ความเข้าใจผิดเรื่องสถาบัน
-มีบุญคุณกับคนไทย เพราะทำให้ไทยเป็นเอกราช
ผู้ที่กอบกู้เอกราชของชาติไทยคือพระเจ้าตากสินมหาราช ต่อมาถูกพระยาจักรียึดอำนาจเมื่อ6เมษายน 2325 แล้วสถาปนาราชวงศ์จักรีมาจนถึงทุกวันนี้ และไทยเกือบเสียเอกราชอีกครั้งในสงครามโลกครั้งที่2 แต่นายปรีดี พนมยงค์ นำประเทศไทยรอดพ้นสภาพการตกเป็นเมืองขึ้นหรือประเทศที่แพ้สงคราม โดยจัดตั้งขบวนการเสรีไทยขึ้น ต่อมานายปรีดีถูกกลุ่มนิยมเจ้าใส่ความว่าเกี่ยวข้องกับร.8สวรรคต ต้องลี้ภัยไปถึงแก่อสัญกรรมในต่างประเทศ
-สถาบันมีบุญคุณต่อคนไทยอย่างใหญ่หลวง เพราะในหลวงมีโครงการพระราชดำริมากมายช่วยคนไทยให้พ้นความลำบากยากจน
โครงการพระราชดำริไม่ได้ใช้เงินส่วนพระองค์ แต่เป็นหน่วยงานราชการคือ สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ-กปร.
-ในหลวงเป็นแบบอย่างความสมถะพอเพียง คนไทยต้องเจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาท
สถาบันกษัตริย์ของไทยถูกนิตยสารForbesจัดอันดับให้เป็นสถาบันที่รวยที่สุดในโลก เหนือกว่าสุลต่านบรูไนและกษัตริย์ของอาหรับที่มีบ่อน้ำมัน ส่วนbloombergจัดให้ในหลวงเป็นนักลงทุนอันดับ1ในตลาดหุ้นไทย ในหลวงไม่ได้มีเฉพาะโตโยต้าโซลูน่าคันเล็กๆ แต่รวมถึงรถยนต์มายบั๊คคันละ300ล้านบาท และเครื่องบินอีกนับสิบลำ ซึ่งใช้เงินงบประมาณแผ่นดินจัดซื้อและจัดซ่อมบำรุง มีบุคคลต่างๆที่เป็นพ่อค้า เศรษฐี หน่วยงาน คณะบุคคลได้เข้าเฝ้าถวายเงินเพื่อใช้สอยตามพระราชอัธยาศัยเป็นประจำทุกวัน หากเป็นชาวบ้านธรรมดาๆ จะได้เฝ้าฯทุกวันอย่างนี้หรือไม่ เพราะไม่มีเงินมากมายไปถวาย
-สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นของชาติ ไม่ใช่ของส่วนพระองค์ และจ่ายภาษี
กฎหมายระบุไว้ว่ารายได้จากทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ให้นำทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อทรงใช้จ่ายในฐานที่ทรงเป็นประมุข รายได้ซึ่งได้หักรายจ่ายตามความในวรรคก่อนแล้ว จะจำหน่ายใช้สอยได้ก็แต่โดยพระมหากษัตริย์ ตามพระราชอัธยาศัย
-คนไทยต้องสำนึกในบุญคุณของในหลวงเพราะท่านทำเพื่อคนไทยอย่างไม่เห็นแก่เหนื่อยยาก
มีการจัดสรรงบประมาณปีละไม่น้อยกว่า2พันล้านบาท เฉพาะที่จัดสรรให้แก่สำนักพระราชวังนั้นปีงบประมาณล่าสุด2,364.6 ล้านบาท และยังไม่นับรวมกับที่อยู่ในหน่วยงานกระทรวง ทบวง กรม กองทัพต่างๆอีก ปีละไม่ต่ำกว่า6,000ล้าน
-สถาบันอยู่เหนือการเมือง จึงไม่ควรวิจารณ์ ต้องวิจารณ์พวกนักการเมืองโกงกินจึงจะถูก
ไทยยังเป็นระบอบราชาธิปไตย จากการที่ทรงมีพระราชอำนาจลงนามแต่งตั้งทั้งฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ ตุลาการ ผู้บริหารระดับสูงในกองทัพ และหน่วยงานต่างๆ บางครั้งมีหลักฐานว่าอาจเข้ามาแทรกแซงการเมือง เช่น กรณีรัฐประหารปี2500ของจอมพลสฤษดิ์,การสนับสนุนให้จอมพลถนอมกลับประเทศไทย และเกิดกรณี6ตุลาคม2519 หรือกรณีพระราชวงศ์ชั้นสูงไปงานศพของพันธมิตรเมื่อ13ตุลาคม2551 ในขณะเดียวกันเมื่อมีอำนาจในทางต่างๆ แต่เนื่องจากมีกฎหมายอาญาควบคุมไม่ให้เกิดการวิจารณ์ใดๆ จึงทำได้แต่เชิดชูด้านเดียวเท่านั้น-คนที่ไม่รักเทิดทูนสถาบันไม่สมควรอยู่เป็นคนไทย ต้องไล่ไปอยู่ประเทศอื่นให้หมดคนไทยต้องการให้ประเทศพัฒนาไปทัดเทียมกับนานาอารยะประเทศ ซึ่งมีความจำเป็นอยู่มากที่สถาบันควรปรับปรุงให้สอดคล้องกับกาลสมัย เพราะหากยังเป็นแบบที่เป็นมา มีจุดอ่อนอยู่หลายข้อ แต่ไม่ปรับปรุง แต่ให้เชิดชูสอพลออย่างเดียว ห้ามวิจารณ์ ในที่สุดก็จะทำให้สถาบันเป็นสิ่งที่พ้นสมัยไปใน
ขอบคุณมาก สำหรับข้อมูลครับ
ReplyDelete