- (วีดีโอ) ๑๐ เมษายน ๒๕๕๓ "รำลึกวีรชน ผู้ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย" ต้องไม่ลืม
มันประหัดประหารประชาชนอย่างเลือดเย็น กบาลกะบูม* สมองไหล เลือดสาด กลาดเกลื่อน
คนสั่งประหัดประหาร และ คนสั่ง-คนสั่งประหัดประหาร ยังลอยนวลอยู่ https://www.facebook.com/photo.php?v=303693266447935&set=vb.219037371580192&type=2&theater
-
นับ จากวันที่ 13 มีนาคม 2553
วันแรกที่ม็อบเสื้อแดงปักหลักตั้งเวทีที่สะพานผ่านฟ้าฯ ถ.ราชดำเนิน
ก่อนขยายไปยังเวทีใหญ่สี่แยกราชประสงค์
สมรภูมิแรกที่เกิดเหตุคือถนนราชดำเนิน เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2553
เหตุการณ์ในคืนวันนั้น มีประชาชนและทหารเสียชีวิต
รวมกันถึง 27 ราย บาดเจ็บราว 1,700 คน
จากวันนั้นก็เกิดเหตุ ′ฆ่าหมู่′ หรือ ′ลอบฆ่า′ ทั้งประชาชน
และม็อบตายเป็นใบไม้ร่วง โดยฆ่าต่อเนื่องถึงวันที่ 19 พฤษภาคม 2553
ซึ่งเป็นวันที่แกนนำเสื้อเแดงประกาศสลายการชุมนุม
เป็นความสูญเสียมากกว่าการชุมนุมในอดีตที่ผ่านมาทุกครั้ง
เป็นความสูญเสียมากกว่าฝีมือของรัฐบาลจอมพลหรือพลเอกเสียอีก!??
ลำดับเหตุการณ์เลือด
วันที่ 8 เมษายน 2553
นายสุเทพ มีคำสั่งให้สถานีดาวเทียมไทยคมระงับการแพร่ภาพ
ของสถานีโทรทัศน์พีเพิ่ล ทีวี หรือพีทีวี ซึ่งเป็นสถานีของคนเสื้อแดง
ถ่ายทอดสดการชุมนุม พร้อมส่งทหารเข้าไปควบคุม
ทำให้วันที่ 9 เมษายน ม็อบเดินทางไปยังสถานีไทยคม ที่อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี เพื่อให้เปิดสัญญาณถ่ายทอดอีกครั้ง
กระทั่งปะทะกับทหารแต่ไม่มีความสูญเสียเกิดขึ้น
แต่ จากจุดนี้เองทำให้นายอภิสิทธิ์ แสดงความไม่พอใจว่าม็อบท้าทายกฎหมาย และวันที่ 10 เมษายน คำสั่งสลายม็อบราชดำเนิน ที่ออกมาในวลีเท่ๆ ว่า ′ขอคืนพื้นที่′ ก็ออกมาจากศอฉ.
โดย ช่วงสายวันที่ 10 เมษายน
แกนนำเสื้อแดงทราบการข่าวว่ารัฐบาลสั่งสลายม็อบที่ราชดำเนิน
จึงระดมม็อบที่ราชประสงค์เดินทางไปสมทบ
เพื่อช่วยเหลือกรณีที่เกิดเหตุรุนแรง ขึ้น
แกนนำรวมตัวกันที่พระบรมรูปทรงม้า
ก่อนเคลื่อนไปยังหน้ากองทัพภาคที่ 1
หลังพบว่ามีหน่วยกำลังเตรียมพร้อมอยู่ภายใน และคาดว่าเป็นทีมสลายม็อบ
13.00 น. เกิดเผชิญหน้ากันครั้งแรกเมื่อม็อบพร้อมรถบรรทุก
ไปปิดด้านหน้ากองทัพภาคที่ 1 ป้องกันทหารเคลื่อนกำลังออกมา
แม้จะสามารถสกัดกั้นไว้ได้ แต่เป็นเวลาสั้นๆ เท่านั้น
ทหารเคลื่อนพลล้อมกรอบ
ราว ครึ่งชั่วโมงต่อมาทหาร 3 หน่วยปฏิบัติการล้อมกรอบผู้ชุมนุม เริ่มจากทหารในกองทัพภาคที่ 1 เคลื่อนกำลังออกมาทางถ.ศรีอยุธยา ซึ่งจุดนี้มีม็อบอยู่ราว 500 คน
