Wednesday, April 9, 2014

ขุมทรัพย์ศักดินา

ขุมทรัพย์ศักดินาhttp://image.ohozaa.com/i/13e/wrADjY.jpg


บริษัทเหมืองแร่ทองคำ ชาตรี หรือ บริษัทอัครไมนิ่ง
ภายหลังจากบริษัทดังกล่าวได้รับประทานบัตร จากรัฐบาลไทย ให้ขุดหาแร่ทองคำ
ในพื้นที่เฟสที่ 2 เนื้อที่กว่า 5 พันไร่ ในเขต ต.เขาเจ็ดลูก อ.ทับคล้อ จ.พิจิตร
ซึ่งนายฟิลล์ แมคอินไทร์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท อัครา ไมนิ่ง จำกัด เปิดเผยว่า
เมื่อเร็วๆนี้ ทางบริษัทได้รับอนุมัติประทานบัตรจากรัฐบาลไทย
ให้สามารถดำเนินการขุดหาและทำเหมืองแร่ทองคำบนพื้นที่
บริษัทเหมืองแร่ทองคำชาตรี ทางทิศเหนือจำนวน 9 แปลง เนื้อที่ 5,000 ไร่
ครอบคลุมพื้นตำบลเขาเจ็ดลูก จังหวัดพิจิตร และตำบลท้ายดง จังหวัดเพชรบรูณ์
นับเป็นความสำเร็จอีกก้าวหนึ่ง ในการขยายงาน และ
จ้างแรงงานให้เติบโต กว้างขึ้น เนื่องจากพื้นที่บริษัทเหมืองแร่ทองคำชาตรี ทางทิศใต้นั้น
ใกล้หมดอายุประทานบัตร โดยขณะนี้การดำเนินงานพื้นที่บริษัทเหมืองแร่ทองคำชาตรีทางทิศเหนือ
อยู่ในขั้นตอนการก่อสร้างอาคารสถานที่

ซึ่งทุกขั้นตอนการดำเนินงานจะยังคงรักษามาตรฐานความปลอดภัยและ
คุณภาพด้าน สิ่งแวดล้อม ระดับโลกเช่นเดียวกับพื้นที่บริษัทเหมืองแร่ทองคำชาตรีทางด้านทิศใต้
ซึ่งเป็นพื้นที่เดิม ไม่เพียงเท่านี้การได้รับประทานบัตรในพื้นที่บริษัทเหมืองแร่ทองคำชาตรีทาง
ด้านทิศเหนือทั้ง 9 แปลง บริษัทยังสามารถจ้างงานประชาชน ที่อาศัยอยู่บริเวณโดยรอบพิจิตรได้มากขึ้น

จากการคาดการณ์ว่าผลผลิตจากสินแร่ที่ขุดได้ในพื้นที่ใหม่
จะทำให้บริษัทสามารถชำระค่าภาคหลวงแร่ได้มากขึ้นถึง 2 เท่า
จากเดิมมีการชำระในปี 2551 เป็นเงิน 105 ล้านบาท
ขณะเดียวกันบริษัทยังสามารถจัดสรรงบประมาณในการสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ของท้องถิ่นได้มากขึ้น
โดยบริษัทมีแนวทางในการสนับสนุนกองทุนพัฒนาตำบล
ในตำบลที่อยู่ในพื้นที่ ของประทานบัตรแปลงใหม่ ได้แก่
ตำบลเขาเจ็ดลูก จังหวัดพิจิตร และตำบลท้ายดง จังหวัดเพชรบรูณ์ ตำบลละ 5 ล้านบาท ต่อปี
โดยจะชำระต่อเนื่องกันเป็นเวลา 10 ปี เริ่มชำระเงินให้แล้วในปีงบประมาณ 2551 เป็นต้นมา
รวมทั้งบริษัทจะสนับสนุนผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษแก่รัฐ ปีละ 3 ล้านบาท
ในส่วนการสนับสนุนงบประมาณในการจัดกิจกรรมของชุมนุมหรือหน่วยงานต่างๆ นั้น
ทางบริษัทก็จะได้จัดสรรงบประมาณสนับสนุนปีละประมาณ 4 ล้านบาทด้วย
สำหรับการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมบนพื้นที่บริษัทเหมืองแร่ทองคำชาตรี ทางทิศเหนือ
ซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนขยาย กว่า 5,000 ไร่นั้น

