Bhumibol, Thailand's remarkable king : ภูมิพล กษัตริย์ที่น่าทึ่งของไทย
http://www.latimes.com/news/opinion/commentary/la-oe-thompson11-2008dec11,0,7501175.story
Los Angeles Times
Bhumibol, Thailand's remarkable king
The 81-year-old built up, and now wields,
considerable power over his country.
By W. Scott Thompson
แปลไทยจาก : www.thaireport.blogspot.com
ภูมิพล กษัตริย์ที่น่าทึ่งของไทย
ทูตชาวตะวันตกผู้เฉลียวฉลาดคนหนึ่งให้ความเห็นว่าเมืองไทยได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เขาแสดงมุมมองทั่วไปเกี่ยวกับวิกฤติปัจจุบันว่านี่เป็นหนึ่งในเหตุการณ์ที่กษัตริย์ภูมิพลอดุลยเดชไม่สามารถทำให้สงบเหมือนดังที่เขาได้ทำมาในวิกฤติการณ์ทางการเมืองทุกครั้งตลอด 62 ปีแห่งการครองราชย์ ท้ายที่สุด ผู้ประท้วงรัฐบาลหลายพันคนก็ปิดสนามบินสำเร็จเป็นเวลาหลายวัน ทำให้นักท่องเที่ยว 300,000 คนติดอยู่ในประเทศ และศาลรัฐธรรมนูญก็ตัดสินยุบพรรครัฐบาลและตัดสิทธิทางการเมืองของนายกรัฐมนตรีสมชาย วงสวัสดิ์ เป็นเวลา 5 ปี นอกจากนี้ แม้ว่าอดีตนายกฯทักษิณ ชินวัตร พี่เขยของสมชาย และศัตรูที่น่าสะพึงกลัวของกษัตริย์จะอยู่ในระหว่างการหลบหนี เขาก็ยังคงได้รับความนิยมจากในชนบท และยังคงมีเงินหลายพันล้านดอลลาร์ และมีผู้ที่อยู่ในกฎหมายอีกมากมายที่จะเป็นตัวแทนของเขาในประเทศไทย
ประเทศไทยไม่ค่อยเหมือนกับประเทศอื่น ๆ ตั้งแต่ พ.ศ. 2475 กษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญครองราชย์ด้วยด้วยอำนาจที่ไม่ชัดเจนนัก แต่กษัตริย์องค์ปัจจุบันได้ทะยานขึ้นสู่จุดที่เกือบจะเป็นมีอำนาจ "เด็ดขาดสมบูรณ์" เหมือนปู่ของเขา การเมืองตั้งแต่กษัตริย์ภูมิพลก้าวสู่ราชบัลลังก์ใน พ.ศ. 2489 เป็นการเมืองที่มีรัฐธรรมนูญแบบตะวันตกและมีการเลือกตั้งสลับกับรัฐประหาร (18 ครั้ง และอาจเพิ่มขึ้นอีก) เป็นช่วงสม่ำเสมอ หัวหน้าทหารบางคนน่าประทับใจ แต่ส่วนใหญ่นั้นน่าเบื่อหน่ายและล้าหลัง คนไทยกล่าวว่า "ไม่เป็นไร" ทุกครั้งที่ทหารออกมา
อย่างไรก็ดี มีมุมมองที่แตกต่างจากทูตคนนี้ด้วยเช่นกัน เป็นมุมมองที่ว่า ที่จริงแล้ว กษัตริย์ หลังจากที่เพิ่งฉลองวันเกิดครบรอบ 81 ปีของเขาในโรงพยาบาล มีความสุขกับชัยชนะสุดพิเศษซึ่งได้ขัดเกลามายาวนาน ถ้าเป็นเช่นนั้นจริง นอกจากเขาจะเป็นกษัตริย์ที่ครองราชย์นานที่สุดและรวยที่สุดในโลกแล้ว เขาอาจจะเป็นกษัตริย์ที่ไม่เพียงแต่ครองราชย์เท่านั้น หากยังปกครองแผ่นดินด้วย เขามีลักษณะภายนอกเป็นคนอ่อนโยน แต่นักการเมืองเจ้าเล่ห์คนนี้ก้าวขึ้นสู่สถานะปัจจุบันของเขาผ่านข้อตกลงสไตล์แทมมานีฮอลตลอดทั่วทั้งราชอาณาจักร
ภูมิพลขึ้นสู่บัลลังก์ในเวลาที่ไม่เป็นมงคลนัก เมื่อพี่ชายของเขาถูกฆ่าอย่างลึกลับใน พ.ศ. 2489 เผด็จการทหารที่ควบคุมประเทศให้ภูมิพลในวัยเยาว์อยู่ในที่ของเขา "เมื่อฉันเปิดปาก พวกเขา[พวกนายพล]จะพูดว่า 'ใต้ฝ่าพระบาท พระองค์ทรงไม่รู้อะไรเลย' " กษัตริย์ภูมิพลหวนรำลึก "ดังนั้นฉันจึงหุบปาก ฉันรู้หลายๆสิ่ง แต่ฉันหุบปาก" ใน พ.ศ. 2490 เผด็จการทหารพ่ายแพ้แก่เผด็จการทหารคณะใหม่ที่พยายามใช้กษัตริย์เพื่อโปรโมตความนิยมของพวกเขา แต่พระองค์คุมเกมเหนือกว่าพวกนั้น และค่อยๆได้รับความเคารพจากสาธารณะขึ้นเรื่อยๆ
ใน พ.ศ. 2516 ผมถาม ม.ล.พีรพงศ์ เกษมศรี ซึ่งต่อมาได้เป็นเอกอัครราชทูตไทยประจำวอชิงตันและเป็นผู้ช่วยระดับสูงของกษัตริย์ ว่าทำไมกษัตริย์และความแข็งแกร่งที่ปรากฎออกมาของพระองค์จึงไม่ขับไล่คนที่น่าตลกและคดโกงที่กำลังบริหารประเทศอยู่ออกไป เขาตอบว่าประเทศไทยต้องรักษากษัตริย์ไว้เพื่อเวลาที่ไม่มีใครอื่นที่จะรักษาประเทศได้
วันนั้นมาถึงเร็วกว่าที่คาดคิด เมื่อในปลายปีนั้น นักศึกษาที่กลับมาจากยุโรปและนักศึกษาในมหาวิทยาลัยในกรุงเทพฯ เติมเต็มไปด้วยความคิดใหม่ ออกมาเรียกร้องประชาธิปไตย กษัตริย์ภูมิพล ในสไตล์ที่ชัดเจนเกิน รอจนกว่าสามเผด็จการและนักศึกษาหลายพันคนจะสมดุลกัน และต่อมาส่งสามทรราชออกนอกประเทศ
ช่วงทศวรรษ 2520 กษัตริย์มีอำนาจเกือบจะเด็ดขาด วอชิงตันในสมัยของจิมมี คาร์เตอร์ กำลังเรียกร้องประชาธิปไตยในประเทศโลกที่สาม ดังนั้นพระราชวังจึงอนุญาตให้ เปรม ติณสูลานนท์ นายพลที่อ่อนโยน ปกครองประเทศในนามของกษัตริย์ แต่ไม่มีใครที่อยู่วงในจะสงสัยเลยว่าใครคือผู้มีอำนาจที่แท้จริง และในขณะเดียวกัน เศรษฐกิจประเทศก็กำลังพุ่งสุดขีด มันเป็นการผสมผสานที่ยอดเยี่ยมเกินกว่าที่ใครจะกล้าหรือขอให้หยุดมันได้
ใน พ.ศ. 2535 นายพลอีกคนทำผิดพลาด และพยายามปราบการประท้วงของนักศึกษาและผู้สนับสนุนประชาธิปไตย หลังจากการนองเลือดดำเนินไปถึงขั้นรุนแรงพอ กษัตริย์ทรงรอในลักษณะเดียวกับเมื่อปี 2516 และเรียกนายกรัฐมนตรีและผู้นำการประท้วงมาเข้าพบซึ่งออกโทรทัศน์ไปทั่ว โลกเห็นคนทั้งสองหมอบกราบอยู่บนพื้นพระราชวังตรงบัลลังก์เพื่อรับสิทธิพิเศษ (ทางประชาธิปไตย -- หรือราชาธิปไตย) ของพระองค์ ประเทศไทยหลังจากนั้นเงียบสงบไปทศวรรษหนึ่ง และรอดผ่านวิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 อันเป็นความท้าทายครั้งยิ่งใหญ่มาได้
และแล้วในปี พ.ศ. 2544 ความท้าทายครั้งใหญ่ที่สุดของภูมิพลก็มาถึง เมื่อทักษิณ ชินวัตร พบวิธีในการเรียกคะแนนเสียงจากชาวบ้านในชนบท ขณะที่ละเลยต่อคะแนนเสียงของพวกที่เรียกตัวเองว่าเป็นนักประชาธิปไตยในกรุงเทพฯ และนำไปสู่ชัยชนะเลือกตั้งอย่างถล่มทลายและขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี ด้วยความแข็งแกร่งทางการเมืองและเงินมากมายที่มาจากสัมปทานโทรศัพท์เคลื่อนที่ ทักษิณได้ทำผิดพลาดด้วยการไปสงสัยว่า ทำไมชายชราซึ่งย้ายไปอยู่ที่วังชายทะเลในจังหวัดทางใต้จึงได้รับอนุญาตให้มีอำนาจได้ถึงขนาดนั้น เขาไม่ได้ทำการต่อต้านกษัตริย์อย่างเปิดเผย แต่ทำการนับพันที่จะลิดรอนอำนาจของพระองค์ลง
แต่ไม่ใช่กษัตริย์ที่ถูกลิดรอนอำนาจ ในปี 2549 ด้วยความเห็นชอบจากทางวัง กองทัพได้ส่งทักษิณเก็บกระเป๋า แต่รัฐบาลใหม่ก็ขี้เกียจ และที่เหลือก็คือประวัติศาสตร์: สองปีแห่งความไม่สงบ การประท้วงบนท้องถนน เศรษฐกิจทรุดหนัก และท้ายที่สุดพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยปิดสนามบิน การประท้วงของพันธมิตรและการขับไล่สมชายจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้โดยปราศจากการสนับสนุนอย่างเงียบๆจากวัง ขณะที่กลุ่มก้อนในกองทัพรอดูการสนับสนุนอื่นๆจากพระราชวังต่อไป
ขณะเดียวกัน อังกฤษก็อาญัติทรัพย์ของทักษิณในอังกฤษและยกเลิกวีซาของเขา ทรัพย์สินอื่นของทักษิณ -- ความนิยมในชนบทของเขา -- มีแต่จะลดลง ขณะที่กษัตริย์ทรงรอดูอยู่ว่าทักษิณจะพยายามทำอะไรต่อไป
แต่ตอนนี้ กษัตริย์จำเป็นต้องมีไม้กายสิทธิ์หรือไม่? เพราะเขาได้ใช้เวทมนตร์ของเขาอย่างช้าๆในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ปล่อยให้ทักษิณกลายเป็นศัตรูที่เลวร้ายที่สุดของเขา บังอาจเอื้อมและทำในสิ่งที่ไม่อาจคิดได้ นั่นคือ บ่อนทำลายพระราชบัลลังก์ ทักษิณได้กลายเป็นบุคคลคล้ายกษัตริย์คนสุดท้ายของอิหร่าน ที่ต้องอพยพหนีไปกับครอบครัวและทรัพย์สินของเขา ไม่มีมิตรประเทศของไทยกล้าให้เขาอยู่ เพราะภูมิพล -- ผู้อาจเป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของราชวงศ์จักรีตามคำทำนาย -- เป็นกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด
ประเทศไทยจะสงบลงในไม่ช้า เศรษฐกิจจะกลับมารุ่งเรืองอีกครั้งและนักท่องเที่ยวจะมาเที่ยววัดและชายหาดกันแน่นขนัด และถ้าโชคดี กษัตริย์องค์นี้ก็คงจะอยู่ต่อไปอีกสักพักเพื่อลิ้มรสชาติแห่งชัยชนะของพระองค์
W. Scott Thompson
ที่มา : Thai Report : LA Times: ภูมิพล กษัตริย์ที่น่าทึ่งของไทย
หมายเหตุ
การเน้นข้อความทำโดยความเห็นของผู้จัดเก็บบทความ
ผู้จัดเก็บบทความ เจ้าน้อย ณ สยาม ที่ 18:58 น.
