Wednesday, July 7, 2010

นักข่าวชาวดัทช์เผยกับ IPI ว่าเขาถูกทหารไทยยิงในเหตุการณ์สลายการชุมนุมในวันที่ 19 พค.53

นักข่าวชาวดัทช์เผยกับ IPI ว่าเขาถูกทหารไทยยิงในเหตุการณ์สลายการชุมนุมในวันที่ 19 พค.53
ข้อมูลที่นำเสนอต่อไปนี้ถูกกีดกันโดย รัฐบาลไทยไม่ให้เผยแพร่ในประเทศ
วัตถุประสงค์เพื่อความมั่นคงในประเทศ ตามความเชือที่ว่า ประชาชนที่รักจงโง่ต่อไป แล้วคนไทยจะไร้กังวล




เนื้อหาของข่าวนี้แปลจากภาษาอังกฤษ ใน I.P.I (International Press Institute)
http://thaienews.blogspot.com/


Q&A: Dutch Journalist Michel Maas Talks to IPI about Being Shot in Thailand Clashes

นักข่าวชาวดัทช์เผยกับ IPI ว่าเขาถูกทหารไทยยิงในเหตุการณ์สลายการชุมนุมในวันที่ 19 พค.53
หน่วยฉุกเฉินได้นำตัวนักข่าวชาวฮอลแลนด์ ผู้ซึ่งถูกยิงระหว่างการปะทะกันระหว่างกลุ่มผู้ชุุมนุมประท้วง "เสื้อแดง" กับทหารไทย ไปยังโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯเมื่อวันที่ 19 พ.ค. Photo: REUTERS/Stringer


เมื่อวันที่ 26 พ.ค. องค์กรสื่อนานาชาติ หรือ IPI ได้เรียกร้องให้รัฐบาลไทยให้มีการสอบสวนที่เน้นว่าต้องโปร่งใสอย่างเร่งด่วนที่สุด ต่อกรณีการฆ่าและการทำร้ายให้บาดเจ็บที่มีต่อผู้สื่อข่าวระหว่างการปะทะกันในเดือนเม.ษ. และพฤษภาคมที่ผ่านมา


ความรุนแรงในประเทศไทยครั้งดังกล่าวทำให้นักข่าวสองคนต้องเสียชีวิต และมีนักข่าวบาดเจ็บอย่างน้อยห้าราย


ทั้งๆที่มีการเรียกร้องจากองค์กรระหว่างประเทศ ซึ่งรวมไปถึงองค์กรสื่อนานาชาติ แล้วนั้น ปรากฏว่ายังไม่มีการจับกุมตัวผู้กระทำความผิดแต่อย่างใด


นักข่าวคนหนึ่งที่ถูกยิงได้แก่นาย Michel Maas ซึ่งเป็นชาวดัชต์ ทำงานภายใต้สังกัดวิทยุเนเธอร์แลนด์ (NWR) และ นสพ.Volkskrant ในฮอลแลนด์ เขาถูกยิงที่ไหล่ระหว่างความโกลาหลที่เกิดขึ้นในขณะที่มีการโจมตีที่ป้อมปราการของคนเสื้อแดงโดยพวกทหารไทย


นายมาสขณะนั้นอยู่กับคนเสื้อแดงในขณะที่พวกทหารกำลังเริ่มโจมตี ในตอนนั้นเขาบอกกับบรรณาธิการหนังสือ Volkskrant ว่า อันตรายที่สุดในขณะนั้นก็คือพวกทหาร "เพราะว่าพวกเขายิงทุกอย่างที่เคลื่อนที่ และยิงโดยไม่ถามก่อนด้วย แม้ว่าจะเป็นนักข่าว"

องค์กร IPI ได้ขอสัมภาษณ์กับนาย Maas โดยมีรายละเอียดดังนี้

IPI: มันเป็นยังไงบ้างสำหรับนักข่าวที่รายงานข่าวความไม่สงบในประเทศไทยช่วงที่ผ่านมา


