บทความต่างประเทศแปลแล้ว (ต่อ)
ลักษณะสำคัญของเครือข่ายกษัตริย์ไทยตั้งแต่ปี 2523 ถึง 2544 ก็คือการที่กษัตริย์เป็นผู้ชี้ขาดสูงสุดในการตัดสินใจทางการเมืองเวลาเกิดวิกฤติ และการที่กษัตริย์เป็นต้นกำเนิดหลักของความชอบธรรมของชาติ กษัตริย์ทำตัวเป็นผู้ออกความคิดเห็นและชอบสั่งสอนเกี่ยวกับปัญหาต่าง ๆ ของชาติ และช่วยกำหนดวาระแห่งชาติผ่านพระราชดำรัสวันเฉลิมพระชนมพรรษาทุกปี กษัตริย์แทรกแซงการพัฒนาทางการเมืองอย่างกระตือรือร้น โดยส่วนมากจะผ่านทางตัวแทนของพระองค์ เช่น องคมนตรีและนายทหารที่ได้รับความไว้วางใจ โดยมีอดีตผู้บัญชาการและอดีตนายกฯ เปรม ติณสูลานนท์ เป็นหัวหน้าของเหล่าตัวแทนคอยช่วยกำหนดลักษณะของรัฐบาลผสม และคอยตรวจสอบการดำเนินการทางทหารและการโยกย้ายต่าง ๆ ระบบการปกครองแบบเครือข่ายนี้ต้องพึ่งพาการจัดประชาชนที่เหมาะสม (โดยเฉพาะคนที่เหมาะสม) ไว้ในงานที่เหมาะสม ซึ่งการจัดสรรตำแหน่งนี้เป็นบทบาทหลักของเปรม
เครือข่ายกษัตริย์มิได้เป็นเสรีนิยมโดยเนื้อแท้ของมันอยู่แล้วเพราะมันสนับสนุนการพึ่งพา "คนดี" และไม่ให้ความสำคัญกับสถาบันการเมืองและกระบวนการทางการเมืองตามรูปแบบ ไม่มีมีการให้ความสำคัญกับหลักการของประชาธิปไตย เช่น หลักนิติธรรมและหลักความยินยอมจากประชาชน แต่ความสำเร็จหลักของกษัตริย์ภูมิพลนั้นมาจากการรักษาความเป็นอิสระของราชวงศ์ไว้ได้อย่างดีท่ามกลางประเทศไทยที่แบ่งออกเป็นหลายกลุ่มก้อน สิ่งนี้แตกต่างไปจากการจำกัดอำนาจของกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญดังที่เคยเข้าใจกัน กษัตริย์ไทยอาจถูกมองได้ดีที่สุด ตามศัพท์ของ Robert Dahl ว่าเป็น "ระบบรอง" (subsystem) มากกว่าเป็นสถาบัน (Dahl 1982: 27-8) ผู้ขับเคลื่อนเครือข่ายกษัตริย์ที่สำคัญก็คือสภาองคมนตรีซึ่งประชุมกันอาทิตย์ละ 2 ครั้งเพื่อตรวจสอบกฎหมายและให้คำแนะนำในเรื่องต่าง ๆ แก่กษัตริย์ (Hewison 1997: 72) กษัตริย์อาจปรึกษาหัวหน้าพรรคการเมืองในยามวิกฤติด้วยก็ได้ (1997: 73) Hewison อธิบายว่า "กษัตริย์และผู้ถวายคำปรึกษารู้สึกว่าพระองค์ควรจะแทรกแซงกระบวนการทางการเมือง ... กษัตริย์มักแสดงบทบาทที่เกินเลยขอบเขตอันเหมาะสมตามระบอบราชาธิปไตยใต้รัฐธรรมนูญ" (1997: 72-3) กษัตริย์องค์นี้ได้ก้าวเกินไปจากการอยู่"เหนือการเมือง" พระองค์เข้ามายุ่งเกี่ยวการเมืองอย่างใกล้ชิด การยุ่งเกี่ยวของพระองค์หมายความว่าพระองค์เป็น "กษัตริย์นักกิจกรรม" (1997: 74) กษัตริย์อธิบายบทบาททางการเมืองของตัวเองไว้ชัดเจนในการสัมภาษณ์ที่หายากครั้งหนึ่งกับหนังสือพิมพ์ นิวยอร์กไทมส์ เมื่อปี 2532 ดังนี้
ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆครับ
ReplyDelete