเดาว่าจะมีการสร้างพิธีงานศพมโหฬาร ใหญ่โต สิ้นเปลืองงบประมาณมหาศาล และจะใช้เวลาอย่าง
น้อยสองเท่าเวลาที่เขาใช้กับ “พระพี่นาง” อาจถึงห้าปีก็ยังได้ อาจมีงานต่อทุกปีให้ครบสิบปีก็ได้ งานศพนี้จะมีวัตถุประสงค์
เดียว (ไม่ใช่เพราะว่าไพร่ทั้งหลายต้องใช้เวลาทำใจท่ามกลางความเศร้าหรอก) แต่เพื่อเสริมสร้างลัทธิกษัตริย์ ที่จะนำมาข่มขู่
กดขี่เราต่อไป
สถาบันกษัตริย์ไทย ใจ อึ๊งภากรณ์ 2009
17
เมื่อ ภูมิพล ตาย ทหารจะยังมีอำนาจอยู่ ปืนและรถถังไม่ได้หายไปไหน และเมื่อทหารชั้นผู้ใหญ่ตกใจที่ภูมิพลตาย ก็ไม่ใช่
เพราะ “ไม่รู้จะรับคำสั่งจากใคร” แต่ปัญหาของเขาคือ “ไม่รู้จะหากินสร้างความชอบธรรมจากใครต่ออย่างไร” มันต่างกันมาก
ผมเดาว่าเมื่อ ภูมิพล ตาย ทหารจะต้องการยืดงานศพให้ยาวนาน ภาพ ภูมิพล จะเต็มบ้านเต็มเมือง และใครที่คิดต่างจาก
ทหารหรืออำมาตย์ หรือใครที่อยากได้ประชาธิปไตยแท้ ก็จะถูกโจมตีว่าต้องการ “ล้มภูมิพล” ทั้งๆ ที่ ภูมิพล ตายไปแล้ว มัน
ไม่สมเหตุสมผล แต่ลัทธิกษัตริย์ของอำมาตย์มันไม่ต้องสมเหตุสมผลทุกครั้งอยู่แล้ว
นอกจากนี้ ในขณะที่มีงานศพยาวนานพร้อมการคลั่งและเชิดชูคนที่ตายไปแล้ว ก็จะมีการเข็นลูกชายออกมารับหน้าที่เป็น
กษัตริย์ใหม่ ปัญหาของอำมาตย์คือไม่มีใครเชื่อว่าลูกชายเป็นคนดีหรือมีความสามารถ ไม่เหมือนพ่อ ไม่มีใครรัก แม้แต่คน
เสื้อเหลืองเองก็ไม่เคารพ แต่การจัดงานศพพ่อยาวๆ การ “ไม่ลืมภูมิพล” จะกลายเป็นเครื่องมือเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจจาก
ลูกชาย นอกจากนี้เขายังมีเมียภูมิพลอีกด้วย เข็นออกมารับงานได้ แต่ประชาชนก็ไม่รักเท่าไรตั้งแต่ไปงานศพพันธมิตรฯ
ดังนั้นในเรื่องลูกชายและเมีย ก็ต้องย้ำเสมอว่า “เป็นลูกชายภูมิพล เป็นเมียภูมิพล” เพื่อไม่ให้เราลืม “ความดีงาม” ของ ภูมิ
พล
ถ้าลูกชายภูมิพลไม่ได้รับความเคารพในสังคม ทำไมไม่นำลูกสาวขึ้นมาเป็นกษัตริย์แทน? ถ้าภูมิพลมีอำนาจจริง ทำไมเขา
ไม่ประกาศว่าลูกสาวจะเป็นกษัตริย์คนต่อไปก่อนตาย? คำตอบคือ ภูมิพลไม่กล้า และที่สำคัญที่สุดคือการนำลูกสาวขึ้นมา
โดยทหาร จะส่งสัญญาณอันตรายว่า ระบบกษัตริย์ไม่ได้อิงจารีตประเพณีอันเก่าแก่จริง ถ้าให้ผู้หญิงเป็นกษัตริย์ได้แทนผู้ชาย
ที่ยังมีชีวิต มันจะทำลายนิยายของความเก่าแก่ศักดิสิทธิ์ของกษัตริย์ ยิ่งกว่านั้นจะส่งสัญญาณว่าในระบบกษัตริย์ ถ้ากษัตริย์
หรือเจ้าฟ้าชายไม่ดีหรือไม่เหมาะสม ก็เปลี่ยนคนได้อีกด้วย ถ้าเปลี่ยนคนได้ก็ยกเลิกไปเลยได้เหมือนกัน อย่าลืมว่ากษัตริย์มี
บทบาทหลักในการเป็นลัทธิความคิดที่ใช้ครอบงำเรา มันไม่ใช่อำนาจดิบ ดังนั้นผลในทางความคิด ในการเป็นลัทธิที่อ้าง
ประเพณีที่ฝืนไม่ได้ เป็นเรื่องใหญ่
เมื่อ ภูมิพล ตาย สังคมไทยจะไม่ปั่นป่วนกว่าที่เป็นอยู่แล้ว อย่าไปโง่คิดว่า “จุดรวมศูนย์หัวใจคนไทยหายไป” มันเลิกเป็น