MM: ปัญหาใหญ่คือการหาให้เจอว่าความจริง จริงๆแล้วมันเป็นอย่างไร เพราะว่าสื่อไทยเกือบทั้งหมดต้องตกอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาล ซึ่งรวมไปถึงหนังสือพิมพ์ "อิสระ"(ประชด) คือ เนชั่นฯ และบางกอกโพสต์ โดยเฉพาะเนชั่นฯ มันเป็นอะไรที่เทียบเคียงได้กับหนังสื่อ"โพรพาแกนด้าต่อต้านพวกเสื้อแดง" สิ่งนี้แหละที่ทำให้หน้าที่ของนักข่าวต่างประเทศยากยิ่งยวดและสำคัญมากๆ


และการที่สื่อต่างประเทศจำต้องจับข่าวจากสำนักข่าวท้องถิ่น และเพราะว่าไม่มีแหล่งข้อมูลข่าวใดๆเชื่อถือได้ คนที่ทำงานจำต้องใช้ตาและหูกันแบบสุดๆ และตรวจสอบข่าวกันทุกเม็ดและทำซ้ำแล้วซ้ำอีก


ในทางปฏิบัติแล้ว การทำงานมันยุ่งๆที่ต้องผ่านจุดตรวจ โดยเฉพาะจุดตรวจของทหาร ผมถูกกักมากกว่าหนึ่งครั้ง และหลายครั้งทหารยืนยันว่าผมจะต้องไม่ถ่ายรูปในกรุงเทพฯ พวกเขาไม่ค่อยชอบช่างภาพเท่าไหร่


พวกทหารได้ออกคำเตือนหลายต่อหลายครั้งกับนักข่าว โดยเฉพาะที่บอกว่านักข่าวต่างประเทศคือ "เป้า" ของผู้ก่อการร้าย มีข่าวลือหลายครั้งว่าพวกเสื้อแดงได้คุกคามนักข่าว และเตือนไม่ให้พวกเขาเข้าไปยังที่ตั้งของคนเสื้อแดง แม้ว่าผมจะรู้ว่าคนเสื้อแดงได้คุกคามนักข่าวในพื้นที่คนสองคน และนักข่าวต่างประเทศบางครั้งก็ถูกกักไม่ให้เข้าไปยังพื้นที่ของคนเสื้อแดง หรือถูกเรียกให้ออกจากพื้นที่ ผมก็ยังได้ไปที่ชุมนุมซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับโรงแรมของผมหลายต่อหลายครั้งในหนึ่งวัน และได้รับการตอบรับอย่างเป็นมิตรอย่างยิ่ง ผมสามารถรายงานอย่างอิสระ และกับใครก็ได้ที่ผมต้องการ และกระทั่งในเวลาที่กำลังระอุ


IPI: จริงๆแล้วเกิดอะไรขึ้นในวันที่ 19 พ.ค.

MM: ผมเห็นผ่านทางทีวีว่าพวกทหารได้เริ่มเปิดฉากทลายกำแพงที่ฝั่งถนนสีลม ผมจึงเข้าไปที่ชุมนุมโดยใช้ช่องทางอีกฝั่งหนึ่งซึ่งอยู่ห่างออกไปประมาณสองกิโลจากถนนสีลม ในฝั่งนี้นั้นทุกอย่างเงียบเชียบ คนเสื้อแดงจำนวนมากกำลังตามข่าวผ่านทางทีวีในขณะที่เวทีกลางมีกำลังมีการปราศรัยโดยแกนนำไปเรื่อยๆ


ผมเดินไปตลอดจนถึงอีกฝั่ง และเห็นพวกทหารบุกเข้ามา และในขณะที่ผมอยู่ห่างออกไปจากแนวกำแพงประมาณ 200 เมตร ผมเห็นควัน และหลังจากนั้นไม่นานพวกทหารก็แหวกม่านควันเดินออกมา พวกเสื้อแดงได้เตรียมขวดน้ำมันเล็กๆและไม่ไผ่เพื่อที่จะเอาไว้ใช้ต่อสู้ ผมเห็นชายคนหนึ่งถือปืนสั้นที่ค่อนข้างโบราณ และแม้กระทั่งอยู่ใกล้เหตุการณ์ขนาดนี้ที่แนวหน้า ผมก็ยังไม่สังเกตเห็นสัญญาณใดๆของ "อาวุธร้ายแรง" ที่พวกเสื้อแดงถูกคาดว่าจะมี โดยเฉพาะตามที่อ้างมาจากสื่อของรัฐฯ