แก๊สน้ำตา กระสุนยาง และน้ำ ระดมฉีดเข้าใส่ ขณะที่ทหารตั้งแต่ผลักดันม็อบจนถอยร่น จนทหารเข้ายึดพื้นที่บริเวณพระบรมรูปทรงม้าได้สำเร็จ จากนั้นก็ผลักดันผู้ชุมนุมออกไปอีก
ขณะเดียวกันมีกำลังทหารจาก ถ.พิษณุโลก และแยกวังแดง เดินหน้าบีบผู้ชุมนุมที่กระจัดกระจายอยู่ให้มารวมกันที่เวทีสะพานผ่านฟ้าฯ และแยกคอกวัว โดยรอบๆ ทั้งถนนดินสอ และถนนตะนาว มีทหารเข้ายึดครองได้หมด
ตามแผนคือให้ผู้ชุมนุมมารวมที่สะพานผ่านฟ้าฯ ก่อนผลักดันให้ออกไปทางถนนหลานหลวง โดยมีเฮลิคอปเตอร์บินโปรยแก๊สน้ำตาสลายผู้ชุมนุม
ทหาร และผู้ชุมนุมปะทะกันเป็นระยะๆ จนถึงตอนเย็น เจ้าหน้าที่เริ่มใช้อาวุธจริงยิงขู่ขึ้นฟ้า จนเมื่อการปะทะหนักหน่วงขึ้นบวกกับม็อบจากราชประสงค์เดินทางมาสมทบ
แสง แดดเริ่มน้อยลงเรื่อยๆ อากาศขมุกขมัวลง ทั้งนักวิชาการหรือผู้เกี่ยวข้องออกมาเตือนรัฐบาลผ่านทางสถานีโทรทัศน์ต่างๆ ให้ยุติการสลายม็อบไว้ก่อน เนื่องจากบรรยากาศเริ่มมืดลงเรื่อยๆ การสลายม็อบในเวลานี้ สุ่มเสี่ยงต่อการสูญเสีย
" แต่อภิสิทธิ์ก็ จั๊ดง่า .... ว !!!!!!!!! "
ศอฉ.โฆษกออกแถลงการณ์ยืนยันว่า
ต้องเดินหน้าลุยปราบต่อไปไม่ว่าจะดึกดื่นแค่ไหนก็ตาม
แล้วสถานการณ์ก็เป็นดังที่ทุกฝ่ายเตือน ในช่วงค่ำเกิดความอลหม่าน เสียงปืนระเบิดดังระงม
ศพแรกๆ ที่เกิดความสูญเสียคือ นายฮิโรยูกิ มูราโมโตะ ช่างภาพรอยเตอร์ ชาวญี่ปุ่น ถูกยิงตายบริเวณจุดปะทะถนนดินสอ
จาก พยานหลักฐานต่างๆ เชื่อว่าตายโดยเจ้าหน้าที่รัฐ
เนื่องจากช่วงเกิดเหตุนายมูราโมโตะ ที่ตอนแรกอยู่ในแนวทหาร
ถือกล้องเดินข้ามฝั่งมาถ่ายภาพบริเวณม็อบ
จนเมื่อหันกล้องกลับไปแนวเจ้าหน้าที่ก็ถูกกระสุนความเร็วสูงยิงเจาะเข้าร่าง
ผู้ชุมนุมช่วยกันอุ้มนายมูราโมโตะ
ออกจากจุดปะทะส่งโรงพยาบาล แต่ก็ช่วยชีวิตไว้ไม่ได้
การ ปะทะระหว่างทหารกับม็อบมีผู้เสียชีวิตจำนวนหนึ่ง
และบาดเจ็บหลักร้อยคน โดยทหารไม่สามารถผลักดันม็อบ
ออกจากพื้นที่ตามที่ตั้งเป้าเอาไว้
หลังศอฉ.มีคำสั่งให้ทหารเดินหน้าลุยปราบม็อบโดยไม่สนใจคำเตือน
สถานการณ์ยิ่งรุนแรงมากขึ้นและชุลมุนขึ้นเพราะไม่รู้ว่าใครเป็นใคร
ตัวเลขความสูญเสียมากขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่ม็อบก็เสริมกำลังเข้ามาเรื่อยๆ เช่นกัน
มีรายงานว่าในศอฉ.เองก็เคร่งเครียด
เพราะตัวเลขที่ได้รับรายงานมีประชาชนเสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก
แกนนำม็อบประกาศไล่ผู้นำมือเปื้อนเลือดออกนอกประเทศ
การ ปะทะเกิดขึ้นหลายจุดทั้งแยกคอกวัว ถนนดินสอ แยกจปร.