Wednesday, December 24, 2008
Monday, December 22, 2008
ระบบศักดินาและชะตากรรมของพระเจ้าตากสิน
ระบบศักดินาและชะตากรรมของพระเจ้าตากสิน
ประเทศไทยปกครองด้วยระบบศักดินามานานหลายร้อยปี พวกเจ้าศักดินาจะครองบ้านครองเมือง ตั้งตนเป็นเจ้าของที่ดินทั้งที่ตนไม่เคยออกแรงถางป่าพันไร่ มีอำนาจเป็นเจ้าเหนือหัวเหนือชีวิตผู้คนในบ้านเมือง ดังที่พวกเรารู้จักกันในนามพระมหากษัตริย์, พระราชา, พระเจ้าแผ่นดิน, พระเจ้าอยู่หัว ซึ่งชื่อของเขาได้บ่งถึงความยิ่งใหญ่คับฟ้าอยู่ในตัว ข้าราชบริพารและไพร่ฟ้าประชาราษฎรต่างต้องทำมาหากินเป็นชาวนาชาวไร่ ไม่มีใครเป็นอิสระ ต้องเป็นไพร่ติดที่ดินสังกัดเจ้าศักดินาคนใดคนหนึ่ง ปีหนึ่งๆไพร่ชายที่มีอายุ18 ปีขึ้นไปต้องถูกเกณฑ์แรงงานถึง 6 เดือน คือเข้าเดือนเว้นเดือนโดยไม่มีค่าตอบแทนแม้แต่สตางค์แดงเดียว ซ้ำยังต้องนำข้าวไปกินเอง ทุกคนต้องเป็นข้ารับใช้แรงงาน ไปรบ ไปทำอะไรต่อมิอะไร แม้แต่ไปตายตามที่เจ้าศักดินาสั่ง ต้องทำเช่นนี้จนถึงอายุ 60 ปีจึงจะเป็นไท ชีวิตไพร่จึงเหมือนวัวควายที่พูดได้ จะอยู่จะตายขึ้นอยู่กับคำสั่งของเจ้านาย หากเจ้าศักดินา ยกที่ดินให้ใครไพร่ติดที่ดินนั้นก็ต้องไปขึ้นกับเจ้าศักดินาคนใหม่ทันที
นอกจากนั้นการเพาะปลูกของไพร่ยังต้องถูกเรียกเก็บภาษี ถูกรีดอากรในรูปของเงินและพืชผลอีกหลายประเภท พวกเขาต้องมีชีวิตอยู่อย่างยากแค้น ต้องทำงานหนักหน่วงไม่เพียงเพื่อเลี้ยงตนเองและครอบครัว
แต่ยังต้องเลี้ยงเจ้าศักดินาของตน แท้ที่จริงชีวิตของชาวไทยทุกคนมีไว้เพื่อเลี้ยงดูเจ้าศักดินาทั้งสิ้น
ใครที่ทนไม่ได้ก็จะหนีไปอยู่ป่าอยู่ดง ไปให้ไกลๆพ้นจากเงื้อมมือการปกครองของพวกเขา คนประเภทนี้เจ้าศักดินาจะไม่รับรองความเป็นคน จะไม่มีสิทธิฟ้องร้อง ร้องเรียนต่อบ้านเมือง ดังได้ตราไว้ในกฎหมายตั้งแต่กรุงศรีอยุธยาและถอดแบบเป็นกฎหมายตราสามดวงในยุคกรุงรัตนโกสินทร์ หากคนพวกนี้ถูกค้นพบจะถูกสักข้อมือกลายเป็นไพร่หลวง คือข้ารับใช้ของเจ้าแผ่นดินทันที
ชีวิตของพวกศักดินาจำนวนหยิบมือหนึ่งนี้อยู่กันอย่างฟุ้งเฟ้อหรูหรา กินทิ้งกินขว้าง เสพสุขโดยไม่ออกแรงทำงานใดๆทั้งสิ้น ซ้ำยังดูถูกการใช้แรงงานเป็นสิ่งต่ำต้อยหยาบช้า ขณะที่พวกเขาเฝ้าเสพเมถุนเช้ายันค่ำโดยไม่ใยดีว่าเป็นลูกเต้าและเมียใคร แล้วกลับยกย่องสรรเสริญหญิงนั้นว่ามีบุญวาสนาสูงส่งจึงได้บำเรอเจ้าศักดินา หลายยุคหลายแผ่นดินที่ผ่านมา พวกเขายังคงเสวยสุขบนน้ำตา เลือดเนื้อและความขมขื่นของไพร่ฟ้าชาวไทยทั้งหลาย
การที่ระบบศักดินายืนยงอยู่ได้ยาวนาน สาเหตุที่สำคัญอันหนึ่งคือ การสร้างความนิยมชมชอบให้เกิดขึ้นโดยอาศัยบรรดาสิ่งศักดิ์สิทธิ์จากสิ่งที่ผู้คนศรัทธาเชื่อถืออยู่แล้ว เช่น แอบอิงพระพุทธศาสนา ด้วยการโอ้อวดว่า กษัตริย์คือพระโพธิสัตว์ซึ่งจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ดังที่ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ“เรื่องการปกครองของประเทศสยามโบราณ” เพื่อหลอกลวงผู้อื่นให้เข้าใจว่า การปกครองของกษัตริย์นั้นชอบธรรมและทั้งๆที่ไม่มีข้อความใดในพระไตรปิฎก ทั้ง84,000พระธรรมขันธ์จะรับรองว่ากษัตริย์คือพระโพธิสัตว์เลย พวกเขาก็ยังยืนยันเรียกกษัตริย์ว่า “พระพุทธเจ้าอยู่หัว” ซึ่งเป็นพระนามอันมีไว้เฉพาะพระพุทธองค์ และเรียกลูกกษัตริย์ว่า “หน่อพุทธางกูร” อันหมายถึง ผู้ที่จะได้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตข้างหน้า ซึ่งเป็นการนำเอาพระนามของพระศาสดาอันประเสริฐที่สุดองค์หนึ่งมาใช้โดยปราศจากความเคารพ เช่น รัชกาลที่ 1 ซึ่งพวกเจ้าศักดินารุ่น “ร.ศ.200” พยายามจะยกขึ้นเป็นมหาราช ถึงกับได้รับคำสรรเสริญจากศักดินาด้วยกันที่แต่งหนังสือเทศนาจุลยุทธการวงศ์ว่า “พระองค์เป็นพงศ์พุทธางกูรทรงบำเพ็ญพุทธการจริยา...”
นอกจากแอบอิงพระพุทธศาสนาแล้ว ยังแอบอิงความเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ยึดถือกันมานานได้อย่างวิจิตรพิสดารนั่นก็คือ การที่พวกศักดินาถือว่ากษัตริย์เป็นเทวดาตั้งแต่ขณะที่มีชีวิตอยู่ จึงสร้างราชาศัพท์ซึ่งมีไว้ใช้เฉพาะกับกษัตริย์และราชนิกุลทั้งหลาย และมีการตั้งกฎเกณฑ์ต่างๆอันทำให้แลดูว่ากษัตริย์สูงส่งกว่ามนุษย์ทั่วไป เช่น ห้ามมองดูกษัตริย์ โดยอ้างว่าถ้ามนุษย์มองดูพระเจ้าก็เหมือนมองพระอาทิตย์ กษัตริย์จะไม่ยอมให้เท้าเหยียบแผ่นดินโดยไม่ใส่รองเท้า โดยอ้างว่าเท้าของเทวดาย่อมร้อน ถ้าเหยียบแผ่นดินแล้วไฟจะไหม้โลก ( ดังที่ มรว. คึกฤทธิ์ ปราโมช เขียนไว้ในหนังสือเรื่อง ”สถาบันกษัตริย์” ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, 2523 ) นอกจากนี้ในหนังสือเล่มดังกล่าวยังเขียนไว้ว่าห้ามแตะต้องกษัตริย์ ผู้ที่มีสิทธิ์ถูกต้องตัวกษัตริย์ได้จึงมีแต่ช่างตัดผมและนางบำเรอของกษัตริย์เท่านั้น
ไม่เพียงเท่านี้ เจ้าศักดินายังแต่งตำนานโกหกพกลม โดยอ้างกฎแห่งกรรมมาบิดเบือนว่า พวกตนมีบุญญาธิการสูงส่งหาผู้ใดเปรียบเปรยมิได้ ชาตินี้จึงเกิดมาได้เป็นเจ้าแผ่นดิน ลูกท่านหลานเธอ จึงได้เสวยสุขบรมสุข มีอำนาจเหนือหัวผู้คนทั้งหลาย แท้ที่จริงพระพุทธองค์ไม่เคยตรัสเช่นนั้นเลย ดังจะเห็นได้จากการที่พระพุทธองค์ทรงย้ำว่า คนเราแตกต่างกันเพราะการกระทำหาใช่ชาติกำเนิด และพระพุทธองค์ไม่เคยยอมรับเลยว่า กษัตริย์นั้นมีบุญมากกว่าผู้อื่นแต่อย่างใด
ประวัติศาสตร์ไทยที่เราท่านเล่าเรียนและรับฟังกันมา มิได้สะท้อนความเป็นจริงแห่งการดำรงชีพของคนไทยและความเป็นจริงของเหตุการณ์ในแผ่นดินอย่างตรงไปตรงมา เนื้อหาส่วนใหญ่กลับเป็นเรื่องบิดเบือนและปิดหูปิดตาไม่ให้ผู้คนรู้ความจริง ประวัติศาสตร์ไทยกลายเป็นตำนานของการสืบสันตติวงศ์ เป็นการยกย่องกษัตริย์ให้ผิดมนุษย์ธรรมดา ทำให้ผู้คนหลงเชื่อว่า กษัตริย์คือเทพเจ้าอยู่เหนือคำตำหนิใดๆของมนุษย์ เมื่อกล่าวถึงกษัตริย์จะมีแต่ส่วนดีงามและการยกย่องสรรเสริญเท่านั้นทั้งๆที่กิจวัตรของกษัตริย์และราชนิกุลทั้งหลายก็เฉกเช่นคนสามัญ ที่ประกอบคละเคล้ากันไปด้วยส่วนที่ดีงามควรแก่การสรรเสริญ กับส่วนที่เลวร้ายควรแก่การตำหนิวิจารณ์ ฉะนั้นการที่มีแต่สรรเสริญถ่ายเดียวและห้ามเอ่ยถึงส่วนที่เสียแม้แต่น้อยเพื่อการประจบสอพลอโฆษณาชวนเชื่อ จึงเป็นหนทางแห่งการเสื่อมถอยมากกว่าเป็นเรื่องดี โดยเฉพาะในยุคปัจจุบันที่การศึกษา ความรับรู้ของมนุษย์ได้ก้าวไปไกลมาก อีกทั้งสังคมก็มีสิทธิเสรีภาพ ข้อยึดปฏิบัติที่เคยใช้บังคับประชาชนเกี่ยวกับกษัตริย์จึงเป็นเรื่องล้าหลังอย่างยิ่ง เพราะการศึกษาค้นคว้า ทำให้เราทราบข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ว่าใครถูกผิด ใครดีชั่ว อีกประการหนึ่งปุถุชนวิสัยมีความอยากรู้อยากเห็น ยิ่งบิดเบือนมากเสียงซุบซิบก็จะหนาหูขึ้น ดังเช่นในยุคปัจจุบันที่ผู้คนวงการต่างๆนำเรื่องในรั้วในวังมาเล่าลืออย่างกว้างขวาง และเป็นหน้าที่ของนักประวัติศาสตร์ที่จะได้เปิดให้เห็นโฉมหน้าอันแท้จริงของเจ้าศักดินาไทยให้ประจักษ์ชัดต่อประชาชนไทย ยกตัวอย่างการสมคบกันวางแผนปล้นราชบัลลังก์และสั่งปลงพระชนม์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชองค์พระมหากษัตริย์ผู้ทรงกอบกู้เอกราชของชาติไทยจากพม่า ดังจะกล่าวในตอนต่อไปนี้
พระเจ้าตากสินมหาราช กษัตริย์ผู้กอบกู้บ้านเมือง