ในขณะนั้นผมอยู่ร่วมกับกลุ่มผู้สื่อข่าวต่างประเทศประมาณ 20 คน ผู้ซึ่งก็กำลังชมเหตุการณ์ร่วมกับผม พวกเราพยายามหาที่หลบกำบังตามมุมตึก หลังต้นไม้ แต่ก็ไม่มีใครดูกังวล ต่อมาพวกทหารก็ได้เริ่มที่จะยิงแก๊สน้ำตา และยิงขึ้นฟ้าเพื่อที่จะสลายพวกผู้ชุมนุม


การเปิดฉากยิงเกิดขึ้นในขณะที่ผมกำลังรายงานสดทางวิทยุ การยิงเกิดขึ้นจากฝ่ายเดียวคือฝ่ายทหาร และพวกเขาไม่ได้ยิงขึ้้นไปบนฟ้า พวกคนเสื้อแดงและนักข่าวเริ่มวิ่งหนี ผมก็วิ่งด้วย เพราะจากประสบการณ์ได้สอนผมว่า ในเหตุการณ์อย่างนี้ต้องตามคนท้องถิ่นดีที่สุด เพราะคนพวกนี้ได้เคยผ่านสมรภูมิก่อนๆมาแล้วและรู้ว่าเมื่อไหร่จะอันตรายจริงๆ


แต่งวดนี้ผมตัดสินใจผิด เพราะการวิ่งหนีทำให้ผมต้องออกไปจากที่กำบังมุมตึกและต้องอยู่ในที่โล่ง ผมถูกยิงทันทีที่หลัง มันยังไม่ทำให้ผมล้มลงดังนั้นผมจึงยังวิ่งต่อไป และหลังจากนั้นประมาณสองร้อยเมตรก็มีคนนำผมขึ้นมอเตอร์ไซต์และนำผมไปส่งโรงพยาบาลตำรวจที่อยู่ภายในที่ชุมนุม


ผมโชคดีอย่างยิ่งยวด กระสุน (ซึ่งชัวร์ว่าเป็นเอ็มสิบหก) พลาดปอดผมไปคือครึ่งนิ้ว แต่โดนไหล่และซี่โครงและหยุดภายในกล้ามเนื้อซึ่งก็ยังอยู่ตรงนั้น รอเวลาเพื่อการผ่าตัดเอาออก นักข่าวชาวอิตาเลียนไม่โชคดีอย่างนั้น นาย Fabio Polenghi ตายในที่เดียวกับที่ผมโดนยิง นักข่าวชาวคานาดาก็ดูเหมือนว่าจะได้รับบาดเจ็บในจุดจุดเดียวกันอีกด้วย

IPI: คุณเชื่อว่าใครยิงคุณ

MM: ผมไร้ข้อกังหาใดๆทั้งสิ้น ว่ากองทัพไทยนี่แหละที่ยิงผม ไม่มีคนอื่นหรอกที่ยิงผม นี่พูดตามที่ผมบอกได้ พวกทหารมีสไนปเปอร์บนทางรถไฟลอยฟ้าเหนือหัวเรา พวกทหารในสวนลุมก็อยู่ด้านหน้าเรา มันครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดแล้ว และกองกำลังก็เดินคืบหน้ามาในทิศทางที่ผมโดนยิง


การที่ปรากฏว่าตัวเลขเหยื่อเป็นชาวต่างชาติเป็นสัดส่วนที่สูง ประกอบกับการประกาศเตือนล่วงหน้าโดยกองทัพ ได้ทำให้มีข้อสงสัยว่า นักข่าวชาวต่างชาติอาจะเป็นรายการที่ต้องยิงจริงๆ และไม่ใช่ยิงโดยพวก "ผู้ก่อการร้าย" แต่ยิงโดยพวกทหาร พวกเขาอ้างไม่ได้ว่าพวกเขาแยกแยะระหว่างคนเสื้อแดงกับชาวต่างชาติไม่ออก