จนราว 2 ทุ่ม นายอภิสิทธิ์มีคำสั่งให้ถอนกำลัง
หลังควบคุมสถานการณ์ไม่ได้
เพราะยิ่งฆ่า ม็อบก็ยิ่งเข้ามาเสริมเยอะขึ้นเรื่อยๆ
มี รายงานว่าถึงตอนนี้ในศอฉ.เต็มไปด้วยความตึงเครียด
เพราะประชาชนสูญเสียมากเกินไป และในอดีตที่ผ่านมาไม่เคยมีรัฐบาลไหนสามารถอยู่ได้หากมือเปื้อนเลือดประชาชน
แต่ขณะเดียวกันเจ้าหน้าที่ทหารก็สูญเสียด้วย
จากกรณีเกิดเหตุปะทะกันที่หน้าโรงเรียนสตรีวิทย์ และมีเอ็ม 79 ยิงถล่มเข้าไปภายในโรงเรียน ตกใส่เต็นท์บัญชาการของทหาร
พ.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม รองเสธ.พล.ร.2 รอ. แม่ทัพใหญ่ในปฏิบัติการนี้เสียชีวิต และมีทหารบาดเจ็บอีกจำนวนหนึ่ง!!!
นะโม ตัสสะ
Dee Meenee ได้แชร์รูปภาพของ RED News UP2Date
5 ชม. ·
เอา มารื้อฟื้นความทรงจำ..พล.ต.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ หรือ “ผู้การแดง” เป็นบุตรชายของคนโตของ “บิ๊กจ๊อด” พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ เจ้าของฉายา "นายพลเสื้อคับ" อดีตผู้บัญชาการทหารสูง สุด และหัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) การปฏิวัติรัฐประหารในปี 2534 ในเวลาต่อมาได้นำไปสู่ “เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ” ในปีถัดมา โดยภาคประชาชนได้ดำเนินการเคลื่อนไหวประท้วงรัฐบาลที่มี พล.อ.สุจินดา คราประยูร เป็นนายกรัฐมนตรี และต่อต้านการสืบทอดอำนาจของ คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ในช่วงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2535 โดยจากการใช้ความรุนแรงเข้าปราบปรามของทหารภายใต้การสั่งการของ พล.อ.สุจินดา ทำให้ประชาชนได้รับบาดเจ็บ พิการ และเสียชีวิตไปเป็นจำนวนมาก
และจากเหตุการณ์ปฏิวัติของ รสช.ในปี 2534 โดยการนำของบิดาของ พล.ต.อภิรัชต์ รวมถึงรัฐประหารปี 2549 โดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ที่มี พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผบ.ทบ.ในขณะนั้นเป็นหัวหน้าคณะ ซึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในขณะนั้น มียศเพียง “พลตรี” ก็เป็นอีกผู้หนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการร่วมยึดอำนาจด
Wednesday, April 9, 2014
ร่วมรำลึก เมษาเลือด...10 เมษา 53
- (วีดีโอ) ๑๐ เมษายน ๒๕๕๓ "รำลึกวีรชน ผู้ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย" ต้องไม่ลืม
มันประหัดประหารประชาชนอย่างเลือดเย็น กบาลกะบูม* สมองไหล เลือดสาด กลาดเกลื่อน
คนสั่งประหัดประหาร และ คนสั่ง-คนสั่งประหัดประหาร ยังลอยนวลอยู่ https://www.facebook.com/photo.php?v=303693266447935&set=vb.219037371580192&type=2&theater
ขุมทรัพย์ศักดินา
ขุมทรัพย์ศักดินาhttp://image.ohozaa.com/i/13e/wrADjY.jpg
บริษัทเหมืองแร่ทองคำ ชาตรี หรือ บริษัทอัครไมนิ่ง
ภายหลังจากบริษัทดังกล่าวได้รับประทานบัตร จากรัฐบาลไทย ให้ขุดหาแร่ทองคำ
ในพื้นที่เฟสที่ 2 เนื้อที่กว่า 5 พันไร่ ในเขต ต.เขาเจ็ดลูก อ.ทับคล้อ จ.พิจิตร