หลังกรุงศรีอยุธยาเสียกรุงแก่พม่าในปี พ.ศ.2310 พระเจ้าตากสินได้รวบรวมผู้คนและนักรบต่อสู้ขับไล่พม่าอย่างเด็ดเดี่ยวจนกอบกู้บ้านเมืองได้สำเร็จ จากนั้นก็ใช้เวลาอีก 15 ปี กรำศึกสงครามรวบรวมหัวเมืองต่างๆที่กระจัดกระจาย ขณะเดียวก็ต้องทำศึกใหญ่กับพม่าหลายครั้ง จนสร้างความเป็นปึกแผ่นแก่บ้านเมือง พร้อมกับทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาอย่างขนานใหญ่ พระองค์เป็นพุทธบริษัทที่ดี เมื่อว่างเว้นจากราชการแผ่นดิน พระองค์จะไปทรงศีลบำเพ็ญพระกรรมฐานที่วัดบางยี่เรือเป็นนิจ ตามนิพนธ์ของกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ประชุมพงศาวดารเล่ม 3 เรื่องไทยรบพม่า
ต่อมาในปี พ.ศ.2323 ทางเมืองเขมรเกิดกบฏขึ้นโดยการยุยง แทรกแซงของญวนฝ่ายองเชียงสือ เป็นการหากำลังและเสบียงขององเชียงสือ เพื่อทำสงครามแย่งชิงความเป็นใหญ่กับญวนฝ่ายราชวงศ์ไต้เชิง(เล้) ขณะเดียวกันในกรุงธนบุรีเอง องเชียงชุนหรือพระยาราชาเศรษฐีซึ่งเข้ามาสวามิภักดิ์ต่อพระเจ้าตาก ได้ก่อกบฏขึ้นในเดือนอ้าย พ.ศ.2324 หลังจากทำการปราบปรามกบฏสำเร็จในเดือนยี่ พระเจ้าตากได้พิจารณาเหตุการณ์ต่างๆ และทรงตัดสินพระทัยให้กองทัพไทยยกไปตีเมืองเขมรและไปรับมือญวนให้เด็ดขาดลงไป จึงทรงแต่งตั้งสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์ พระมหาอุปราช องค์รัชทายาทเป็นแม่ทัพใหญ่ แต่ตามพงศาวดารกล่าวว่า “ให้พระยาจักรีเป็นแม่ทัพใหญ่” ซึ่งตามประเพณีสงคราม กษัตริย์จะเป็นจอมทัพและจะแต่งตั้งผู้ที่ไว้วางพระทัยที่สุดเป็นแม่ทัพใหญ่ ซึ่งน่าจะเป็นองค์รัชทายาทมากกว่าพระยาจักรี และเจ้าพระยาจักรี(ด้วง)ที่ตามพงศาวดารบางฉบับอ้างว่าได้ยศเป็น เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกนั้น ชื่อนี้เกิดเป็นปัญหาขัดแย้งกันจนถึงปัจจุบันว่าไม่มียศดังกล่าวจริง และให้เจ้าพระยานครสวรรค์ เจ้าพระยาสุรสีห์(บุญมา น้องชายเจ้าพระยาจักรี)เป็นแม่ทัพรองๆลงมา ในครั้งนั้นแม่ทัพใหญ่พยายามรุดหน้าไปตามพระราชโองการ แต่ติดขัดที่แม่ทัพรองบางนายพยายามยับยั้ง เพื่อคอยฟังเหตุการณ์ทางกรุงธนบุรี ส่วนทางญวนซึ่งไม่ต้องการเผชิญศึก ๒ ด้าน ทั้งไทยและญวนราชวงศ์เล้ ได้แต่งทูตมาเจรจาลับกับแม่ทัพรองฝ่ายไทย ทางแม่ทัพรองตกลงจะช่วยเหลือองเชียงสือใน
อนาคต หากงานที่เตรียมไว้สำเร็จ ทางญวนได้ทำตามสัญญาด้วยการล้อมกองทัพมหาอุปราชองค์รัชทายาทอย่างหนาแน่น เปิดโอกาสให้แม่ทัพรองฝ่ายไทยยกกำลังกลับกรุงธนบุรี ตามบันทึกของ นายตันหยงทหารปืนใหญ่ พงศาวดารญวน เล่ม 2 หน้า378-382
เหตุการณ์ในกรุงธนบุรี เกิดมีผู้ยุยงชาวกรุงเก่าให้เกิดความเข้าใจผิดในพระเจ้าตากและชักชวนกบฏย่อยๆขึ้น จากนั้นก็ยกพลมาล้อมยิงพระนคร ขณะเดียวกันภายในกรุงธนบุรีเองก็มีคนก่อจลาจลขึ้นรับกับกบฏ พระเจ้าตากทรงบัญชาการรบจนถึงรุ่งเช้า จึงทราบว่าพวกกบฏเป็นคนไทยด้วยกันทั้งสิ้น ก็สลดสังเวชใจ เพราะพระทัยทรงตั้งอยู่ในธรรมปฏิบัติมุ่งโพธิญาณเป็นสำคัญ และทรงเห็นว่าหากการเปลี่ยนแปลงอำนาจนั้นไม่ก่อความเดือดร้อนแก่ชาวไทย พระองค์จะทรงหลีกทางให้ พวกกบฏจึงทูลให้ออกบวชสะเดาะเคราะห์สัก 3 เดือนแล้วค่อยกลับสู่ราชบัลลังก์ ขณะนั้นพระยาสรรคบุรี พระยารามัญวงศ์ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่ยังอยู่ในกรุงและมีความภักดีต่อพระเจ้าตาก เห็นเป็นการคับขัน จำต้องผ่อนคลายไปตามสถานการณ์
พระเจ้าตากสินฯตกลงเสด็จออกทรงผนวช วันอาทิตย์ เดือน 4 แรม 12 ค่ำที่วัดแจ้ง อันเป็นวัดในพระบรมมหาราชวัง (เช่นเดียวกับวัดพระแก้วมรกตในวังหลวงทุกวันนี้) ในการเสด็จออกทรงผนวชนี้ ความจริงหาขาดจากพระราชตำแหน่งไม่ เพราะมีกำหนดแน่นอน ว่าจะเสด็จนิวัติกลับสู่ราชบัลลังก์ ภายหลังเมื่อทรงผนวชแล้ว 3 เดือน ส่วนราชการบ้านเมืองก็มีข้าหลวงรักษาพระนครตามธรรมเนียม
พระเจ้าตากสินทรงผนวชแล้ว 12 วัน พระยาสุริยอภัย (ทองอิน) หลานเจ้าพระยาจักรี (ด้วง)
ซึ่งโปรดให้ออกไปเป็นเจ้าเมืองนครราชสีมา ยกทัพมาจากนครราชสีมา โดยมิได้รับพระบรมราชานุญาต
แต่ในพงศาวดารว่าเจ้าพระยาจักรี (ด้วง) ให้รีบยกเข้ามาฟังเหตุการณ์ในกรุงก่อน พวกกบฏมีนายบุนนาค หลวงสุระเป็นต้น เข้าสมทบกับพระยาสุริยอภัย (ทองอิน) กาลครั้งนั้นพระเจ้าหลานเธอ กรมขุนอนุรักษ์สงครามจึงระดมกำลังเท่าที่จะหาได้ในเวลานั้น รีบยกไปตีกองทัพพระยาสุริยอภัย (ทองอิน) ที่ตำบลบ้านปูน ณ วันอังคาร ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2325 เป็นเวลาภายหลังที่พระยาสุริยอภัย (ทองอิน) เดินทัพเข้ามาในกรุง และตั้งมั่นอยู่ 11 วัน แต่กำลังของกรมขุนอนุรักษ์สงครามไม่สามารถตีทำลายกองทัพพระยาสุริยอภัย (ทองอิน) ลงได้ตามความประสงค์ ต้องล่าถอยไปทางวัดยาง ในที่สุดถูกพวกพระยาสุริยอภัย (ทองอิน) จับได้ พระยาสุริยอภัย (ทองอิน)จึงขยายวงค่ายแผ่กว้างออกมา จนใกล้พระราชวังหลวง เมื่อกรมขุนอนุรักษ์สงครามถูกจับแล้ว 3 วัน พอเช้าวันที่ 6 เมษายน เจ้าพระยาจักรี (ด้วง) ก็รีบเดินกองทัพใหญ่มาถึงพระนคร ได้มีการสอบถามความเห็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เป็นจำนวนมาก ว่าเมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนี้แล้วจะควรทำอย่างไรต่อไป บรรดาข้าราชการที่ยังจงรักภักดีในพระองค์สมเด็จพระเจ้าตากสิน และเชื่อในพระราชปรีชาสามารถ ของพระองค์ ก็ยืนคำว่าควรไปกราบทูลอัญเชิญเสด็จ ขอให้ทรงลาผนวชออกมาครองราชสมบัติบริหารการแผ่นดินโดยด่วน ในเรื่องนี้ได้ความตามคำบอกเล่าจากเจ้านายบางองค์ในราชวงศ์จักรีว่า ข้าราชการพวกที่กล้าพูดเช่นนั้น ในที่สุดก็ถูกคุมตัวไปประหารชีวิตทั้งหมด ส่วนสมเด็จพระเจ้าตากก็ถูกปลงพระชนม์ในวันนั้นเอง ณ พระวิหารที่ประทับในวัดแจ้ง (คือวัดอรุณราชวราราม ปัจจุบันนี้) รวมวันตั้งแต่เสด็จออกทรงผนวช จนถึงวันถูกปลงพระชนม์ เป็น ๒๘ วัน โหรจดไว้ว่าดับขันธ์ ไม่ใช้คำว่าสิ้นพระชนม์หรือสวรรคต ก็เพื่อยืนยันว่า พระองค์ท่านถูกปลงพระชนม์ทั้งที่ทรงเพศเป็นพระภิกษุ จึงใช้คำว่าดับขันธ์ เพื่อให้เข้าใจว่ามิได้สวรรคต เมื่อลาผนวชออกมา ความจริงพระองค์ดำรงสมณเพศจนตลอดพระชนม์ชีพเมื่อการปลงพระชนม์เสร็จเรียบร้อยแล้ว เชิญพระศพไปฝังไว้ที่วัดอินทาราม บางยี่เรือ ใกล้ตลาดพลู คลองบางหลวง (เวลานั้นยังเรียกวัดบางยี่เรือ) บรรดาศพข้าราชการที่จงรักภักดีในพระองค์ มีเจ้าพระยานครราชสีมา (บุญคง ต้นสกุลกาญจนาคม) พระยาสรรค์ (บรรพบุรุษสกุลแพ่งสภา) พระยารามัญวงศ์ (ต้นสกุลศรีเพ็ญ) พระยาพิชัยดาบหัก (ทองดี ต้นสกุลวิชัยขัทคะ และพิชัยกุล) เป็นต้น จำนวนมากกว่า 50 นาย ก็ถูกฝังเรียงรายใกล้พระศพสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชนั้น
ฝ่ายพระราชวงศ์ของพระเจ้าตากสินที่ยังเหลือ ถ้าเป็นเจ้าชายชั้นทรงพระเจริญวัยก็ถูกจับปลงพระชนม์หมด เอาไว้แต่ที่ทรงพระเยาว์ และเจ้าหญิง ถอดพระยศออกแล้วเรียกว่าหม่อม เหมือนกันทุกพระองค์ แม้จนกระทั่งสมเด็จพระราชินี และสมเด็จพระน้านาง เป็นการถอดอย่างที่ไม่เคยมีมา ฝ่ายเจ้าพระยาอินทวงศา อัครมหาเสนาธิบดีฝ่ายกลาโหม ขณะนั้นตั้งวังปราบบัญชาการทัพอยู่ที่ปากพระ ใกล้เมืองถลาง ทราบว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินฯถูกปลงพระชนม์แล้ว ก็ฆ่าตัวตายตามเสด็จ เพราะไม่ยอมเป็นข้าคนอื่น