ผมถูกสังเกตเห็นอย่างง่ายว่าแตกต่างกับคนอื่นในขณะที่อยู่ในกลุ่มฝูงชน จากความสูงผม (ผมสูงกว่าคนไทยโดยเฉลี่ย) จากเสื้อผ้าผม สีผมรวมทั้งสีผิว ส่วนคุณฟาบริโอ โปลองกี่ ก็ใส่เสื้อเกราะและหมวกยืนเด่นแปลกแยกออกจากผู้ประท้วง พวกทหารแก้ข้อกล่าวหาได้ทางเดียวโดยอาจจะอ้างว่าก็เพราะพวกเขายิงไม่เลือกอย่างเท่าเทียมไปยังฝูงคนนี่เอง (ไม่ได้ยิงเหนือศีรษะ ผมโดนยิงใต้ระดับไหล่ ฟาบริโอโดนยิงที่ท้อง)

IPI: เหตุการณ์ดังกล่าวบอกอะไรคุณเกี่ยวกับมุมมองที่เขามองนักข่าว




MM: ผมไม่รู้จะตอบอย่างไร ก่อนหน้านี้ผมได้ยินถึงคำบ่นว่านักข่าวต่างประเทศเข้าข้างผู้ประท้วงมากเกินไป และมันชัดที่ว่าพวกทหารไม่ชอบที่พวกเรารายงานเหตุการณ์การปะทะก่อนหน้านี้ซึ่งจบลงที่ความล้มเหลวของฝ่ายกองทัพของรัฐบาล เหตุการณ์ดังกล่าวอาจทำให้พวกเขาคิดว่าพวกนักข่าวในพื้นที่ชุมนุมคนเสื้อแดงอาจจะมีส่วนร่วมหรืออะไรๆก็ตาม ซึ่งอาจจะนำให้พวกเขาคิดว่ามีเหตุผลพอที่จะยิงพวกเราเช่นเดียวกับที่ยิงผู้ประท้วง

IPI: แล้วอย่างนั้นพวกเขาควรจะมองนักข่าวอย่างไรล่ะ

MM: ก็มองดังเช่นคนที่เขาควรจะปกป้อง แม้ในช่วงมีการโจมตี พวกเขาน่าจะออกประกาศเตือนและให้โอกาศกับนักข่าวที่จะออกจากพื้นที่ แต่เรื่องดังกล่าวก็ไม่เกิดขึ้น พวกเขาก็แค่ยิงเลย ไม่เตือน

IPI: มีปฏิกิริยาอะไรจากเจ้าหน้าที่ทางการดัชต์หรือไทยต่อการยิงคุณ


MM: กระทรวงการท่องเที่ยวส่งอีเมล์มาหาผมโดยเสอนว่าจะดูแลค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการรักษา แต่ผมเห็นว่ามันค่อนข้างใจดีกับคนต่างชาติ ก็เพราะเพื่อรักษาภาพพจน์ของการท่องเที่ยวไทย


ผมได้คุยกับเอกอัครราชทูตดัชต์ในกรุงเทพฯอย่างดี เขาบอกว่าเขาจะบอกให้รัฐบาลดัชต์เรียกร้องให้มีการเปิดเผยโดยรัฐบาลไทย แต่ผมยังไม่ได้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว

IPI: มีรายงานอย่างเป็นทางการว่าใครยิงคุณบ้างไหม


MM: เท่าที่ผมรู้-ไม่มี ไม่มีกระทั่งรายงานจากตำรวจถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น


IPI: สถานการณ์ของนักข่าวในไทยเป็นอย่างไร เท่าที่คุณรู้


MM: โดยรวมแล้วเสรีภาพสื่อในไทยยังมีอยู่ แต่ยากที่จะบอกว่าเสรีภาพมันกินขอบเขตแค่ไหน พวกสื่อไม่เซ็นเซอร์ตัวเองก็โดนควบคุมโดยรัฐ และก็มีหัวข้อที่ไม่มีใครที่ได้รับอนุญาตให้เขียนได้คือ หัวข้อที่เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์