ซึ่งนายฟิลล์ แมคอินไทร์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท อัครา ไมนิ่ง จำกัด เปิดเผยว่า
เมื่อเร็วๆนี้ ทางบริษัทได้รับอนุมัติประทานบัตรจากรัฐบาลไทย
ให้สามารถดำเนินการขุดหาและทำเหมืองแร่ทองคำบนพื้นที่
บริษัทเหมืองแร่ทองคำชาตรี ทางทิศเหนือจำนวน 9 แปลง เนื้อที่ 5,000 ไร่
ครอบคลุมพื้นตำบลเขาเจ็ดลูก จังหวัดพิจิตร และตำบลท้ายดง จังหวัดเพชรบรูณ์
นับเป็นความสำเร็จอีกก้าวหนึ่ง ในการขยายงาน และ
จ้างแรงงานให้เติบโต กว้างขึ้น เนื่องจากพื้นที่บริษัทเหมืองแร่ทองคำชาตรี ทางทิศใต้นั้น
ใกล้หมดอายุประทานบัตร โดยขณะนี้การดำเนินงานพื้นที่บริษัทเหมืองแร่ทองคำชาตรีทางทิศเหนือ
อยู่ในขั้นตอนการก่อสร้างอาคารสถานที่
ซึ่งทุกขั้นตอนการดำเนินงานจะยังคงรักษามาตรฐานความปลอดภัยและ
คุณภาพด้าน สิ่งแวดล้อม ระดับโลกเช่นเดียวกับพื้นที่บริษัทเหมืองแร่ทองคำชาตรีทางด้านทิศใต้
ซึ่งเป็นพื้นที่เดิม ไม่เพียงเท่านี้การได้รับประทานบัตรในพื้นที่บริษัทเหมืองแร่ทองคำชาตรีทาง
ด้านทิศเหนือทั้ง 9 แปลง บริษัทยังสามารถจ้างงานประชาชน ที่อาศัยอยู่บริเวณโดยรอบพิจิตรได้มากขึ้น
จากการคาดการณ์ว่าผลผลิตจากสินแร่ที่ขุดได้ในพื้นที่ใหม่
จะทำให้บริษัทสามารถชำระค่าภาคหลวงแร่ได้มากขึ้นถึง 2 เท่า
จากเดิมมีการชำระในปี 2551 เป็นเงิน 105 ล้านบาท
ขณะเดียวกันบริษัทยังสามารถจัดสรรงบประมาณในการสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ของท้องถิ่นได้มากขึ้น
โดยบริษัทมีแนวทางในการสนับสนุนกองทุนพัฒนาตำบล
ในตำบลที่อยู่ในพื้นที่ ของประทานบัตรแปลงใหม่ ได้แก่
ตำบลเขาเจ็ดลูก จังหวัดพิจิตร และตำบลท้ายดง จังหวัดเพชรบรูณ์ ตำบลละ 5 ล้านบาท ต่อปี
โดยจะชำระต่อเนื่องกันเป็นเวลา 10 ปี เริ่มชำระเงินให้แล้วในปีงบประมาณ 2551 เป็นต้นมา
รวมทั้งบริษัทจะสนับสนุนผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษแก่รัฐ ปีละ 3 ล้านบาท
ในส่วนการสนับสนุนงบประมาณในการจัดกิจกรรมของชุมนุมหรือหน่วยงานต่างๆ นั้น
ทางบริษัทก็จะได้จัดสรรงบประมาณสนับสนุนปีละประมาณ 4 ล้านบาทด้วย
สำหรับการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมบนพื้นที่บริษัทเหมืองแร่ทองคำชาตรี ทางทิศเหนือ
ซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนขยาย กว่า 5,000 ไร่นั้น
บริษัทยังคงให้ความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยที่สอดคล้องตามข้อ
กำหนดของรัฐบาล เช่นเดียวกับการดำเนินงานในพื้นที่ชาตรีใต้
ซึ่งมีแผนการดำเนินงาน 2 ระยะ คือ ระยะ ก่อนเปิดเหมือง
นอกจากการวิเคราะห์ถึงผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากการดำเนินกิจกรรมในจุดต่างๆ ของเหมืองแล้ว
พื้นที่ที่ติดกับพื้นที่สาธารณะหรือพื้นที่ชุมชน
จะมีการสร้างคันดินสำหรับปลูกต้นไม้เพื่อป้องกันปัญหาฝุ่นละอองออกไปรบกวน
ด้านนอกเหมือง ซึ่งขั้นตอนนี้ทางบริษัทได้ว่าจ้างให้ชาวบ้านเข้ามาช่วยปลูก
เพื่อให้มีรายได้เพิ่มขึ้นและได้มาสัมผัสถึงการให้ความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อม ของบริษัทด้วย
นอกจากนี้จะมีการจัดเตรียมระบบระบายน้ำของพื้นที่โครงการทั้งหมด เช่น บ่อดักตะกอน