พระเจ้าตากก็ถูกปลงพระชนม์ทั้งที่ทรงเพศพระภิกษุในวันนั้นเอง ณ พระวิหารที่ประทับในวัดแจ้งและอัญเชิญพระศพไปฝังที่วัดอินทรารามบางยี่เรือ ใกล้ตลาดพลู คลองบางหลวง ส่วนราชวงศ์ที่เป็นชายและเจริญวัยทั้งหมดถูกจับปลงพระชนม์หมด นอกนั้นให้ถอดพระยศ แม้กระทั่งสมเด็จพระราชินีและสมเด็จพระน้านาง เป็นการถอดอย่างที่ไม่เคยมีมา ตามเอกสารกรมศิลปากร หนังสือไทยต้องจำ และลำดับสกุลเก่า ภาค 4 พิมพ์ครั้งที่ 2 เมื่อข่าวนี้ทราบไปถึงเจ้าพระยาอินทวงศา อัครมหาเสนาบดีฝ่ายกลาโหมซึ่งตั้งบัญชาการทัพอยู่ที่ปากพระใกล้เมืองถลาง ก็ได้ฆ่าตัวตายตามเสด็จ เพราะไม่ยอมเป็นข้าคนอื่น
ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ กล่าวถึงวาระสุดท้ายของพระเจ้าตากสินมหาราชไว้ในหนังสือ”การเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี” ว่า " ( พระพุทธยอดฟ้าฯ) จึงมีรับสั่งให้เอาไปประหารชีวิตสำเร็จโทษเสีย เพชฌฆาตกับผู้คุม ก็ลากเอาตัวขึ้นแคร่หามไปกับทั้งสังขลิกพันธนาการ/เครื่องจองจำ-โซ่ตรวน เจ้าตากสินจึงว่าแก่ผู้คุมเพชฌฆาตว่า ตัวเราก็สิ้นบุญจะถึงที่ตายแล้ว ช่วยพาเราแวะเข้าไปหาท่านผู้สำเร็จราชการ จะขอเจรจาด้วยสักสองสามคำ ผู้คุมก็ให้หามเข้ามา ครั้น ( พระพุทธยอดฟ้าฯ)ได้ทอดพระเนตร จึ่งโบกพระหัตถ์มิให้นำมาเฝ้า ผู้คุมแลเพชฌฆาตก็ให้หามออกไปนอกพระราชวัง ถึงหน้าป้อมวิชัยประสิทธิ์ ก็ประหารชีวิตตัดศีรษะเสีย ถึงแก่พิราลัย จึ่งรับสั่งให้เอาศพไปฝัง ณ วัดบางยี่เรือใต้"
ขณะที่ปรีดา ศรีชลาลัย กล่าวถึงวาระสุดท้ายของพระเจ้าตากสินฯไว้ในบทความเรื่อง”ปีสุดท้ายของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช”ในนิตยสารศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนธันวาคม 2524 ว่า”สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชถูกปลงพระชนม์ ณ พระวิหารที่ประทับในวัดแจ้ง (คือวัดอรุณราชวราราม ปัจจุบันนี้) รวมวันตั้งแต่เสด็จออกทรงผนวชจนถึงวันถูกปลงพระชนม์ เป็น 28 วัน โหรจดไว้ว่าดับขันธ์ ไม่ใช้คำว่าสิ้นพระชนม์ หรือสวรรคต ก็เพื่อยืนยันว่า พระองค์ท่านถูกปลงพระชนม์ทั้งที่ทรงเพศเป็นพระภิกษุ จึงใช้คำว่าดับขันธ์ เพื่อให้เข้าใจว่ามิได้สวรรคตเมื่อลาผนวชออกมา ความจริงพระองค์ดำรงสมณเพศจนตลอดพระชนม์ชีพ เมื่อการปลงพระชนม์เสร็จเรียบร้อยแล้ว เชิญพระศพไปฝังไว้ที่วัดอินทาราม บางยี่เรือ ใกล้ตลาดพลู คลองบางหลวง (เวลานั้นยังเรียกวัดบางยี่เรือ)”
เมื่อข่าวการปลงพระชนม์พระเจ้าตากแพร่ออกไป เมืองตะนาวศรีและเมืองมะริดอันเป็นเมืองสำคัญทางตะวันตก ก็ตกไปเป็นของพม่าในปีนั้นเองและเนื่องจากพันธะสัญญาที่ทำไว้กับญวนอย่างลับๆ ไทยจึงต้องช่วยญวน
ฝ่ายองเชียงสือรบกับญวนฝ่ายราชวงศ์เล้ถึง 2 ครั้ง รวมทั้งการช่วยอาวุธยุทธภัณฑ์อีกนับไม่ถ้วน พอครั้นญวนฝ่ายองเชียงสือมีกำลังกล้าแข็งขึ้น ไทยกลับต้องเสียเมืองพุทไธมาศและผลประโยชน์อีกมากมายแก่ญวนไป จากหนังสือนายหยงทหารปืนใหญ่ พงศาวดารญวนเล่ม 2 หน้า 294,518 และกรมศิลปากร หนังสือไทยต้องจำ เรื่องของความเสียหายทั้งหมดนี้ เกิดจากพวกกบฏที่นำโดยพระยาจักรีนั่นเอง
ด้วยความเหิมเกริมทะยานอยากได้อำนาจสูงสุด เจ้าพระยาจักรีจึงเป็นกบฏ ทรยศต่อพระเจ้าตาก กษัตริย์ผู้กู้ชาติไทย กระทำการเข่นฆ่าล้างโคตรอย่างโหดเหี้ยม อำมหิตที่สุด ซ้ำยังเสริมแต่งใส่ร้ายพระเจ้าตาก ว่าวิปลาสบ้าง กระทำการมิบังควรแก่สงฆ์บ้าง วิกลจริตในการบริหารราชการบ้าง จากนั้นพระยาจักรีก็ตั้งตนเป็นกษัตริย์องค์ใหม่ และเริ่มสร้างพระราชวังใหม่ที่ฟากตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาอันเป็นจุดเริ่มต้นของการสถาปนาราชวงศ์ใหม่คือราชวงศ์จักรี และด้วยความโหดร้ายบนเลือดเนื้อและชีวิตของกษัตริย์ในเพศพระภิกษุ ประเด็นวิกลจริตของพระเจ้าตาก อาจารย์ขจร สุขพานิช ได้เคยสัมภาษณ์ในวิทยาสารปีที่ 22 ฉบับที่ 32 ประจำวันที่22 สิงหาคม 2514 กล่าวว่า “มีหลักฐานเป็นเอกสารภาษาฝรั่งเศส ซึ่งบาทหลวงในสมัยนั้นเขียนไว้ว่า ท่านเป็นบางครั้งบางคราวเท่านั้น เช่น เมื่อครั้งหนึ่งรับสั่งให้บาทหลวงเข้าเฝ้า แล้วตรัสว่า “นี่แก ฉันจะเหาะแล้วนะ” บาทหลวงทูลว่า “ไม่เชื่อ” ท่านก็ว่า “ฮื้อ ไอ้นี่ ขัดคอซะเรื่อย”พร้อมทั้งหัวเราะหรือทรงพระสรวล แล้วก็ไล่ออกไปไม่ได้เฆี่ยนตีอะไร คือบ้าทั้ง 24 ชั่วโมงนั้นไม่ใช่ แค่เป็นบางครั้ง นี่เป็นข้อเท็จจริง แต่อาจารย์ขจร สุขพานิช ท่านไม่เขียนเป็นตำรา เพราะถ้าเขียนแล้วเป็นผลร้ายต่ออนาคต ท่านจึงไม่เขียน
หลักฐานทางประวัติศาสตร์ก็ชี้ว่าพระองค์ถูกพระพุทธยอดฟ้าฯสั่งให้สำเร็จโทษเพื่อปราบดาภิเษกราชวงศ์ใหม่ และมีการกำจัดเสี้ยนหนามตามมาอีกหลายระลอก
กรณีของพระเจ้าตากสินมหาราชนั้นนับว่าประหลาดไปจากกรณีอื่น คือการช่วงชิงอำนาจทางการเมืองนั้น ไม่ได้เกิดขึ้นในขณะที่พระเจ้าแผ่นดินองค์ก่อนสวรรคตลง แล้วเกิดปัญหาการสืบราชสมบัติ และการถูกประหารชีวิตนั้นกรณีอื่นๆมีการจับสึกจากสมณเพศก่อน แต่ในกรณีพระเจ้าตากสินนั้นอาจเป็นไปได้ว่าถูกสั่งสำเร็จโทษประหารชีวิตด้วยการตัดพระเศียร ขณะที่ดำรงสมณเพศอยู่ก็เป็นได้
ตามตำราประวัติศาสตร์ที่ชำระขึ้นในหลังรัชสมัยของพระองค์นั้น พระเจ้าตากสินฯถูกกล่าวหาว่าขณะออกบวชได้มีพระสัญญาหรือสติวิปลาสฟั่นเฟือนถึงขั้นสั่งให้พระภิกษุสงฆ์กราบไหว้ โดยอ้างว่าพระองค์ได้บรรลุโสดาบัน หากพระสงฆ์ไม่ยอมกราบไหว้ก็ให้ลงโทษด้วยการเฆี่ยนตี ซึ่งเรื่องนี้นับเป็นข้อกล่าวหาที่ร้ายแรงมากในสมัยนั้น และเป็นการอธิบายความชอบธรรมในการสำเร็จโทษพระองค์ และอธิบายความชอบธรรมทางการเมืองให้พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์ และสถาปนาราชวงศ์ใหม่ คือราชวงศ์จักรี
ปรีดา ศรีชลาลัยนำเสนอว่า ปฐมเหตุนั้นมาจากการที่เกิดความวุ่นวายทางการเมืองของเวียดนาม เมื่อพวกกบฏไตเซินได้ก่อการรัฐประหารต่อพระเจ้าเวียดนามยาลอง พ่ายแพ้ถอยร่นลงมาทางใต้ แล้วหวังจะได้กำลังฝ่ายเขมรเข้ามาช่วยสู้รบ จึงเข้าไปแทรกแซงการเมืองเขมร ซึ่งเป็นประเทศราชของไทย พระเจ้าตากสินจึงโปรดเกล้าให้สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์ พระมหาอุปราช องค์รัชทายาทเป็นแม่ทัพใหญ่ เจ้าพระยาจักรี(ด้วง) เจ้าพระยานครสวรรค์ เจ้าพระยาสุรสีห์(บุญมา น้องชายเจ้าพระยาจักรี ด้วง)และพระเจ้าหลานเธอ กรมขุนรามภูเบศ เหล่านี้เป็นแม่ทัพรองๆลงมา ไปจัดการปราบ และเพื่อมิให้ญวนลุกลามเข้ามายึดเมืองเขมรเป็นที่มั่น โดยโปรดให้กองทัพไทยออกไปในเดือนยี่ ปีฉลู ตรงกับพ.ศ.2324
แทนที่จะจัดการปัญหาได้ตามแผน ปรีดา ศรีชลาลัย ได้อ้างถึงพงศาวดารญวน ฉบับนายหยงทหารปืนใหญ่ แปล (เล่ม 2 หน้า 378)ว่า เรื่องผิดคาดหมด เพราะกองทัพไทยที่ยกออกไปครั้งนั้นทำงานต่างกัน แม่ทัพใหญ่พยายามจะรุดหน้าไป ฝ่ายแม่ทัพรองบางนายหาทางยับยั้งเสีย เพื่อหน่วงคอยฟังเหตุการณ์ทางกรุงธนบุรี เวลานั้นญวนได้ส่งกองทหารเข้าไปช่วยอยู่ในเมืองเขมรบ้าง แต่ไม่มากนัก ว่ากันตามส่วนกำลังที่ทั้งสองฝ่ายมีและจะต้องสู้กันอย่างแตกหัก อย่างไรเสียก็ควรจะหวังได้ว่ากองทัพไทยต้องทำงานได้ผลดีเป็นแน่ หากงานที่ทำนั้นไม่มีเรื่องอื่นเข้าแทรกแซง เพราะฝ่ายญวนอ่อนเต็มทีแล้ว ย่อมจะต้องการหย่าศึกกับไทยมากกว่า เพราะญวนมีภาระจะต้องสู้รบกับพวกราชวงศ์เล้(กบฏไตเซิน) ซึ่งกำลังตีรุกลงมาจากทางเหนืออย่างรุนแรง ถ้าขืนรบกับไทยเข้าอีก จะถูกตีกระหนาบสองหน้า อาจถึงเหลวแหลกหมดทางตั้งตัว เพราะฉะนั้นเพื่อหาทางดีกับไทย แม่ทัพญวนชื่อเหงวียงหึวถว่าย จึงลอบแต่งทูตมาทาบทามทางแม่ทัพรองฝ่ายไทย