บริษัทยังคงให้ความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยที่สอดคล้องตามข้อ
กำหนดของรัฐบาล เช่นเดียวกับการดำเนินงานในพื้นที่ชาตรีใต้
ซึ่งมีแผนการดำเนินงาน 2 ระยะ คือ ระยะ ก่อนเปิดเหมือง
นอกจากการวิเคราะห์ถึงผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากการดำเนินกิจกรรมในจุดต่างๆ ของเหมืองแล้ว
พื้นที่ที่ติดกับพื้นที่สาธารณะหรือพื้นที่ชุมชน
จะมีการสร้างคันดินสำหรับปลูกต้นไม้เพื่อป้องกันปัญหาฝุ่นละอองออกไปรบกวน
ด้านนอกเหมือง ซึ่งขั้นตอนนี้ทางบริษัทได้ว่าจ้างให้ชาวบ้านเข้ามาช่วยปลูก
เพื่อให้มีรายได้เพิ่มขึ้นและได้มาสัมผัสถึงการให้ความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อม ของบริษัทด้วย
นอกจากนี้จะมีการจัดเตรียมระบบระบายน้ำของพื้นที่โครงการทั้งหมด เช่น บ่อดักตะกอน
สำหรับเก็บน้ำฝนที่ไหลผ่านพื้นที่โครงการไม่ให้ไหลออกสู่ภายนอก
ส่วนระยะหลังเหมืองเปิดดำเนินการ บริษัทจะยังคงติดตามตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม
ทั้งด้านอากาศ เสียง แรงสั่นสะเทือน น้ำ โดยการตรวจวัดจากเจ้าหน้าที่ด้านสิ่งแวดล้อมของบริษัทเอง
จากบริษัทที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม รวมทั้งจากเจ้าหน้าที่ดูแลด้านมาตรฐานสิ่งแวดล้อมที่บริษัทเคยได้รับก่อน หน้านี้
อาทิ ISO 14001 อีกกว่าปีละ 7-8 ครั้ง พร้อมทั้งประเมินความเสี่ยงในการทำงานด้านสิ่งแวดล้อมและ
ความปลอดภัยในการทำ งานของพื้นที่เหมืองชาตรีเหนือเพิ่มขึ้น
เพื่อหาแนวทางป้องกันที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตอยู่เสมอ
ในส่วนของ นายสมชัย หทยะตันติ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร
กล่าวว่ามีความภาคภูมิใจที่สามารถสนับสนุนนักลงทุนที่ช่วยสร้างงานอาชีพให้ กับชาวบ้าน
นอกเหนือจากงบประมาณที่ชุมชนได้รับจากการชำระค่าภาคหลวงแร่แล้ว
ในแต่ละปีงบประมาณส่วนหนึ่งของบริษัทส่วนหนึ่งของบริษัทยังมีส่วนสร้างความ เจริญให้กับชุมชนแห่งนี้
อีกทั้งบริษัทแห่งนี้ยังมีมาตรฐานการดูแลสิ่งแวดล้อม ก่อน และ หลัง การทำเหมืองแร่ อีกด้วย
"นโยบายสาธารณะ" ในนโยบายการสำรวจและทำเหมืองแร่ทองคำ วันที่ 11 ม.ค. 2553 เวลา : 15:33 น.