สำหรับเก็บน้ำฝนที่ไหลผ่านพื้นที่โครงการไม่ให้ไหลออกสู่ภายนอก
ส่วนระยะหลังเหมืองเปิดดำเนินการ บริษัทจะยังคงติดตามตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม
ทั้งด้านอากาศ เสียง แรงสั่นสะเทือน น้ำ โดยการตรวจวัดจากเจ้าหน้าที่ด้านสิ่งแวดล้อมของบริษัทเอง
จากบริษัทที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม รวมทั้งจากเจ้าหน้าที่ดูแลด้านมาตรฐานสิ่งแวดล้อมที่บริษัทเคยได้รับก่อน หน้านี้
อาทิ ISO 14001 อีกกว่าปีละ 7-8 ครั้ง พร้อมทั้งประเมินความเสี่ยงในการทำงานด้านสิ่งแวดล้อมและ
ความปลอดภัยในการทำ งานของพื้นที่เหมืองชาตรีเหนือเพิ่มขึ้น
เพื่อหาแนวทางป้องกันที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตอยู่เสมอ
ในส่วนของ นายสมชัย หทยะตันติ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร
กล่าวว่ามีความภาคภูมิใจที่สามารถสนับสนุนนักลงทุนที่ช่วยสร้างงานอาชีพให้ กับชาวบ้าน
นอกเหนือจากงบประมาณที่ชุมชนได้รับจากการชำระค่าภาคหลวงแร่แล้ว
ในแต่ละปีงบประมาณส่วนหนึ่งของบริษัทส่วนหนึ่งของบริษัทยังมีส่วนสร้างความ เจริญให้กับชุมชนแห่งนี้
อีกทั้งบริษัทแห่งนี้ยังมีมาตรฐานการดูแลสิ่งแวดล้อม ก่อน และ หลัง การทำเหมืองแร่ อีกด้วย
"นโยบายสาธารณะ" ในนโยบายการสำรวจและทำเหมืองแร่ทองคำ วันที่ 11 ม.ค. 2553 เวลา : 15:33 น.
ผู้เขียน : เลิศศักดิ์ คำคงศักดิ์ โครงการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะด้านทรัพยากรแร่
กลุ่มนิเวศวัฒนธรรมศึกษา การดำเนินโครงการหรือกิจกรรม
ที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ
จะกระทำมิได้ เว้นแต่จะได้ศึกษาและประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและ
สุขภาพของ ประชาชนในชุมชน การ ทำเหมืองแร่ทองคำบน พื้นที่ ทุนและ
เทคโนโลยีขนาดใหญ่เป็นเรื่องใหม่สำหรับประเทศไทย เพราะที่ผ่านมา
แม้ประเทศไทยจะมีประวัติความเป็นมาเกี่ยวกับการทำเหมืองแร่ ทองคำมาแต่ครั้งอดีต
โดยแหล่งแร่ทองคำที่มี ชื่อเสียงในอดีต ได้แก่
แหล่งแร่ทองคำบ้านป่าร่อน อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
แหล่งแร่ทองคำบ้านบ่อทอง อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี
แหล่งแร่ทองคำโต๊ะโมะ อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส และ
แหล่งแร่ทองคำบ้านบ่อทอง อำเภอหนองม่วง จังหวัดลพบุรี
แต่ก็เป็นการทำเหมืองแร่ทองคำบนพื้นที่ ทุนและเทคโนโลยีขนาดเล็ก
ข้อวิตกกังวลที่สำคัญยิ่งต่อการทำเหมืองแร่ทองคำบนพื้นที่ ทุนและเทคโนโลยีขนาดใหญ่เช่นนี้
ก็คือการทำลายพื้นที่ป่า แหล่งน้ำ การรุกล้ำพื้นที่สาธารณประโยชน์ของชุมชน
การปนเปื้อนของสารไซยาไนด์ที่ใช้ในการสกัดแร่ทองคำ และสารหนู(Arsenic)
ที่ไม่แสดงอาการเป็นพิษในสภาพแวดล้อมธรรมชาติ
แต่จากกิจกรรมการสกัดแร่ทองคำในชั้นหินได้ไปก่อกวนให้สารหนูในสภาพแวดล้อม
ธรรมชาติกลายเป็นสารพิษขึ้นมา เป็นต้น ใน ปี 2527 กรมทรัพยากรธรณี