พงศาวดารญวน เล่ม 2 หน้า 382 บันทึกไว้ว่านับเป็นโชคดีของญวน เป็นอันสมประสงค์ของแม่ทัพญวนโดยง่ายดาย เพราะว่าแม่ทัพรองฝ่ายไทยก็ต้องการจะให้กองทัพญวนและเขมรร่วมมือในทางลับอยู่เหมือนกัน และท่านแม่ทัพรองฝ่ายไทยก็ยินดีจะช่วยกำลังแก่ญวนตามสมควรในโอกาสต่อไป เมื่อทำงานลับเสร็จสมหมายแล้ว แม่ทัพญวนกับแม่ทัพรองฝ่ายไทยได้ลอบทำสัญญาลับทางทหารต่อกัน ฝ่ายแม่ทัพญวนหักกระบี่และคันธงออกเป็น ๒ ท่อน แล้วแบ่งให้ไว้ฝ่ายละครึ่งตามธรรมเนียม เพื่อเป็นเครื่องหมายในการทำสัญญา ต่อจากนั้น แม่ทัพรองฝ่ายไทยก็ให้ญวนล้อมกองทัพสมเด็จพระมหาอุปราช เจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์ และทัพพระเจ้าหลานเธอ กรมขุนรามภูเบศ ไว้อย่างแน่นหนา ตรึงทัพทั้งสองมิให้เคลื่อนที่ได้ ส่วนตนรีบเดินทัพย้อนกลับมากรุงธนบุรีโดยด่วน
ส่วนทางด้านกรุงธนบุรี มีผู้ยุยงชาวกรุงเก่าให้เกิดเข้าใจผิดในสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ และชักชวน
ทำการกบฏย่อยๆขึ้น ผู้ยุยงตัวสำคัญซึ่งแอบขึ้นไปตั้งทำการยุที่กรุงเก่า มี 3คน คือ นายบุนนาค, หลวงสุระ,
หลวงชะนะ รวบรวมผู้คนตั้งเป็นกองรบเข้ารุมทำร้ายผู้รักษากรุงเก่า แล้วเดินทางมายังกรุงธนบุรี
ในเดือน 4 แรม 11 ค่ำ ถึงกรุงธนบุรีในตอนดึก ก็เริ่มยิงพระนครทันที ยังมีพวกกบฏแอบแฝงซ่องสุมอยู่ในกรุงธนบุรีอีก มีหลวงสรวิชิต (หน) เป็นต้น ก็ก่อการจลาจลขึ้นรับกับพวกกบฏที่ยกมาจากกรุงเก่า
ในชั้นต้น พวกกบฏขอให้พระสงฆ์เข้าไปถวายพระพร ทูลขอให้พระองค์เสด็จออกทรงผนวช
เพื่อสะเดาะพระเคราะห์เมืองสัก 3 เดือน สมเด็จพระเจ้าตากสินฯทรงรับคำทูล โปรดให้ข้าราชการผู้ใหญ่
ปรึกษาดูตามความสมควร เวลานั้นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่มีพระยาสรรคบุรี (บรรพบุรุษแห่งสกุลแพ่งสภา)
พระยารามัญวงศ์ (มะซอน บรรพบุรุษแห่งสกุลศรีเพ็ญ) เป็นต้น ล้วนแต่ซื่อสัตย์จงรักภักดีในพระองค์อย่างยิ่งยวด ข้าราชการเหล่านั้นคงจะได้คำนึงถึงกำลังส่วนใหญ่ที่ต้องส่งออกไปภาคตะวันออก จะทำผลีผลามลงไปในขณะนี้ ฉวยว่ามีการผันแปรต่างประเทศด้านอื่นเกิดขึ้นแทรกแซง จะเรียกกำลังจากภาคตะวันออกกลับมาไม่ทันท่วงที อีกประการหนึ่งพวกราษฎรก็ถูกปลุกปั่นให้เข้าใจผิด ความเข้าใจผิดอาจลุกลามไปมาก ในเมื่อไม่รีบหาทางแก้ไขเสียแต่ในชั้นต้น ฉะนั้นควรจะมีทางมองเห็นทางเดียวที่ควรกระทำก่อน คือขอให้ทรงยอมตามความประสงค์ ดังที่พวกกบฏขอให้พระสงฆ์ทูลแล้วนั้น
พระราชประวัติของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชนั้น หากอ่านหลาย ๆ เล่ม ก็ไม่ค่อยจะตรงกันนักยิ่งตอนสุดท้ายว่าถูกประหารชีวิตหรือไม่ ยิ่งแตกต่างกันออกไป เพราะที่นครศรีธรรมราชที่วัดเขาขุนพนม ที่บอกว่าประทับอยู่ที่วัดนี้ส่วนคนที่ถูกประหารชีวิตนั้น เพียงแต่เป็นคนที่ยอมสละชีพเพื่อท่าน ส่วนท่านถูกพาหนีไปนครศรีธรรมราช บางเล่มก็ว่าพระเจ้าตากสินไม่ได้ตาย เพราะเป็นพระราชประสงค์ของพระเจ้าตากสินที่สร้างเรื่องเพราะไปกู้ยืมเงินจากจีนมาทำสงครามกู้ชาติ จึงไม่ต้องการใช้หนี้จีนโดยทำเป็นว่าเสียสติแล้วให้พระยาจักรีแสร้งทำเรื่องแย่งราชบัลลังค์ แต่ทำไมพระยาจักรีจึงต้องสั่งประหารชีวิตแม่ทัพนายกองอีกเป็นจำนวนมากรวมทั้งลูกหลานและพระญาติพระวงศ์ของพระเจ้าตาก จะเหลือไว้แต่เพียงเด็กๆไม่กี่คน ซึ่งก็ต้องถูกประหารจนหมดในสมัยรัชกาลที่สอง เป็นการฆ่าล้างโคตร หรือที่เรียกว่า ตัดหวายอย่าไว้หน่อ ฆ่าพ่ออย่าไว้ลูก
ประเทศไทยปกครองด้วยระบบศักดินามานานหลายร้อยปี พวกเจ้าศักดินาจะครองบ้านครองเมือง ตั้งตนเป็นเจ้าของที่ดินทั้งที่ตนไม่เคยออกแรงถางป่าพันไร่ มีอำนาจเป็นเจ้าเหนือหัวเหนือชีวิตผู้คนในบ้านเมือง ดังที่พวกเรารู้จักกันในนามพระมหากษัตริย์, พระราชา, พระเจ้าแผ่นดิน, พระเจ้าอยู่หัว ซึ่งชื่อของเขาได้บ่งถึงความยิ่งใหญ่คับฟ้าอยู่ในตัว ข้าราชบริพารและไพร่ฟ้าประชาราษฎรต่างต้องทำมาหากินเป็นชาวนาชาวไร่ ไม่มีใครเป็นอิสระ ต้องเป็นไพร่ติดที่ดินสังกัดเจ้าศักดินาคนใดคนหนึ่ง ปีหนึ่งๆไพร่ชายที่มีอายุ18 ปีขึ้นไปต้องถูกเกณฑ์แรงงานถึง 6 เดือน คือเข้าเดือนเว้นเดือนโดยไม่มีค่าตอบแทนแม้แต่สตางค์แดงเดียว ซ้ำยังต้องนำข้าวไปกินเอง ทุกคนต้องเป็นข้ารับใช้แรงงาน ไปรบ ไปทำอะไรต่อมิอะไร แม้แต่ไปตายตามที่เจ้าศักดินาสั่ง ต้องทำเช่นนี้จนถึงอายุ 60 ปีจึงจะเป็นไท ชีวิตไพร่จึงเหมือนวัวควายที่พูดได้ จะอยู่จะตายขึ้นอยู่กับคำสั่งของเจ้านาย หากเจ้าศักดินา ยกที่ดินให้ใครไพร่ติดที่ดินนั้นก็ต้องไปขึ้นกับเจ้าศักดินาคนใหม่ทันที
นอกจากนั้นการเพาะปลูกของไพร่ยังต้องถูกเรียกเก็บภาษี ถูกรีดอากรในรูปของเงินและพืชผลอีกหลายประเภท พวกเขาต้องมีชีวิตอยู่อย่างยากแค้น ต้องทำงานหนักหน่วงไม่เพียงเพื่อเลี้ยงตนเองและครอบครัว
แต่ยังต้องเลี้ยงเจ้าศักดินาของตน แท้ที่จริงชีวิตของชาวไทยทุกคนมีไว้เพื่อเลี้ยงดูเจ้าศักดินาทั้งสิ้น
ใครที่ทนไม่ได้ก็จะหนีไปอยู่ป่าอยู่ดง ไปให้ไกลๆพ้นจากเงื้อมมือการปกครองของพวกเขา คนประเภทนี้เจ้าศักดินาจะไม่รับรองความเป็นคน จะไม่มีสิทธิฟ้องร้อง ร้องเรียนต่อบ้านเมือง ดังได้ตราไว้ในกฎหมายตั้งแต่กรุงศรีอยุธยาและถอดแบบเป็นกฎหมายตราสามดวงในยุคกรุงรัตนโกสินทร์ หากคนพวกนี้ถูกค้นพบจะถูกสักข้อมือกลายเป็นไพร่หลวง คือข้ารับใช้ของเจ้าแผ่นดินทันที
ชีวิตของพวกศักดินาจำนวนหยิบมือหนึ่งนี้อยู่กันอย่างฟุ้งเฟ้อหรูหรา กินทิ้งกินขว้าง เสพสุขโดยไม่ออกแรงทำงานใดๆทั้งสิ้น ซ้ำยังดูถูกการใช้แรงงานเป็นสิ่งต่ำต้อยหยาบช้า ขณะที่พวกเขาเฝ้าเสพเมถุนเช้ายันค่ำโดยไม่ใยดีว่าเป็นลูกเต้าและเมียใคร แล้วกลับยกย่องสรรเสริญหญิงนั้นว่ามีบุญวาสนาสูงส่งจึงได้บำเรอเจ้าศักดินา หลายยุคหลายแผ่นดินที่ผ่านมา พวกเขายังคงเสวยสุขบนน้ำตา เลือดเนื้อและความขมขื่นของไพร่ฟ้าชาวไทยทั้งหลาย
การที่ระบบศักดินายืนยงอยู่ได้ยาวนาน สาเหตุที่สำคัญอันหนึ่งคือ การสร้างความนิยมชมชอบให้เกิดขึ้นโดยอาศัยบรรดาสิ่งศักดิ์สิทธิ์จากสิ่งที่ผู้คนศรัทธาเชื่อถืออยู่แล้ว เช่น แอบอิงพระพุทธศาสนา ด้วยการโอ้อวดว่า กษัตริย์คือพระโพธิสัตว์ซึ่งจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ดังที่ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ“เรื่องการปกครองของประเทศสยามโบราณ” เพื่อหลอกลวงผู้อื่นให้เข้าใจว่า การปกครองของกษัตริย์นั้นชอบธรรมและทั้งๆที่ไม่มีข้อความใดในพระไตรปิฎก ทั้ง84,000พระธรรมขันธ์จะรับรองว่ากษัตริย์คือพระโพธิสัตว์เลย พวกเขาก็ยังยืนยันเรียกกษัตริย์ว่า “พระพุทธเจ้าอยู่หัว” ซึ่งเป็นพระนามอันมีไว้เฉพาะพระพุทธองค์ และเรียกลูกกษัตริย์ว่า “หน่อพุทธางกูร” อันหมายถึง ผู้ที่จะได้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตข้างหน้า ซึ่งเป็นการนำเอาพระนามของพระศาสดาอันประเสริฐที่สุดองค์หนึ่งมาใช้โดยปราศจากความเคารพ เช่น รัชกาลที่ 1 ซึ่งพวกเจ้าศักดินารุ่น “ร.ศ.200” พยายามจะยกขึ้นเป็นมหาราช ถึงกับได้รับคำสรรเสริญจากศักดินาด้วยกันที่แต่งหนังสือเทศนาจุลยุทธการวงศ์ว่า “พระองค์เป็นพงศ์พุทธางกูรทรงบำเพ็ญพุทธการจริยา...”
