บทความต่างประเทศแปลแล้ว (ต่อ)
นิยามการเมืองไทย
การจัดประเภทการเมืองไทยเป็นเรื่องที่พิสูจน์มานานแล้วว่าทำได้ยาก Fred Riggs (1966) เคยเสนอแนวคิดอันมีชื่อเสียงว่า ประเทศไทยเป็น "ระบอบอมาตยาธิปไตย" นั่นก็คือ ศักดินาและทหารต่างปกครองรัฐไทยเพื่อจุดประสงค์ของพวกเขาเองเป็นส่วนใหญ่ Hewison วิจารณ์แนวคิดอันทรงอิทธิพลนี้ว่ามันเป็นแนวคิดที่ไม่มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลง และชี้ให้เห็นว่าแนวคิดนี้ละเลยต่อการพิจารณาถึงการต่อต้านที่มีมายาวนาน และล้มเหลวในการทำนายถึงการเกิดขึ้นของการเมืองภาคประชาชนในทศวรรษ 1970 (ปี 2513-2522) (1998: 75)1 การสนทนาเรื่องการเมืองไทยในช่วงต่อมามักจะอยู่ในกรอบการเปลี่ยนแปลงทางประชาธิปไตยและการเปลี่ยนผ่านทางการเมือง (ชัยอนันต์ 1990) หลังรัฐประหารปี 2534 สมมติฐานอย่างง่าย ๆ เกี่ยวกับประชาธิปไตยไทยไม่สามารถใช้การได้อีกต่อไป นักวิชาการหลายคนเปลี่ยนไปให้ความสำคัญกับระบบเศรษกิจการเมืองที่กำลังเปลี่ยนแปลง การเกิดขึ้นของประชาสังคม พร้อมด้วยโครงการวิจัยเกี่ยวกับปฏิรูปการเมืองที่มีขอบเขตแคบลง (Connors 1999; McCargo 2002) บทความนี้จะใช้แนวทางค้นหาคำตอบอีกแนวทางหนึ่ง: เราเสนอว่าการเมืองไทยเป็นการเมืองที่มีลักษณะเป็นเครือข่าย ตั้งแต่ปี 2516 ถึง 2544 เครือข่ายทางการเมืองชั้นนำของประเทศไทยก็คือพระมหากษัตริย์ไทย กษัตริย์ภูมิพล ตั้งแต่ปี 2544 ฐานะอันสูงส่งของเครือข่ายกษัตริย์ได้ถูกท้าทายโดยการปรากฏตัวอันโดดเด่นของ ทักษิณ ชินวัตร เศรษฐีโทรคมนาคมผู้ทรงอิทธิพล
ตั้งแต่การขับไล่รัฐบาลเผด็จการถนอม-ประภาสในปี 2516 กษัตริย์ภูมิพลได้เป็นมากกว่าสัญลักษณ์ของประเทศและไม่ได้เป็นกษัตริย์ใต้รัฐธรรรมนูญตามแบบฉบับเลยแม้แต่น้อย นักเขียนคนอื่นๆ โดยเฉพาะ Hewison (1997) กอบเกื้อ (2002, 2003) และ Kershaw (2001) พยายามตรวจสอบบทบาททางการเมืองของกษัตริย์ไทยโดยโฟกัสไปที่ตัวพระมหากษัตริย์เอง บทความนี้จะใช้แนวทางที่แตกต่าง: เราจะมองกษัตริย์เป็นศูนย์กลางของระบอบการปกครองที่ค่อนข้างแปลกใหม่ ซึ่งเข้าใจได้ดีที่สุดในนามของเครือข่ายทางการเมือง "เครือข่ายกษัตริย์"ของประเทศไทยมีศูนย์กลางอยู่ที่ประธานองคมนตรี เปรม ติณสูลานนท์ เครือข่ายกษัตริย์คือรูปแบบการปกครองกึ่งกษัตริย์สมัยใหม่: พระมหากษัตริย์ไทยและเครือข่ายของพระองค์ได้สร้างระบบกษัตริย์ที่ทันสมัยไว้เป็นสถาบันคู่ขนานกับสถาบันทางการเมือง Anderson อธิบายถึงระบบกษัตริย์ไทยไว้ว่าเป็นรูปแบบการปกครองที่"เก่าแก่อย่างน่าสนใจ" (1978: 209) แต่เครือข่ายกษัตริย์นั้นเป็นการผลิตซ้ำที่ได้รับการปรับให้เข้ากับสมัยใหม่มากกว่าจะเป็นเพียงส่วนหลงเหลือของช่วงเวลาหนึ่ง การสร้างเครือข่ายกษัตริย์ให้แข็งแรงนั้นเป็นการโหยหาถึงช่วงสมบูรณาญาสิทธิราชย์ก่อนปี 2475 ที่ถูกทำให้อ่อนลงลงด้วยการยอมรับอย่างไม่เต็มใจนักว่าพระมหากษัตริย์ไทยสมัยใหม่ไม่อาจเป็นผู้ปกครองอย่างเบ็ดเสร็จได้อีกแล้ว อย่างไรก็ตาม "นักสร้างตำนานเกี่ยวกับกษัตริย์ก็ได้พยายามสร้างความเชื่อมโยงระหว่างรัชกาลที่ 5 กับรัชกาลปัจจุบันอย่างแข็งขัน" (Peleggi 2002: 167) Peter Jackson กล่าวว่า ตอนนี้ก็มีการสร้างลัทธิยกย่องรัชกาลที่ 9 เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ขึ้นมาแล้ว (Jackson 1999: 301-4)2 ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ผู้ซึ่งได้รับเลือกตั้งอย่างท่วมท้นถึงสองครั้งในปี 2544 และ 2548 พยายามแทนที่เครือข่ายอำนาจพระราชวงศ์ด้วยเครือข่ายกลุ่มใหม่อย่างเป็นระบบ
No comments:
Post a Comment
Note: Only a member of this blog may post a comment.