(เปลี่ยนเป็นกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ หรือ กพร. เมื่อครั้งปฏิรูปกระทรวง ทบวง กรม เดือนตุลาคม 2545)
ได้ดำเนินการสำรวจแร่ทองคำและพบ
พื้นที่ศักยภาพของแร่ทองคำ 2 บริเวณใหญ่ คือ
บริเวณขอบที่ราบสูงโคราชในท้องที่จังหวัดเลย หนองคาย
เพชรบูรณ์ พิจิตร นครสวรรค์ ลพบุรี ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี และระยอง
และบริเวณท้องที่จังหวัดเชียงราย ลำปาง แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย และตาก
ส่วนบริเวณอื่น ๆ ที่พบทองคำอยู่ด้วย อาทิ บ้านป่าร่อน อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
บริเวณแหล่งโต๊ะโมะ อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส บริเวณบ้านบ่อทอง อำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี และ
มักพบปะปนอยู่ในลานแร่ดีบุกแถบจังหวัดกาญจนบุรี ภูเก็ต และพังงา เป็นต้น
ผล จากการค้นพบศักยภาพของแร่ทองคำดังกล่าว
คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบ "นโยบายว่าด้วยการสำรวจและพัฒนาแร่ทองคำ"
ตามที่กระทรวง อุตสาหกรรม โดยกรมทรัพยากรธรณีเสนอมาเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2530
เพื่อส่งเสริมให้เอกชนเข้ามาลงทุนในการสำรวจและทำเหมืองแร่ทองคำ
หลังจากนั้นคณะรัฐมนตรียังได้มีมติเห็นชอบนโยบายการสำรวจและ
ทำเหมืองแร่ ทองคำต่อมาอีก
—
ที่มา ศักดินา ตาบอด
บริษัทเหมืองแร่ทองคำ ชาตรี หรือ บริษัทอัครไมนิ่ง
ภายหลังจากบริษัทดังกล่าวได้รับประทานบัตร จากรัฐบาลไทย ให้ขุดหาแร่ทองคำ
ในพื้นที่เฟสที่ 2 เนื้อที่กว่า 5 พันไร่ ในเขต ต.เขาเจ็ดลูก อ.ทับคล้อ จ.พิจิตร
ซึ่งนายฟิลล์ แมคอินไทร์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท อัครา ไมนิ่ง จำกัด เปิดเผยว่า
เมื่อเร็วๆนี้ ทางบริษัทได้รับอนุมัติประทานบัตรจากรัฐบาลไทย
ให้สามารถดำเนินการขุดหาและทำเหมืองแร่ทองคำบนพื้นที่
บริษัทเหมืองแร่ทองคำชาตรี ทางทิศเหนือจำนวน 9 แปลง เนื้อที่ 5,000 ไร่
ครอบคลุมพื้นตำบลเขาเจ็ดลูก จังหวัดพิจิตร และตำบลท้ายดง จังหวัดเพชรบรูณ์
นับเป็นความสำเร็จอีกก้าวหนึ่ง ในการขยายงาน และ
จ้างแรงงานให้เติบโต กว้างขึ้น เนื่องจากพื้นที่บริษัทเหมืองแร่ทองคำชาตรี ทางทิศใต้นั้น
ใกล้หมดอายุประทานบัตร โดยขณะนี้การดำเนินงานพื้นที่บริษัทเหมืองแร่ทองคำชาตรีทางทิศเหนือ
อยู่ในขั้นตอนการก่อสร้างอาคารสถานที่
ซึ่งทุกขั้นตอนการดำเนินงานจะยังคงรักษามาตรฐานความปลอดภัยและ
คุณภาพด้าน สิ่งแวดล้อม ระดับโลกเช่นเดียวกับพื้นที่บริษัทเหมืองแร่ทองคำชาตรีทางด้านทิศใต้
ซึ่งเป็นพื้นที่เดิม ไม่เพียงเท่านี้การได้รับประทานบัตรในพื้นที่บริษัทเหมืองแร่ทองคำชาตรีทาง
ด้านทิศเหนือทั้ง 9 แปลง บริษัทยังสามารถจ้างงานประชาชน ที่อาศัยอยู่บริเวณโดยรอบพิจิตรได้มากขึ้น
จากการคาดการณ์ว่าผลผลิตจากสินแร่ที่ขุดได้ในพื้นที่ใหม่
จะทำให้บริษัทสามารถชำระค่าภาคหลวงแร่ได้มากขึ้นถึง 2 เท่า
จากเดิมมีการชำระในปี 2551 เป็นเงิน 105 ล้านบาท
ขณะเดียวกันบริษัทยังสามารถจัดสรรงบประมาณในการสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ของท้องถิ่นได้มากขึ้น