ผู้เขียน : เลิศศักดิ์ คำคงศักดิ์ โครงการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะด้านทรัพยากรแร่
กลุ่มนิเวศวัฒนธรรมศึกษา การดำเนินโครงการหรือกิจกรรม
ที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ
จะกระทำมิได้ เว้นแต่จะได้ศึกษาและประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและ
สุขภาพของ ประชาชนในชุมชน การ ทำเหมืองแร่ทองคำบน พื้นที่ ทุนและ
เทคโนโลยีขนาดใหญ่เป็นเรื่องใหม่สำหรับประเทศไทย เพราะที่ผ่านมา
แม้ประเทศไทยจะมีประวัติความเป็นมาเกี่ยวกับการทำเหมืองแร่ ทองคำมาแต่ครั้งอดีต
โดยแหล่งแร่ทองคำที่มี ชื่อเสียงในอดีต ได้แก่
แหล่งแร่ทองคำบ้านป่าร่อน อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
แหล่งแร่ทองคำบ้านบ่อทอง อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี
แหล่งแร่ทองคำโต๊ะโมะ อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส และ
แหล่งแร่ทองคำบ้านบ่อทอง อำเภอหนองม่วง จังหวัดลพบุรี

แต่ก็เป็นการทำเหมืองแร่ทองคำบนพื้นที่ ทุนและเทคโนโลยีขนาดเล็ก
ข้อวิตกกังวลที่สำคัญยิ่งต่อการทำเหมืองแร่ทองคำบนพื้นที่ ทุนและเทคโนโลยีขนาดใหญ่เช่นนี้
ก็คือการทำลายพื้นที่ป่า แหล่งน้ำ การรุกล้ำพื้นที่สาธารณประโยชน์ของชุมชน
การปนเปื้อนของสารไซยาไนด์ที่ใช้ในการสกัดแร่ทองคำ และสารหนู(Arsenic)
ที่ไม่แสดงอาการเป็นพิษในสภาพแวดล้อมธรรมชาติ
แต่จากกิจกรรมการสกัดแร่ทองคำในชั้นหินได้ไปก่อกวนให้สารหนูในสภาพแวดล้อม
ธรรมชาติกลายเป็นสารพิษขึ้นมา เป็นต้น ใน ปี 2527 กรมทรัพยากรธรณี
(เปลี่ยนเป็นกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ หรือ กพร. เมื่อครั้งปฏิรูปกระทรวง ทบวง กรม เดือนตุลาคม 2545)
ได้ดำเนินการสำรวจแร่ทองคำและพบ
พื้นที่ศักยภาพของแร่ทองคำ 2 บริเวณใหญ่ คือ
บริเวณขอบที่ราบสูงโคราชในท้องที่จังหวัดเลย หนองคาย
เพชรบูรณ์ พิจิตร นครสวรรค์ ลพบุรี ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี และระยอง
และบริเวณท้องที่จังหวัดเชียงราย ลำปาง แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย และตาก
ส่วนบริเวณอื่น ๆ ที่พบทองคำอยู่ด้วย อาทิ บ้านป่าร่อน อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
บริเวณแหล่งโต๊ะโมะ อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส บริเวณบ้านบ่อทอง อำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี และ
มักพบปะปนอยู่ในลานแร่ดีบุกแถบจังหวัดกาญจนบุรี ภูเก็ต และพังงา เป็นต้น
ผล จากการค้นพบศักยภาพของแร่ทองคำดังกล่าว

คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบ "นโยบายว่าด้วยการสำรวจและพัฒนาแร่ทองคำ"
ตามที่กระทรวง อุตสาหกรรม โดยกรมทรัพยากรธรณีเสนอมาเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2530
เพื่อส่งเสริมให้เอกชนเข้ามาลงทุนในการสำรวจและทำเหมืองแร่ทองคำ
หลังจากนั้นคณะรัฐมนตรียังได้มีมติเห็นชอบนโยบายการสำรวจและ
ทำเหมืองแร่ ทองคำต่อมาอีก


ที่มา ศักดินา ตาบอด