IPI: คุณจะแนะนำกับนักข่าวคนอื่นอย่างไรเมื่อต้องรายงานสถานการณ์แบบนี้อีก


MM: สถานการณ์มันแตกต่างกันไป คุณต้องระวังตลอดและหาคนท้องที่ที่คุณไว้ใจได้


ผมอาจจะบอกเพิ่มว่า ขอให้เอาเสืือกันกระสุนไปด้วย แต่อย่าไว้ใจมาก เพราะฟาบริวโอก็โดนยิงทั้งๆที่ใส่เสื้อเกราะ





อ้างอิงจากที่มาของข่าว






http://www.freemedia.at/ The Global Network for a free Media


http://www.freemedia.at/singleview/5032/


NEW: Q&A: Dutch Journalist Michel Maas Talks to IPI about Being Shot in Thailand Clashes
‘I Have No Doubt Whatsoever That It Was The Thai Army That Shot Me’
The International Press Institute (IPI) on 26 May called on the government of Thailand to launch as a matter of urgency a full and transparent investigation into the killing and wounding of journalists during violent clashes between ‘Red Shirt’ ..







Body








Q&A: Dutch Journalist Michel Maas Talks to IPI about Being Shot in Thailand Clashes
‘I Have No Doubt Whatsoever That It Was The Thai Army That Shot Me’
By Elizabeth Garrett




The International Press Institute (IPI) on 26 May called on the government of Thailand to launch as a matter of urgency a full and transparent investigation into the killing and wounding of journalists during violent clashes between ‘Red Shirt’ protestors and the army in April and May of this year.

The violence in Thailand claimed the lives of two journalists, and injured at least five more.

Despite calls from international organizations, including IPI, no arrests have been made.

One of the journalists shot during the clashes was Dutch reporter Michel Maas, who reports for Netherlands Radio Worldwide (NWR) and the Volkskrant newspaper – also based in the Netherlands. He was shot in the shoulder during the chaos that surrounded the assault on Red Shirt barricades by the Thai army.

Maas was with the Red Shirt protestors when the army began its assault. At the time he told Leen Verraeke, an editor at Volkskrant told IPI by phone, that the biggest danger was the army, “because they shoot everything that’s moving and don’t ask if you are a reporter before shooting.”

IPI recently conducted a Q&A with Maas:


IPI: What was it like for journalists reporting on the unrest that gripped Thailand for weeks?

MM: The main problem was to find out what was really going on on the ground. Thai media were almost all under the control of the government, including ‘independent’ newspapers The Nation and The Bangkok Post. Especially reporting by The Nation was nothing better than ‘anti-Reds-propaganda’. That made the task of international reporters much more important - and difficult.

Also the international press agencies sometimes followed the local media. So since there were no reliable sources of information, one had to have eyes and ears everywhere, and check every bit of information more than once.

Practically, working was somewhat inhibited by checkpoints, especially those of the military. I got stopped more than once, and a couple of times the soldiers insisted that I take no pictures in Bangkok. Apparently they particularly didn't like photographers (which I am not, I am a correspondent for Dutch national broadcaster 'NOS' and national newspaper De Volkskrant).

The military issued several warnings that journalists, and especially foreign journalists were ‘a target’ of unnamed armed ‘terrorists’. There were rumours that the Red Shirts harassed journalists and warnings not to go into the Red Shirt Camp. Though I know the Red Shirts did harass one or two local journalists, and that some international journalists at some point were stopped from entering the place, or forced to leave, I myself did not encounter any such hostility. I rather felt the warnings as an attempt to keep journalists away from the Red Shirts. I visited the Camp, which was located right next to my hotel, several times a day and was received in an extremely friendly way. I could report freely and interview whomever I wanted. Even at times when things got ‘hot’.


IPI: What exactly happened to you in Bangkok on May 19, 2010?

MM: I saw on television that the army had started to open the barricade at the ‘Silom’ side of the Red Shirt camp. I entered the camp from the other side, which was approximately two kilometers from Silom. On this side everything was quiet. Red Shirts were following the events on television, while on the center stage speeches by their leaders were going on.

I walked all the way to the other end, to see the military come in. When I was about 200 meters from the barricade I saw smoke, and after a while in the smoke soldiers came in on foot. Red Shirts prepared small Molotov cocktails and sharpened bamboo sticks to fight them off. I saw one man with a rather antique handgun. Even this close to the front line there was no sign of the ‘heavy weapons’ the Red Shirts were supposed to have, according to the government media.