โดยบริษัทมีแนวทางในการสนับสนุนกองทุนพัฒนาตำบล
ในตำบลที่อยู่ในพื้นที่ ของประทานบัตรแปลงใหม่ ได้แก่
ตำบลเขาเจ็ดลูก จังหวัดพิจิตร และตำบลท้ายดง จังหวัดเพชรบรูณ์ ตำบลละ 5 ล้านบาท ต่อปี
โดยจะชำระต่อเนื่องกันเป็นเวลา 10 ปี เริ่มชำระเงินให้แล้วในปีงบประมาณ 2551 เป็นต้นมา
รวมทั้งบริษัทจะสนับสนุนผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษแก่รัฐ ปีละ 3 ล้านบาท
ในส่วนการสนับสนุนงบประมาณในการจัดกิจกรรมของชุมนุมหรือหน่วยงานต่างๆ นั้น
ทางบริษัทก็จะได้จัดสรรงบประมาณสนับสนุนปีละประมาณ 4 ล้านบาทด้วย
สำหรับการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมบนพื้นที่บริษัทเหมืองแร่ทองคำชาตรี ทางทิศเหนือ
ซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนขยาย กว่า 5,000 ไร่นั้น
บริษัทยังคงให้ความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยที่สอดคล้องตามข้อ
กำหนดของรัฐบาล เช่นเดียวกับการดำเนินงานในพื้นที่ชาตรีใต้
ซึ่งมีแผนการดำเนินงาน 2 ระยะ คือ ระยะ ก่อนเปิดเหมือง
นอกจากการวิเคราะห์ถึงผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากการดำเนินกิจกรรมในจุดต่างๆ ของเหมืองแล้ว
พื้นที่ที่ติดกับพื้นที่สาธารณะหรือพื้นที่ชุมชน
จะมีการสร้างคันดินสำหรับปลูกต้นไม้เพื่อป้องกันปัญหาฝุ่นละอองออกไปรบกวน
ด้านนอกเหมือง ซึ่งขั้นตอนนี้ทางบริษัทได้ว่าจ้างให้ชาวบ้านเข้ามาช่วยปลูก
เพื่อให้มีรายได้เพิ่มขึ้นและได้มาสัมผัสถึงการให้ความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อม ของบริษัทด้วย
นอกจากนี้จะมีการจัดเตรียมระบบระบายน้ำของพื้นที่โครงการทั้งหมด เช่น บ่อดักตะกอน
สำหรับเก็บน้ำฝนที่ไหลผ่านพื้นที่โครงการไม่ให้ไหลออกสู่ภายนอก
ส่วนระยะหลังเหมืองเปิดดำเนินการ บริษัทจะยังคงติดตามตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม
ทั้งด้านอากาศ เสียง แรงสั่นสะเทือน น้ำ โดยการตรวจวัดจากเจ้าหน้าที่ด้านสิ่งแวดล้อมของบริษัทเอง
จากบริษัทที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม รวมทั้งจากเจ้าหน้าที่ดูแลด้านมาตรฐานสิ่งแวดล้อมที่บริษัทเคยได้รับก่อน หน้านี้
อาทิ ISO 14001 อีกกว่าปีละ 7-8 ครั้ง พร้อมทั้งประเมินความเสี่ยงในการทำงานด้านสิ่งแวดล้อมและ
ความปลอดภัยในการทำ งานของพื้นที่เหมืองชาตรีเหนือเพิ่มขึ้น
เพื่อหาแนวทางป้องกันที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตอยู่เสมอ
ในส่วนของ นายสมชัย หทยะตันติ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร
กล่าวว่ามีความภาคภูมิใจที่สามารถสนับสนุนนักลงทุนที่ช่วยสร้างงานอาชีพให้ กับชาวบ้าน
นอกเหนือจากงบประมาณที่ชุมชนได้รับจากการชำระค่าภาคหลวงแร่แล้ว
ในแต่ละปีงบประมาณส่วนหนึ่งของบริษัทส่วนหนึ่งของบริษัทยังมีส่วนสร้างความ เจริญให้กับชุมชนแห่งนี้
อีกทั้งบริษัทแห่งนี้ยังมีมาตรฐานการดูแลสิ่งแวดล้อม ก่อน และ หลัง การทำเหมืองแร่ อีกด้วย
"นโยบายสาธารณะ" ในนโยบายการสำรวจและทำเหมืองแร่ทองคำ วันที่ 11 ม.ค. 2553 เวลา : 15:33 น.