จุดรวมศูนย์นานแล้ว และไม่เคยรวมหัวใจทุกคนด้วย แต่สิ่งที่จะปั่นป่วนหนัก คือหัวใจของพวกอำมาตย์และเสื้อเหลือง
ต่างหาก พวกนี้จะคลั่งมากขึ้น อันตรายมากขึ้น แต่อันตรายท่ามกลางความกลัว เขาจึงมีจุดอ่อน
เมื่อ ภูมิพล ตาย คนเสื้อแดงจำนวนมากที่เกรงใจ ภูมิพล และเคยรัก ภูมิพล จะไม่เกรงใจหรือรักลูกชายเลย ความปลื้มใน
ระบบกษัตริย์จะลดลงอีกในสายตาคนส่วนใหญ่ แต่เมื่อ ภูมิพล ตาย คนเสื้อแดงที่ไม่เอาเจ้า เพราะอยากได้ประชาธิปไตยแท้
จะไม่ประสบผลสำเร็จง่ายๆ หรือโดยอัตโนมัติ เพราะฝ่ายอำมาตย์จะไม่เลิก อำนาจทหารจะยังมี และการรณรงค์ให้คลั่งเจ้า
สถาบันกษัตริย์ไทย ใจ อึ๊งภากรณ์ 2009
จะเพิ่มขึ้น ในมุมกลับ เมื่อ ภูมิพล ตาย อำมาตย์จะปั่นป่วน และมันเป็นโอกาสที่เราจะสู้ทางความคิดอย่างหนัก เพราะแหล่ง
ความชอบธรรมของเขาจะอ่อนลง ดังนั้นเราจะต้องถามคนทั่วประเทศว่า ทำไมต้องมีระบบนี้ต่อภายใต้ลูกชายหรือแม่?
พลเมืองที่รักประชาธิปไตยไม่สามารถรอวันตายของ ภูมิพล ได้ เพราะมันจะมีทั้งภัยและโอกาสตามมา เราหลีกเลี่ยงการ
วางแผน การจัดตั้งคน และการผนึกกำลังมวลชนไม่ได้ ประชาธิปไตยจะไม่หล่นจากต้นไม้ เหมือนมะม่วงสุก เราต้องไปเด็ด
มันลงมากิน และเราจะต้องสอยอำมาตย์ทั้งหมดลงมาด้วย เพื่อไม่ให้ทำลายประชาธิปไตยอีก
http://siamrd.blog.co.uk/
ถามอย่างนึงดิ
ReplyDeleteตั้งแต่เปนคนมาเนี่ย
เคยเดินทางไปจังหวัดต่างๆในเในประเทศเพื่อเยี่ยงประชาชนครบ 76 จังหวัดยัง
ถ้าไม่ได้ทำอย่ามาพูด
ใช่ เคยไหม ที่ไปที่ไหน มีประชาชน มารอรับ
ReplyDelete(ผมจะไม่ใช้ราชาศัพท์นะ)
ผ้าเช็ดหน้าลูบเท้าท่าน
มือลูบเท้าท่าน แล้วเอามาลูบหัวตัวเอง
ไปที่ไหน ความเจริญก็ไปด้วย
ไม่ใช่พวกท่านๆ ทั้งหลาย
ไปที่ไหน ก็มีแต่ไปสร้างความฉิบหาย ที่นั่น
ลองถามตัวเองดู ตั้งแต่เกิดมาเป็นคน
เคยทำอะไรเพื่อตอบแทนประเทศบ้างไหม
ไม่ใช่อะไรๆ ก็มาเรียกร้องประชาธิปไตย อะไรๆ ก็ประชาธิปไตย
ประชาธิปไตย เพื่อนาย พวกคุณน่ะสิ
เขาโยนเศษเงินมาให้ ก็วิ่งหางกระดิก ทำตามคำสั่งเขาทุกอย่าง
ธรณีจะสูบ พวกเจ้ามูลเมือง
ReplyDelete.................
ภายภาคหน้า รากหญ้าจะฉลาด ไม่ยอมเป็นเครื่องมือพวกนายทุน
ขอให้คุณผู้เขียนบล๊อกนี้ มีความรักและความเมตตา เอื้ออาทร แก่ผู้อื่นบ้าง โปรดปล่อยวางความคิดที่คิดร้ายแก่ผู้อื่น ในขณะที่ท่านยังมีโอกาสเถิด
ReplyDeleteบ่นอะไรครับ
ReplyDeleteอ่านมาครึ่งหน้าก็เบื่อแล้ววว
ผมอ่านพระราชประวัติที่คุนอ้างว่าแต่งขึ้น ยังสนุกกว่าอ่าน
บทความของคุนเลยครับ
เรื่องง่ายๆขนาดจะขายของยังทำไม่เป้น อย่าทำมาแข็งข้อครับ
ไอ้ที่บอกเป็นอาจารย์นี้ จริงหรือเปล่าครับ หรือปั้นน้ำเป็นตัว
แบบที่ไปว่าคนอื่นเค้าเหมือนกันครับ
โธะน่าสงสาร