นอกจากแอบอิงพระพุทธศาสนาแล้ว ยังแอบอิงความเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ยึดถือกันมานานได้อย่างวิจิตรพิสดารนั่นก็คือ การที่พวกศักดินาถือว่ากษัตริย์เป็นเทวดาตั้งแต่ขณะที่มีชีวิตอยู่ จึงสร้างราชาศัพท์ซึ่งมีไว้ใช้เฉพาะกับกษัตริย์และราชนิกุลทั้งหลาย และมีการตั้งกฎเกณฑ์ต่างๆอันทำให้แลดูว่ากษัตริย์สูงส่งกว่ามนุษย์ทั่วไป เช่น ห้ามมองดูกษัตริย์ โดยอ้างว่าถ้ามนุษย์มองดูพระเจ้าก็เหมือนมองพระอาทิตย์ กษัตริย์จะไม่ยอมให้เท้าเหยียบแผ่นดินโดยไม่ใส่รองเท้า โดยอ้างว่าเท้าของเทวดาย่อมร้อน ถ้าเหยียบแผ่นดินแล้วไฟจะไหม้โลก ( ดังที่ มรว. คึกฤทธิ์ ปราโมช เขียนไว้ในหนังสือเรื่อง ”สถาบันกษัตริย์” ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, 2523 ) นอกจากนี้ในหนังสือเล่มดังกล่าวยังเขียนไว้ว่าห้ามแตะต้องกษัตริย์ ผู้ที่มีสิทธิ์ถูกต้องตัวกษัตริย์ได้จึงมีแต่ช่างตัดผมและนางบำเรอของกษัตริย์เท่านั้น
ไม่เพียงเท่านี้ เจ้าศักดินายังแต่งตำนานโกหกพกลม โดยอ้างกฎแห่งกรรมมาบิดเบือนว่า พวกตนมีบุญญาธิการสูงส่งหาผู้ใดเปรียบเปรยมิได้ ชาตินี้จึงเกิดมาได้เป็นเจ้าแผ่นดิน ลูกท่านหลานเธอ จึงได้เสวยสุขบรมสุข มีอำนาจเหนือหัวผู้คนทั้งหลาย แท้ที่จริงพระพุทธองค์ไม่เคยตรัสเช่นนั้นเลย ดังจะเห็นได้จากการที่พระพุทธองค์ทรงย้ำว่า คนเราแตกต่างกันเพราะการกระทำหาใช่ชาติกำเนิด และพระพุทธองค์ไม่เคยยอมรับเลยว่า กษัตริย์นั้นมีบุญมากกว่าผู้อื่นแต่อย่างใด
ประวัติศาสตร์ไทยที่เราท่านเล่าเรียนและรับฟังกันมา มิได้สะท้อนความเป็นจริงแห่งการดำรงชีพของคนไทยและความเป็นจริงของเหตุการณ์ในแผ่นดินอย่างตรงไปตรงมา เนื้อหาส่วนใหญ่กลับเป็นเรื่องบิดเบือนและปิดหูปิดตาไม่ให้ผู้คนรู้ความจริง ประวัติศาสตร์ไทยกลายเป็นตำนานของการสืบสันตติวงศ์ เป็นการยกย่องกษัตริย์ให้ผิดมนุษย์ธรรมดา ทำให้ผู้คนหลงเชื่อว่า กษัตริย์คือเทพเจ้าอยู่เหนือคำตำหนิใดๆของมนุษย์ เมื่อกล่าวถึงกษัตริย์จะมีแต่ส่วนดีงามและการยกย่องสรรเสริญเท่านั้นทั้งๆที่กิจวัตรของกษัตริย์และราชนิกุลทั้งหลายก็เฉกเช่นคนสามัญ ที่ประกอบคละเคล้ากันไปด้วยส่วนที่ดีงามควรแก่การสรรเสริญ กับส่วนที่เลวร้ายควรแก่การตำหนิวิจารณ์ ฉะนั้นการที่มีแต่สรรเสริญถ่ายเดียวและห้ามเอ่ยถึงส่วนที่เสียแม้แต่น้อยเพื่อการประจบสอพลอโฆษณาชวนเชื่อ จึงเป็นหนทางแห่งการเสื่อมถอยมากกว่าเป็นเรื่องดี โดยเฉพาะในยุคปัจจุบันที่การศึกษา ความรับรู้ของมนุษย์ได้ก้าวไปไกลมาก อีกทั้งสังคมก็มีสิทธิเสรีภาพ ข้อยึดปฏิบัติที่เคยใช้บังคับประชาชนเกี่ยวกับกษัตริย์จึงเป็นเรื่องล้าหลังอย่างยิ่ง เพราะการศึกษาค้นคว้า ทำให้เราทราบข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ว่าใครถูกผิด ใครดีชั่ว อีกประการหนึ่งปุถุชนวิสัยมีความอยากรู้อยากเห็น ยิ่งบิดเบือนมากเสียงซุบซิบก็จะหนาหูขึ้น ดังเช่นในยุคปัจจุบันที่ผู้คนวงการต่างๆนำเรื่องในรั้วในวังมาเล่าลืออย่างกว้างขวาง และเป็นหน้าที่ของนักประวัติศาสตร์ที่จะได้เปิดให้เห็นโฉมหน้าอันแท้จริงของเจ้าศักดินาไทยให้ประจักษ์ชัดต่อประชาชนไทย ยกตัวอย่างการสมคบกันวางแผนปล้นราชบัลลังก์และสั่งปลงพระชนม์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชองค์พระมหากษัตริย์ผู้ทรงกอบกู้เอกราชของชาติไทยจากพม่า ดังจะกล่าวในตอนต่อไปนี้
พระเจ้าตากสินมหาราช กษัตริย์ผู้กอบกู้บ้านเมือง
หลังกรุงศรีอยุธยาเสียกรุงแก่พม่าในปี พ.ศ.2310 พระเจ้าตากสินได้รวบรวมผู้คนและนักรบต่อสู้ขับไล่พม่าอย่างเด็ดเดี่ยวจนกอบกู้บ้านเมืองได้สำเร็จ จากนั้นก็ใช้เวลาอีก 15 ปี กรำศึกสงครามรวบรวมหัวเมืองต่างๆที่กระจัดกระจาย ขณะเดียวก็ต้องทำศึกใหญ่กับพม่าหลายครั้ง จนสร้างความเป็นปึกแผ่นแก่บ้านเมือง พร้อมกับทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาอย่างขนานใหญ่ พระองค์เป็นพุทธบริษัทที่ดี เมื่อว่างเว้นจากราชการแผ่นดิน พระองค์จะไปทรงศีลบำเพ็ญพระกรรมฐานที่วัดบางยี่เรือเป็นนิจ ตามนิพนธ์ของกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ประชุมพงศาวดารเล่ม 3 เรื่องไทยรบพม่า
ต่อมาในปี พ.ศ.2323 ทางเมืองเขมรเกิดกบฏขึ้นโดยการยุยง แทรกแซงของญวนฝ่ายองเชียงสือ เป็นการหากำลังและเสบียงขององเชียงสือ เพื่อทำสงครามแย่งชิงความเป็นใหญ่กับญวนฝ่ายราชวงศ์ไต้เชิง(เล้) ขณะเดียวกันในกรุงธนบุรีเอง องเชียงชุนหรือพระยาราชาเศรษฐีซึ่งเข้ามาสวามิภักดิ์ต่อพระเจ้าตาก ได้ก่อกบฏขึ้นในเดือนอ้าย พ.ศ.2324 หลังจากทำการปราบปรามกบฏสำเร็จในเดือนยี่ พระเจ้าตากได้พิจารณาเหตุการณ์ต่างๆ และทรงตัดสินพระทัยให้กองทัพไทยยกไปตีเมืองเขมรและไปรับมือญวนให้เด็ดขาดลงไป จึงทรงแต่งตั้งสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์ พระมหาอุปราช องค์รัชทายาทเป็นแม่ทัพใหญ่ แต่ตามพงศาวดารกล่าวว่า “ให้พระยาจักรีเป็นแม่ทัพใหญ่” ซึ่งตามประเพณีสงคราม กษัตริย์จะเป็นจอมทัพและจะแต่งตั้งผู้ที่ไว้วางพระทัยที่สุดเป็นแม่ทัพใหญ่ ซึ่งน่าจะเป็นองค์รัชทายาทมากกว่าพระยาจักรี และเจ้าพระยาจักรี(ด้วง)ที่ตามพงศาวดารบางฉบับอ้างว่าได้ยศเป็น เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกนั้น ชื่อนี้เกิดเป็นปัญหาขัดแย้งกันจนถึงปัจจุบันว่าไม่มียศดังกล่าวจริง และให้เจ้าพระยานครสวรรค์ เจ้าพระยาสุรสีห์(บุญมา น้องชายเจ้าพระยาจักรี)เป็นแม่ทัพรองๆลงมา ในครั้งนั้นแม่ทัพใหญ่พยายามรุดหน้าไปตามพระราชโองการ แต่ติดขัดที่แม่ทัพรองบางนายพยายามยับยั้ง เพื่อคอยฟังเหตุการณ์ทางกรุงธนบุรี ส่วนทางญวนซึ่งไม่ต้องการเผชิญศึก ๒ ด้าน ทั้งไทยและญวนราชวงศ์เล้ ได้แต่งทูตมาเจรจาลับกับแม่ทัพรองฝ่ายไทย ทางแม่ทัพรองตกลงจะช่วยเหลือองเชียงสือใน
อนาคต หากงานที่เตรียมไว้สำเร็จ ทางญวนได้ทำตามสัญญาด้วยการล้อมกองทัพมหาอุปราชองค์รัชทายาทอย่างหนาแน่น เปิดโอกาสให้แม่ทัพรองฝ่ายไทยยกกำลังกลับกรุงธนบุรี ตามบันทึกของ นายตันหยงทหารปืนใหญ่ พงศาวดารญวน เล่ม 2 หน้า378-382
เหตุการณ์ในกรุงธนบุรี เกิดมีผู้ยุยงชาวกรุงเก่าให้เกิดความเข้าใจผิดในพระเจ้าตากและชักชวนกบฏย่อยๆขึ้น จากนั้นก็ยกพลมาล้อมยิงพระนคร ขณะเดียวกันภายในกรุงธนบุรีเองก็มีคนก่อจลาจลขึ้นรับกับกบฏ พระเจ้าตากทรงบัญชาการรบจนถึงรุ่งเช้า จึงทราบว่าพวกกบฏเป็นคนไทยด้วยกันทั้งสิ้น ก็สลดสังเวชใจ เพราะพระทัยทรงตั้งอยู่ในธรรมปฏิบัติมุ่งโพธิญาณเป็นสำคัญ และทรงเห็นว่าหากการเปลี่ยนแปลงอำนาจนั้นไม่ก่อความเดือดร้อนแก่ชาวไทย พระองค์จะทรงหลีกทางให้ พวกกบฏจึงทูลให้ออกบวชสะเดาะเคราะห์สัก 3 เดือนแล้วค่อยกลับสู่ราชบัลลังก์ ขณะนั้นพระยาสรรคบุรี พระยารามัญวงศ์ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่ยังอยู่ในกรุงและมีความภักดีต่อพระเจ้าตาก เห็นเป็นการคับขัน จำต้องผ่อนคลายไปตามสถานการณ์
พระเจ้าตากสินฯตกลงเสด็จออกทรงผนวช วันอาทิตย์ เดือน 4 แรม 12 ค่ำที่วัดแจ้ง อันเป็นวัดในพระบรมมหาราชวัง (เช่นเดียวกับวัดพระแก้วมรกตในวังหลวงทุกวันนี้) ในการเสด็จออกทรงผนวชนี้ ความจริงหาขาดจากพระราชตำแหน่งไม่ เพราะมีกำหนดแน่นอน ว่าจะเสด็จนิวัติกลับสู่ราชบัลลังก์ ภายหลังเมื่อทรงผนวชแล้ว 3 เดือน ส่วนราชการบ้านเมืองก็มีข้าหลวงรักษาพระนครตามธรรมเนียม
พระเจ้าตากสินทรงผนวชแล้ว 12 วัน พระยาสุริยอภัย (ทองอิน) หลานเจ้าพระยาจักรี (ด้วง)
ซึ่งโปรดให้ออกไปเป็นเจ้าเมืองนครราชสีมา ยกทัพมาจากนครราชสีมา โดยมิได้รับพระบรมราชานุญาต