ผู้เขียน : เลิศศักดิ์ คำคงศักดิ์ โครงการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะด้านทรัพยากรแร่
กลุ่มนิเวศวัฒนธรรมศึกษา การดำเนินโครงการหรือกิจกรรม
ที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ
จะกระทำมิได้ เว้นแต่จะได้ศึกษาและประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและ
สุขภาพของ ประชาชนในชุมชน การ ทำเหมืองแร่ทองคำบน พื้นที่ ทุนและ
เทคโนโลยีขนาดใหญ่เป็นเรื่องใหม่สำหรับประเทศไทย เพราะที่ผ่านมา
แม้ประเทศไทยจะมีประวัติความเป็นมาเกี่ยวกับการทำเหมืองแร่ ทองคำมาแต่ครั้งอดีต
โดยแหล่งแร่ทองคำที่มี ชื่อเสียงในอดีต ได้แก่
แหล่งแร่ทองคำบ้านป่าร่อน อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
แหล่งแร่ทองคำบ้านบ่อทอง อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี
แหล่งแร่ทองคำโต๊ะโมะ อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส และ
แหล่งแร่ทองคำบ้านบ่อทอง อำเภอหนองม่วง จังหวัดลพบุรี
แต่ก็เป็นการทำเหมืองแร่ทองคำบนพื้นที่ ทุนและเทคโนโลยีขนาดเล็ก
ข้อวิตกกังวลที่สำคัญยิ่งต่อการทำเหมืองแร่ทองคำบนพื้นที่ ทุนและเทคโนโลยีขนาดใหญ่เช่นนี้
ก็คือการทำลายพื้นที่ป่า แหล่งน้ำ การรุกล้ำพื้นที่สาธารณประโยชน์ของชุมชน
การปนเปื้อนของสารไซยาไนด์ที่ใช้ในการสกัดแร่ทองคำ และสารหนู(Arsenic)
ที่ไม่แสดงอาการเป็นพิษในสภาพแวดล้อมธรรมชาติ
แต่จากกิจกรรมการสกัดแร่ทองคำในชั้นหินได้ไปก่อกวนให้สารหนูในสภาพแวดล้อม
ธรรมชาติกลายเป็นสารพิษขึ้นมา เป็นต้น ใน ปี 2527 กรมทรัพยากรธรณี
(เปลี่ยนเป็นกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ หรือ กพร. เมื่อครั้งปฏิรูปกระทรวง ทบวง กรม เดือนตุลาคม 2545)
ได้ดำเนินการสำรวจแร่ทองคำและพบ
พื้นที่ศักยภาพของแร่ทองคำ 2 บริเวณใหญ่ คือ
บริเวณขอบที่ราบสูงโคราชในท้องที่จังหวัดเลย หนองคาย
เพชรบูรณ์ พิจิตร นครสวรรค์ ลพบุรี ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี และระยอง
และบริเวณท้องที่จังหวัดเชียงราย ลำปาง แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย และตาก
ส่วนบริเวณอื่น ๆ ที่พบทองคำอยู่ด้วย อาทิ บ้านป่าร่อน อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
บริเวณแหล่งโต๊ะโมะ อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส บริเวณบ้านบ่อทอง อำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี และ
มักพบปะปนอยู่ในลานแร่ดีบุกแถบจังหวัดกาญจนบุรี ภูเก็ต และพังงา เป็นต้น
ผล จากการค้นพบศักยภาพของแร่ทองคำดังกล่าว
คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบ "นโยบายว่าด้วยการสำรวจและพัฒนาแร่ทองคำ"
ตามที่กระทรวง อุตสาหกรรม โดยกรมทรัพยากรธรณีเสนอมาเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2530
เพื่อส่งเสริมให้เอกชนเข้ามาลงทุนในการสำรวจและทำเหมืองแร่ทองคำ
หลังจากนั้นคณะรัฐมนตรียังได้มีมติเห็นชอบนโยบายการสำรวจและ
ทำเหมืองแร่ ทองคำต่อมาอีก
—
ที่มา ศักดินา ตาบอด
Subscribe to:
Posts (Atom)