By that time I had joined a group of about twenty other international journalists who were watching the scene with me. We were taking cover at the corner of a building, or behind trees, but nobody seemed really worried. On other occasions the military started by firing teargas and shots in the air to disperse the protesters.

But not this time.

The shooting started while I was in the middle of a radio report. Shots were fired from one side: the military - and they were not aimed at the sky. Red Shirts and journalists started running. I ran too, because experience has taught me that in these situations it’s best to follow the locals, who have been through all the previous battles and know when it gets really dangerous.

But this time I probably made the wrong choice. By running away I had to leave the cover of the building, and get out in the open. I got shot in the back. It didn't knock me down, so I kept running, and after 200 meters somebody hoisted me on the back of a motorbike that rushed me to the police hospital which was on the site.

I was extremely lucky. The bullet (apparently an M16) missed my lungs by half an inch, hit my shoulder and some ribs, and stopped in my muscle tissue, where it still is, waiting for an operation to take it out. The Italian photographer Fabio Polenghi was less lucky. He died on almost the same spot where I got hit. One Canadian freelance journalist seems to have been wounded on the same spot and at the same time too.


IPI: Who do you believe shot you?

MM: I have no doubt whatsoever that it was the Thai army that shot me. No one else was shooting, as far as I could tell. The army had snipers on the ‘Skytrain’ over our heads, and soldiers in the Park just in front of us, covering the entire front line area. And troops were advancing from the direction from where I was shot.

The relatively high number of international casualties, and the earlier warnings issued by the military, raise the suspicion that international journalists might have been a target indeed, not by ‘terrorists’ but by the military. They cannot say that they couldn’t tell the difference between Red Shirts and journalists.

I myself clearly stood out in the crowd, by my length (I am a lot taller than the average Thai), by my clothes, and the color of my hair and skin. Fabio Polenghi was wearing a bulletproof vest and a helmet, also distinguishing him clearly from the protesters. The only defense they might have is that they were firing indiscriminately into the crowd (not over their heads. I got hit below the shoulder, and Fabio Polenghi got shot in the stomach.)


IPI: What does the incident tell you about the manner in which journalists were viewed by the protagonists?

MM: I wouldn’t know what to answer on this question. I have heard complaints that international journalists were siding too much with the protesters, and apparently the military didn’t like the way we reported on earlier violent events which ended in total failure for the government troops. This may have led them to consider journalists who were inside the Red Shirt camp as collaborators of some sort, which might have given them a reason to shoot at us as well as at the protesters.


IPI: How should the protagonists have viewed journalists?

MM: As people whom they should have to protect, even during an attack. They could have issued a warning; they should have given the journalists a chance to leave the area. But nothing of the sort happened. They just opened fire, without warning.


IPI: What were the reactions of the Dutch and Thai authorities following the shootings?

MM: The Thai ministry of Tourism sent me an email in which it offered to cover all the costs of my treatment. But I reckon that was more a courtesy to foreigners in general, to save the image of Thailand as a tourism destination.

I had a long and pleasant conversation with the Dutch ambassador in Bangkok, Mr Tjaco van den Hout, who said he had advised the Dutch government to ask for clarification by the Thai government. I haven’t yet checked whether that has been done already. I have no information about it.


IPI: Has there been an official investigation into who shot you? If so, has it made any headway?

MM: There has been no official investigation to my knowledge. Neither has there been a general police report about what happened.


IPI: As far as you know, what is the situation for journalists in Thailand today?

MM: In general there is press freedom in Thailand. But it is hard to tell how far this freedom stretches. Media are either imposing heavy self-censorship on themselves or they are under the active control of the government. And then there is this one subject no one is allowed to write about freely: His Majesty the King.


IPI: What advice would you give other journalists about covering conflicts?

MM: Every conflict is different. You just have to be cautious all the time and find a local person (fixer) whom you can trust.

Maybe the only other advice I can give is: bring your bulletproof vest (I didn't) and wear it. But don’t place too much trust in it, because it doesn't make you invulnerable. Fabio Polenghi was wearing one when he was shot dead.

No comments:

Post a Comment

Note: Only a member of this blog may post a comment.