แต่ในพงศาวดารว่าเจ้าพระยาจักรี (ด้วง) ให้รีบยกเข้ามาฟังเหตุการณ์ในกรุงก่อน พวกกบฏมีนายบุนนาค หลวงสุระเป็นต้น เข้าสมทบกับพระยาสุริยอภัย (ทองอิน) กาลครั้งนั้นพระเจ้าหลานเธอ กรมขุนอนุรักษ์สงครามจึงระดมกำลังเท่าที่จะหาได้ในเวลานั้น รีบยกไปตีกองทัพพระยาสุริยอภัย (ทองอิน) ที่ตำบลบ้านปูน ณ วันอังคาร ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2325 เป็นเวลาภายหลังที่พระยาสุริยอภัย (ทองอิน) เดินทัพเข้ามาในกรุง และตั้งมั่นอยู่ 11 วัน แต่กำลังของกรมขุนอนุรักษ์สงครามไม่สามารถตีทำลายกองทัพพระยาสุริยอภัย (ทองอิน) ลงได้ตามความประสงค์ ต้องล่าถอยไปทางวัดยาง ในที่สุดถูกพวกพระยาสุริยอภัย (ทองอิน) จับได้ พระยาสุริยอภัย (ทองอิน)จึงขยายวงค่ายแผ่กว้างออกมา จนใกล้พระราชวังหลวง เมื่อกรมขุนอนุรักษ์สงครามถูกจับแล้ว 3 วัน พอเช้าวันที่ 6 เมษายน เจ้าพระยาจักรี (ด้วง) ก็รีบเดินกองทัพใหญ่มาถึงพระนคร ได้มีการสอบถามความเห็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เป็นจำนวนมาก ว่าเมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนี้แล้วจะควรทำอย่างไรต่อไป บรรดาข้าราชการที่ยังจงรักภักดีในพระองค์สมเด็จพระเจ้าตากสิน และเชื่อในพระราชปรีชาสามารถ ของพระองค์ ก็ยืนคำว่าควรไปกราบทูลอัญเชิญเสด็จ ขอให้ทรงลาผนวชออกมาครองราชสมบัติบริหารการแผ่นดินโดยด่วน ในเรื่องนี้ได้ความตามคำบอกเล่าจากเจ้านายบางองค์ในราชวงศ์จักรีว่า ข้าราชการพวกที่กล้าพูดเช่นนั้น ในที่สุดก็ถูกคุมตัวไปประหารชีวิตทั้งหมด ส่วนสมเด็จพระเจ้าตากก็ถูกปลงพระชนม์ในวันนั้นเอง ณ พระวิหารที่ประทับในวัดแจ้ง (คือวัดอรุณราชวราราม ปัจจุบันนี้) รวมวันตั้งแต่เสด็จออกทรงผนวช จนถึงวันถูกปลงพระชนม์ เป็น ๒๘ วัน โหรจดไว้ว่าดับขันธ์ ไม่ใช้คำว่าสิ้นพระชนม์หรือสวรรคต ก็เพื่อยืนยันว่า พระองค์ท่านถูกปลงพระชนม์ทั้งที่ทรงเพศเป็นพระภิกษุ จึงใช้คำว่าดับขันธ์ เพื่อให้เข้าใจว่ามิได้สวรรคต เมื่อลาผนวชออกมา ความจริงพระองค์ดำรงสมณเพศจนตลอดพระชนม์ชีพเมื่อการปลงพระชนม์เสร็จเรียบร้อยแล้ว เชิญพระศพไปฝังไว้ที่วัดอินทาราม บางยี่เรือ ใกล้ตลาดพลู คลองบางหลวง (เวลานั้นยังเรียกวัดบางยี่เรือ) บรรดาศพข้าราชการที่จงรักภักดีในพระองค์ มีเจ้าพระยานครราชสีมา (บุญคง ต้นสกุลกาญจนาคม) พระยาสรรค์ (บรรพบุรุษสกุลแพ่งสภา) พระยารามัญวงศ์ (ต้นสกุลศรีเพ็ญ) พระยาพิชัยดาบหัก (ทองดี ต้นสกุลวิชัยขัทคะ และพิชัยกุล) เป็นต้น จำนวนมากกว่า 50 นาย ก็ถูกฝังเรียงรายใกล้พระศพสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชนั้น
ฝ่ายพระราชวงศ์ของพระเจ้าตากสินที่ยังเหลือ ถ้าเป็นเจ้าชายชั้นทรงพระเจริญวัยก็ถูกจับปลงพระชนม์หมด เอาไว้แต่ที่ทรงพระเยาว์ และเจ้าหญิง ถอดพระยศออกแล้วเรียกว่าหม่อม เหมือนกันทุกพระองค์ แม้จนกระทั่งสมเด็จพระราชินี และสมเด็จพระน้านาง เป็นการถอดอย่างที่ไม่เคยมีมา ฝ่ายเจ้าพระยาอินทวงศา อัครมหาเสนาธิบดีฝ่ายกลาโหม ขณะนั้นตั้งวังปราบบัญชาการทัพอยู่ที่ปากพระ ใกล้เมืองถลาง ทราบว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินฯถูกปลงพระชนม์แล้ว ก็ฆ่าตัวตายตามเสด็จ เพราะไม่ยอมเป็นข้าคนอื่น
พระเจ้าตากก็ถูกปลงพระชนม์ทั้งที่ทรงเพศพระภิกษุในวันนั้นเอง ณ พระวิหารที่ประทับในวัดแจ้งและอัญเชิญพระศพไปฝังที่วัดอินทรารามบางยี่เรือ ใกล้ตลาดพลู คลองบางหลวง ส่วนราชวงศ์ที่เป็นชายและเจริญวัยทั้งหมดถูกจับปลงพระชนม์หมด นอกนั้นให้ถอดพระยศ แม้กระทั่งสมเด็จพระราชินีและสมเด็จพระน้านาง เป็นการถอดอย่างที่ไม่เคยมีมา ตามเอกสารกรมศิลปากร หนังสือไทยต้องจำ และลำดับสกุลเก่า ภาค 4 พิมพ์ครั้งที่ 2 เมื่อข่าวนี้ทราบไปถึงเจ้าพระยาอินทวงศา อัครมหาเสนาบดีฝ่ายกลาโหมซึ่งตั้งบัญชาการทัพอยู่ที่ปากพระใกล้เมืองถลาง ก็ได้ฆ่าตัวตายตามเสด็จ เพราะไม่ยอมเป็นข้าคนอื่น
ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ กล่าวถึงวาระสุดท้ายของพระเจ้าตากสินมหาราชไว้ในหนังสือ”การเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี” ว่า " ( พระพุทธยอดฟ้าฯ) จึงมีรับสั่งให้เอาไปประหารชีวิตสำเร็จโทษเสีย เพชฌฆาตกับผู้คุม ก็ลากเอาตัวขึ้นแคร่หามไปกับทั้งสังขลิกพันธนาการ/เครื่องจองจำ-โซ่ตรวน เจ้าตากสินจึงว่าแก่ผู้คุมเพชฌฆาตว่า ตัวเราก็สิ้นบุญจะถึงที่ตายแล้ว ช่วยพาเราแวะเข้าไปหาท่านผู้สำเร็จราชการ จะขอเจรจาด้วยสักสองสามคำ ผู้คุมก็ให้หามเข้ามา ครั้น ( พระพุทธยอดฟ้าฯ)ได้ทอดพระเนตร จึ่งโบกพระหัตถ์มิให้นำมาเฝ้า ผู้คุมแลเพชฌฆาตก็ให้หามออกไปนอกพระราชวัง ถึงหน้าป้อมวิชัยประสิทธิ์ ก็ประหารชีวิตตัดศีรษะเสีย ถึงแก่พิราลัย จึ่งรับสั่งให้เอาศพไปฝัง ณ วัดบางยี่เรือใต้"
ขณะที่ปรีดา ศรีชลาลัย กล่าวถึงวาระสุดท้ายของพระเจ้าตากสินฯไว้ในบทความเรื่อง”ปีสุดท้ายของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช”ในนิตยสารศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนธันวาคม 2524 ว่า”สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชถูกปลงพระชนม์ ณ พระวิหารที่ประทับในวัดแจ้ง (คือวัดอรุณราชวราราม ปัจจุบันนี้) รวมวันตั้งแต่เสด็จออกทรงผนวชจนถึงวันถูกปลงพระชนม์ เป็น 28 วัน โหรจดไว้ว่าดับขันธ์ ไม่ใช้คำว่าสิ้นพระชนม์ หรือสวรรคต ก็เพื่อยืนยันว่า พระองค์ท่านถูกปลงพระชนม์ทั้งที่ทรงเพศเป็นพระภิกษุ จึงใช้คำว่าดับขันธ์ เพื่อให้เข้าใจว่ามิได้สวรรคตเมื่อลาผนวชออกมา ความจริงพระองค์ดำรงสมณเพศจนตลอดพระชนม์ชีพ เมื่อการปลงพระชนม์เสร็จเรียบร้อยแล้ว เชิญพระศพไปฝังไว้ที่วัดอินทาราม บางยี่เรือ ใกล้ตลาดพลู คลองบางหลวง (เวลานั้นยังเรียกวัดบางยี่เรือ)”
เมื่อข่าวการปลงพระชนม์พระเจ้าตากแพร่ออกไป เมืองตะนาวศรีและเมืองมะริดอันเป็นเมืองสำคัญทางตะวันตก ก็ตกไปเป็นของพม่าในปีนั้นเองและเนื่องจากพันธะสัญญาที่ทำไว้กับญวนอย่างลับๆ ไทยจึงต้องช่วยญวน
ฝ่ายองเชียงสือรบกับญวนฝ่ายราชวงศ์เล้ถึง 2 ครั้ง รวมทั้งการช่วยอาวุธยุทธภัณฑ์อีกนับไม่ถ้วน พอครั้นญวนฝ่ายองเชียงสือมีกำลังกล้าแข็งขึ้น ไทยกลับต้องเสียเมืองพุทไธมาศและผลประโยชน์อีกมากมายแก่ญวนไป จากหนังสือนายหยงทหารปืนใหญ่ พงศาวดารญวนเล่ม 2 หน้า 294,518 และกรมศิลปากร หนังสือไทยต้องจำ เรื่องของความเสียหายทั้งหมดนี้ เกิดจากพวกกบฏที่นำโดยพระยาจักรีนั่นเอง
ด้วยความเหิมเกริมทะยานอยากได้อำนาจสูงสุด เจ้าพระยาจักรีจึงเป็นกบฏ ทรยศต่อพระเจ้าตาก กษัตริย์ผู้กู้ชาติไทย กระทำการเข่นฆ่าล้างโคตรอย่างโหดเหี้ยม อำมหิตที่สุด ซ้ำยังเสริมแต่งใส่ร้ายพระเจ้าตาก ว่าวิปลาสบ้าง กระทำการมิบังควรแก่สงฆ์บ้าง วิกลจริตในการบริหารราชการบ้าง จากนั้นพระยาจักรีก็ตั้งตนเป็นกษัตริย์องค์ใหม่ และเริ่มสร้างพระราชวังใหม่ที่ฟากตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาอันเป็นจุดเริ่มต้นของการสถาปนาราชวงศ์ใหม่คือราชวงศ์จักรี และด้วยความโหดร้ายบนเลือดเนื้อและชีวิตของกษัตริย์ในเพศพระภิกษุ ประเด็นวิกลจริตของพระเจ้าตาก อาจารย์ขจร สุขพานิช ได้เคยสัมภาษณ์ในวิทยาสารปีที่ 22 ฉบับที่ 32 ประจำวันที่22 สิงหาคม 2514 กล่าวว่า “มีหลักฐานเป็นเอกสารภาษาฝรั่งเศส ซึ่งบาทหลวงในสมัยนั้นเขียนไว้ว่า ท่านเป็นบางครั้งบางคราวเท่านั้น เช่น เมื่อครั้งหนึ่งรับสั่งให้บาทหลวงเข้าเฝ้า แล้วตรัสว่า “นี่แก ฉันจะเหาะแล้วนะ” บาทหลวงทูลว่า “ไม่เชื่อ” ท่านก็ว่า “ฮื้อ ไอ้นี่ ขัดคอซะเรื่อย”พร้อมทั้งหัวเราะหรือทรงพระสรวล แล้วก็ไล่ออกไปไม่ได้เฆี่ยนตีอะไร คือบ้าทั้ง 24 ชั่วโมงนั้นไม่ใช่ แค่เป็นบางครั้ง นี่เป็นข้อเท็จจริง แต่อาจารย์ขจร สุขพานิช ท่านไม่เขียนเป็นตำรา เพราะถ้าเขียนแล้วเป็นผลร้ายต่ออนาคต ท่านจึงไม่เขียน
หลักฐานทางประวัติศาสตร์ก็ชี้ว่าพระองค์ถูกพระพุทธยอดฟ้าฯสั่งให้สำเร็จโทษเพื่อปราบดาภิเษกราชวงศ์ใหม่ และมีการกำจัดเสี้ยนหนามตามมาอีกหลายระลอก
กรณีของพระเจ้าตากสินมหาราชนั้นนับว่าประหลาดไปจากกรณีอื่น คือการช่วงชิงอำนาจทางการเมืองนั้น ไม่ได้เกิดขึ้นในขณะที่พระเจ้าแผ่นดินองค์ก่อนสวรรคตลง แล้วเกิดปัญหาการสืบราชสมบัติ และการถูกประหารชีวิตนั้นกรณีอื่นๆมีการจับสึกจากสมณเพศก่อน แต่ในกรณีพระเจ้าตากสินนั้นอาจเป็นไปได้ว่าถูกสั่งสำเร็จโทษประหารชีวิตด้วยการตัดพระเศียร ขณะที่ดำรงสมณเพศอยู่ก็เป็นได้
ตามตำราประวัติศาสตร์ที่ชำระขึ้นในหลังรัชสมัยของพระองค์นั้น พระเจ้าตากสินฯถูกกล่าวหาว่าขณะออกบวชได้มีพระสัญญาหรือสติวิปลาสฟั่นเฟือนถึงขั้นสั่งให้พระภิกษุสงฆ์กราบไหว้ โดยอ้างว่าพระองค์ได้บรรลุโสดาบัน หากพระสงฆ์ไม่ยอมกราบไหว้ก็ให้ลงโทษด้วยการเฆี่ยนตี ซึ่งเรื่องนี้นับเป็นข้อกล่าวหาที่ร้ายแรงมากในสมัยนั้น และเป็นการอธิบายความชอบธรรมในการสำเร็จโทษพระองค์ และอธิบายความชอบธรรมทางการเมืองให้พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์ และสถาปนาราชวงศ์ใหม่ คือราชวงศ์จักรี
ปรีดา ศรีชลาลัยนำเสนอว่า ปฐมเหตุนั้นมาจากการที่เกิดความวุ่นวายทางการเมืองของเวียดนาม เมื่อพวกกบฏไตเซินได้ก่อการรัฐประหารต่อพระเจ้าเวียดนามยาลอง พ่ายแพ้ถอยร่นลงมาทางใต้ แล้วหวังจะได้กำลังฝ่ายเขมรเข้ามาช่วยสู้รบ จึงเข้าไปแทรกแซงการเมืองเขมร ซึ่งเป็นประเทศราชของไทย พระเจ้าตากสินจึงโปรดเกล้าให้สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์ พระมหาอุปราช องค์รัชทายาทเป็นแม่ทัพใหญ่ เจ้าพระยาจักรี(ด้วง) เจ้าพระยานครสวรรค์ เจ้าพระยาสุรสีห์(บุญมา น้องชายเจ้าพระยาจักรี ด้วง)และพระเจ้าหลานเธอ กรมขุนรามภูเบศ เหล่านี้เป็นแม่ทัพรองๆลงมา ไปจัดการปราบ และเพื่อมิให้ญวนลุกลามเข้ามายึดเมืองเขมรเป็นที่มั่น โดยโปรดให้กองทัพไทยออกไปในเดือนยี่ ปีฉลู ตรงกับพ.ศ.2324
