Monday, December 22, 2008

เครือข่ายพลเมืองเน็ต

เครือข่ายพลเมืองเน็ต
ได้มีการเปิดตัวกลุ่มเคลื่อนไหวรณรงค์เรื่องอิสรภาพของสื่ออินเทอร์เน็ต
> ภายใต้ชื่อ
> เครือข่ายพลเมืองเน็ต
> (Thai Netizen
> Network)ซึ่งเป็นการรวมตัวกันของกลุ่มคนในลักษณะเครือข่ายของพลเมืองผู้ใช้สื่ออินเทอร์เน็ต
> ที่มีความเชื่อมั่นร่วมกันในเรื่องสิทธิเสรีภาพการแสวงหาข้อมูลข่าวสาร
> การแสดงความคิดเห็น
> แสดงออก
> การปกป้องสิทธิพลเมือง
> เสรีภาพของสื่อออนไลน์
> และการสนับสนุน
> สื่อพลเมือง
> (Civic Journalism)
>
> จุดยืนของ
> เครือข่ายพลเมืองเน็ต
>
> เรารวมตัวเพื่อทำงานรณรงค์เชิงนโยบายในระดับประเทศเพื่อการธำรงและปกป้อง
> อิสรภาพในโลกไซเบอร์
> (Cyber-liberty)
> ซึ่งหมายถึงสิทธิพลเมืองเน็ต
> (Netizens’ rights)
> และเสรีภาพสื่อออนไลน์
> (Freedom of
> online media)
> บนพื้นฐานของหลัก
> 5 ประการดังนี้
>
>
>
> สิทธิเสรีภาพในการเข้าถึง
> และ
> รับรู้ข้อมูลข่าวสาร
> ความคิดเห็น
> สาระบันเทิง
> และอื่นๆ (Right to Access)
> ด้วยความตระหนักถึงสิทธิความเป็นส่วนตัวของบุคคลอื่น
>
>
> สิทธิเสรีภาพในการแสดงออก
> ซึ่งความคิดเห็นความรู้สึก
> ต่อเรื่อง สังคม
> การเมือง
> เศรษฐกิจ วัฒนธรรม
> ชีวิต ฯลฯ (Freedom of Expression)
> บนพื้นฐานของการเคารพศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์ของผู้อื่น
>
>
>
> สิทธิในการความเป็นส่วนตัวและการได้รับการปกป้องคุ้มครองอันปลอดภัยจากการสอดส่อง
> (Surveillance)
> โดยรัฐและหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
>
>
>
> สนับสนุนกลไกการสร้างความรับผิดชอบร่วมกัน(Responsibility)
> ของชุมชนสื่อออนไลน์
> การกำกับดูแลกันเอง
> (Self-regulation)
> ไม่ใช่การปิดกั้น
> ควบคุม
> (Censorship)
> โดยไม่มีขอบเขตจากหน่วยงานรัฐ
> รวมถึงการปิดกั้นตนเองโดยทั้งระบบ
> (Institutionalized censorship)
> หัวใจสำคัญคือการสร้างความชัดเจน
> และกำหนดเส้นแบ่งระหว่างเสรีภาพในการสื่อสารซึ่งแตกต่างจากอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์
>
>
> สนับสนุนหลักการเรื่องความเสมอภาค
> ความเป็นเจ้าของร่วมกัน
> ความเป็นสมบัติสาธารณะในโลกออนไลน์
> การไม่ผูกขาดทางเศรษฐกิจและทรัพย์สินทางปัญญาจนเกินขอบเขต
> (Common Property)
>
>
> ข้อเสนอต่อรัฐและสังคม
> ต่อเรื่องการกำกับดูแลสื่ออินเทอร์เน็ตและการบังคับใช้กฎหมาย
>
>
>
> รัฐต้องเน้นการกำกับดูแลเพื่อส่งเสริมอิสรภาพการสื่อสารของ
> สื่อออนไลน์มากกว่าการควบคุม
> โดยต้องสนับสนุนกลไกการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการกำหนด
> นโยบายและการบังคับใช้กฎหมาย
>
> รัฐสภา
> ควรมีการปรับแก้กฎหมาย
> พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
> พ.ศ.2550 ให้
> มีความชัดเจนในการเรื่องการจำแนก
> อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์
> ออกจาก
> เสรีภาพในการสื่อสาร
> ทั้งนี้ควรมีกระบวนการที่ปกป้องสิทธิพลเมืองเน็ตและเสรีภาพของสื่อออนไลน์
> ที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากล
> และหลักการสิทธิมนุษยชนในการสื่อสาร
>
> พรรคการเมือง
> กลุ่มทางการเมือง และ
> สังคม
> ไม่ควรคุกคามสิทธิพลเมืองเน็ตและเสรีภาพสื่อออนไลน์
> ด้วยวิถีทางการเมืองและมาตรการทางกฎหมายที่ไม่เป็นธรรม
> อีกทั้งไม่ควรใช้ประเด็นดังกล่าวเป็นเครื่องมือในการต่อสู้ทำลายล้างทางการ
> เมือง
> โดยปราศจากการเคารพหลักการสากลว่าด้วยเรื่องเสรีภาพการสื่อสารผ่านสื่ออิน
> เทอร์เน็ต
>
>
> ใครที่จะเป็นสมาชิกกลุ่มได้บ้าง
> ทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย
> ทุกสาขาอาชีพ
> ทุกรสนิยมทางการเมือง
> เศรษฐกิจ สังคม และ
> การใช้ชีวิต
> ที่เข้าถึงและใช้สื่ออินเทอร์เน็ต
> ด้วยความเชื่อมั่นพื้นฐานเรื่องเสรีภาพอย่างเสมอภาคของปัจเจกบุคคลและสังคม
> ในเรื่องการแสดงความคิดเห็น
> การแสดงออก
> และการกำกับดูแลบนพื้นฐานของความรับผิดชอบร่วมกัน
>
> จุดยืนทางการเมืองของกลุ่มคือ
>
> เครือข่ายพลเมืองเน็ต
> เคารพรสนิยมและความเชื่อที่แตกต่างทางการเมืองของทุกคน
> และเราประกาศตัวเป็นกลุ่มที่ไม่เกี่ยวข้องกับกลุ่มการเมืองใดๆ
> (Non-partisan) ทั้งนี้
> เรามีจุดยืนพื้นฐานร่วมกันคือความเชื่อมั่นการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
> เนื่องเพราะสิ่งนี้จะเป็นรากฐานสำคัญของสิทธิเสรีภาพในการสื่อสาร
> และ สิทธิมนุษยชน
> ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการธำรงอิสรภาพแห่งโลกไซเบอร์
>
> สมัครเป็นสมาชิกกลุ่มได้อย่างไรบ้าง
> เพียงส่ง Email address
> ของคุณมาที่ freethainetizen@gmail.com
>
> ทั้งนี้จะสมัครเป็นสมาชิกแบบนิรนาม
> และ
> เปิดเผยตัวตน
> ก็ได้เราจะรวบรวมรายชื่อและที่ติดต่อของท่านไว้เป็นสมาชิกเพื่อส่งต่อข้อมูลข่าวสารและกิจกรรมของกลุ่มต่อไป
>
>http://www.media4democracy.com/th/index.php?option=com_content&task=view&id=1244&Itemid=

>
> Thai Netizen
> Network: We stand for cyber-liberty!
>
>

No comments:

Post a Comment

Note: Only a member of this blog may post a comment.