แทนที่จะจัดการปัญหาได้ตามแผน ปรีดา ศรีชลาลัย ได้อ้างถึงพงศาวดารญวน ฉบับนายหยงทหารปืนใหญ่ แปล (เล่ม 2 หน้า 378)ว่า เรื่องผิดคาดหมด เพราะกองทัพไทยที่ยกออกไปครั้งนั้นทำงานต่างกัน แม่ทัพใหญ่พยายามจะรุดหน้าไป ฝ่ายแม่ทัพรองบางนายหาทางยับยั้งเสีย เพื่อหน่วงคอยฟังเหตุการณ์ทางกรุงธนบุรี เวลานั้นญวนได้ส่งกองทหารเข้าไปช่วยอยู่ในเมืองเขมรบ้าง แต่ไม่มากนัก ว่ากันตามส่วนกำลังที่ทั้งสองฝ่ายมีและจะต้องสู้กันอย่างแตกหัก อย่างไรเสียก็ควรจะหวังได้ว่ากองทัพไทยต้องทำงานได้ผลดีเป็นแน่ หากงานที่ทำนั้นไม่มีเรื่องอื่นเข้าแทรกแซง เพราะฝ่ายญวนอ่อนเต็มทีแล้ว ย่อมจะต้องการหย่าศึกกับไทยมากกว่า เพราะญวนมีภาระจะต้องสู้รบกับพวกราชวงศ์เล้(กบฏไตเซิน) ซึ่งกำลังตีรุกลงมาจากทางเหนืออย่างรุนแรง ถ้าขืนรบกับไทยเข้าอีก จะถูกตีกระหนาบสองหน้า อาจถึงเหลวแหลกหมดทางตั้งตัว เพราะฉะนั้นเพื่อหาทางดีกับไทย แม่ทัพญวนชื่อเหงวียงหึวถว่าย จึงลอบแต่งทูตมาทาบทามทางแม่ทัพรองฝ่ายไทย
พงศาวดารญวน เล่ม 2 หน้า 382 บันทึกไว้ว่านับเป็นโชคดีของญวน เป็นอันสมประสงค์ของแม่ทัพญวนโดยง่ายดาย เพราะว่าแม่ทัพรองฝ่ายไทยก็ต้องการจะให้กองทัพญวนและเขมรร่วมมือในทางลับอยู่เหมือนกัน และท่านแม่ทัพรองฝ่ายไทยก็ยินดีจะช่วยกำลังแก่ญวนตามสมควรในโอกาสต่อไป เมื่อทำงานลับเสร็จสมหมายแล้ว แม่ทัพญวนกับแม่ทัพรองฝ่ายไทยได้ลอบทำสัญญาลับทางทหารต่อกัน ฝ่ายแม่ทัพญวนหักกระบี่และคันธงออกเป็น ๒ ท่อน แล้วแบ่งให้ไว้ฝ่ายละครึ่งตามธรรมเนียม เพื่อเป็นเครื่องหมายในการทำสัญญา ต่อจากนั้น แม่ทัพรองฝ่ายไทยก็ให้ญวนล้อมกองทัพสมเด็จพระมหาอุปราช เจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์ และทัพพระเจ้าหลานเธอ กรมขุนรามภูเบศ ไว้อย่างแน่นหนา ตรึงทัพทั้งสองมิให้เคลื่อนที่ได้ ส่วนตนรีบเดินทัพย้อนกลับมากรุงธนบุรีโดยด่วน
ส่วนทางด้านกรุงธนบุรี มีผู้ยุยงชาวกรุงเก่าให้เกิดเข้าใจผิดในสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ และชักชวน
ทำการกบฏย่อยๆขึ้น ผู้ยุยงตัวสำคัญซึ่งแอบขึ้นไปตั้งทำการยุที่กรุงเก่า มี 3คน คือ นายบุนนาค, หลวงสุระ,
หลวงชะนะ รวบรวมผู้คนตั้งเป็นกองรบเข้ารุมทำร้ายผู้รักษากรุงเก่า แล้วเดินทางมายังกรุงธนบุรี
ในเดือน 4 แรม 11 ค่ำ ถึงกรุงธนบุรีในตอนดึก ก็เริ่มยิงพระนครทันที ยังมีพวกกบฏแอบแฝงซ่องสุมอยู่ในกรุงธนบุรีอีก มีหลวงสรวิชิต (หน) เป็นต้น ก็ก่อการจลาจลขึ้นรับกับพวกกบฏที่ยกมาจากกรุงเก่า
ในชั้นต้น พวกกบฏขอให้พระสงฆ์เข้าไปถวายพระพร ทูลขอให้พระองค์เสด็จออกทรงผนวช
เพื่อสะเดาะพระเคราะห์เมืองสัก 3 เดือน สมเด็จพระเจ้าตากสินฯทรงรับคำทูล โปรดให้ข้าราชการผู้ใหญ่
ปรึกษาดูตามความสมควร เวลานั้นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่มีพระยาสรรคบุรี (บรรพบุรุษแห่งสกุลแพ่งสภา)
พระยารามัญวงศ์ (มะซอน บรรพบุรุษแห่งสกุลศรีเพ็ญ) เป็นต้น ล้วนแต่ซื่อสัตย์จงรักภักดีในพระองค์อย่างยิ่งยวด ข้าราชการเหล่านั้นคงจะได้คำนึงถึงกำลังส่วนใหญ่ที่ต้องส่งออกไปภาคตะวันออก จะทำผลีผลามลงไปในขณะนี้ ฉวยว่ามีการผันแปรต่างประเทศด้านอื่นเกิดขึ้นแทรกแซง จะเรียกกำลังจากภาคตะวันออกกลับมาไม่ทันท่วงที อีกประการหนึ่งพวกราษฎรก็ถูกปลุกปั่นให้เข้าใจผิด ความเข้าใจผิดอาจลุกลามไปมาก ในเมื่อไม่รีบหาทางแก้ไขเสียแต่ในชั้นต้น ฉะนั้นควรจะมีทางมองเห็นทางเดียวที่ควรกระทำก่อน คือขอให้ทรงยอมตามความประสงค์ ดังที่พวกกบฏขอให้พระสงฆ์ทูลแล้วนั้น
พระราชประวัติของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชนั้น หากอ่านหลาย ๆ เล่ม ก็ไม่ค่อยจะตรงกันนักยิ่งตอนสุดท้ายว่าถูกประหารชีวิตหรือไม่ ยิ่งแตกต่างกันออกไป เพราะที่นครศรีธรรมราชที่วัดเขาขุนพนม ที่บอกว่าประทับอยู่ที่วัดนี้ส่วนคนที่ถูกประหารชีวิตนั้น เพียงแต่เป็นคนที่ยอมสละชีพเพื่อท่าน ส่วนท่านถูกพาหนีไปนครศรีธรรมราช บางเล่มก็ว่าพระเจ้าตากสินไม่ได้ตาย เพราะเป็นพระราชประสงค์ของพระเจ้าตากสินที่สร้างเรื่องเพราะไปกู้ยืมเงินจากจีนมาทำสงครามกู้ชาติ จึงไม่ต้องการใช้หนี้จีนโดยทำเป็นว่าเสียสติแล้วให้พระยาจักรีแสร้งทำเรื่องแย่งราชบัลลังค์ แต่ทำไมพระยาจักรีจึงต้องสั่งประหารชีวิตแม่ทัพนายกองอีกเป็นจำนวนมากรวมทั้งลูกหลานและพระญาติพระวงศ์ของพระเจ้าตาก จะเหลือไว้แต่เพียงเด็กๆไม่กี่คน ซึ่งก็ต้องถูกประหารจนหมดในสมัยรัชกาลที่สอง เป็นการฆ่าล้างโคตร หรือที่เรียกว่า ตัดหวายอย่าไว้หน่อ ฆ่าพ่ออย่าไว้ลูก
ความในใจของผู้เขียนหลัก ตำนานรัตน์โกสินทร์
ความในใจของผู้เขียนหลัก ตำนานรัตน์โกสินทร์
จุดเริ่มต้นของการเขียน อยู่บนพื้นฐานความต้องการเปิดเผยข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ที่ได้ศึกษาค้นคว้าด้วยความสำนึกและตระหนักต่อหน้าที่ของนักประวัติศาสตร์ที่เคารพความจริงคนหนึ่ง และด้วยเหตุผลที่ว่า ข้อเท็จจริง เป็นสัจธรรมที่มีความเที่ยงตรง มันจึงได้ปรากฏคุณค่าและพระเกียรติอย่างตรงไปตรงมาและแจ่มชัดในตัวมันเอง ดังนั้นความกระทบกระเทือนอันใดที่มี จึงหาใช่เจตนาในข้อเขียนแต่อย่างใดไม่ แต่เป็นเพราะข้อเท็จจริงในประวัติศาสตร์นั้นเอง ข้อเท็จจริงเหล่านี้เป็นแสงสว่างอันมีคุณค่าและดูเหมือนจะมีคุณค่ายิ่งโดยเฉพาะในยุค 200 ปีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์(พศ.2525)ที่ผู้คนส่วนหนึ่งพยายามจะเชิดชูพระเกียรติกษัตริย์ไทยให้สูงส่งเกินจริง ราวกับหวั่นเกรงว่า ข้อเท็จจริงของราชวงศ์ที่ปกปิดกันมาช้านานจะรั่วหลุดไปถึงสายตาปวงชน อันจะนำไปสู่ความเสื่อมศรัทธาครั้งใหญ่และจะยังความวิบัติแก่ราชวงศ์ โดยที่แม้แต่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ใดๆก็ไม่อาจคุ้มครองได้
ประวัติศาสตร์ไทยที่เราท่านเล่าเรียนกันมา มิได้สะท้อนความเป็นจริงแห่งการดำรงชีพของคนไทยและความเป็นจริงของเหตุการณ์ในแผ่นดินอย่างตรงไปตรงมา เนื้อหาส่วนใหญ่กลับเป็นเรื่องบิดเบือนและปิดหูปิดตาไม่ให้ผู้คนรู้ความจริง ประวัติศาสตร์ไทยกลายเป็นตำนานของการสืบสันตติวงศ์ เป็นการยกย่องกษัตริย์ให้ผิดมนุษย์ธรรมดา ทำให้ผู้คนหลงเชื่อว่า กษัตริย์คือเทพเจ้าอยู่เหนือคำตำหนิใดๆของมนุษย์ เมื่อกล่าวถึงกษัตริย์จะมีแต่ส่วนดีงามและการยกย่องสรรเสริญเท่านั้น
ที่จริงแล้ว กิจวัตรของกษัตริย์และราชนิกุลทั้งหลายก็เฉกเช่นคนสามัญ ที่ประกอบคละกันไปด้วยส่วนที่ดีงามควรแก่การสรรเสริญ กับส่วนที่เลวร้ายควรแก่การตำหนิวิจารณ์ ฉะนั้นการที่มีแต่สรรเสริญถ่ายเดียวและห้ามเอ่ยถึงส่วนที่เสียแม้แต่น้อยเพื่อการปรับปรุงสร้างสรรค์จึงเป็นหนทางแห่งการเสื่อมถอยมากกว่าเป็นเรื่องดี โดยเฉพาะในยุคปัจจุบันที่การศึกษา ความรับรู้ของมนุษย์ได้ก้าวไปไกลมาก อีกทั้งสังคมก็มีสิทธิเสรีภาพ ข้อยึดปฏิบัติเกี่ยวกับกษัตริย์จึงเป็นเรื่องล้าหลังอย่างยิ่ง เพราะการศึกษาค้นคว้า ทำให้เราทราบข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ว่าใครถูกผิด ใครดีชั่ว อีกประการหนึ่งปุถุชนวิสัยมีความอยากรู้อยากเห็น ยิ่งบิดเบือนมากเสียงซุบซิบก็จะหนาหูขึ้น ดังเช่นในยุคปัจจุบันที่ผู้คนวงการต่างๆนำเรื่องในราชสำนักมาเล่าลือจนกลายเป็นเรื่องตลกหลังอาหารอย่างกว้างขวาง การโป้ปดมดเท็จหลอกลวงผู้คนเพื่อหวังกดหัวประชาชนให้รับใช้พวกตนอย่างงมงายด้วยความสัตย์ซื่อมานับร้อยๆปีนั้น มาบัดนี้จะเป็นหน้าที่ของประวัติศาสตร์ที่จะได้เปิดให้เห็นโฉมหน้าอันแท้จริงของเจ้าศักดินาไทยให้ประจักษ์ชัดต่อประชาชนไทย
ณ ที่นี้ ใคร่ขอขอบคุณนักคิดนักเขียน นักโบราณคดีและนักประวัติศาสตร์ทั้งคนไทยและคนต่างชาติที่กล้าหาญและซื่อสัตย์ต่อข้อเท็จจริง พวกเขาได้เขียนบันทึกและเผยโฉมหน้าที่แท้จริงของประวัติศาสตร์ออกมา จนผู้เขียนสามารถนำมาเรียบเรียงเป็นหนังสือเล่มนี้ ผู้เขียนมีความเชื่ออย่างเต็มเปี่ยมว่า ความเป็นจริง ย่อมลอยขึ้น เหนือน้ำ เหนือฟ้าเสมอ
ด้วยความเคารพ
รักษ์ธรรม รักษ์ไทย
11 มี.ค. 2525
ความเห็นของดร.สมศักดิ์ อาจารย์นักประวัติศาสตร์
ผมขอเล่าในฐานะที่เป็นนักประวัติศาสตร์ ที่ต้องติดตามข่าวคราวเรื่องพวกนี้ก็แล้วกัน
ขอยืนยันว่าผมไม่มีและไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเอกสาร ที่เรียกกันว่า สมุดปกเหลือง เพราะหุ้มด้วยปกสีเหลือง มีการทำออกเผยแพร่ในช่วง "200 ปี กรุงเทพ" คือ ปี 2525 ขนาดคล้ายๆพ้อกเก็ตบุค แต่ไม่หนามาก เป็นการเผยแพร่แบบ ใต้ดินและที่ ฮือฮา กว่า วรรณกรรม ประเภทเดียวกันที่เคยเผยแพร่มาก่อน คือ การที่มีการทำให้มีลักษณะ งานวิชาการ คือมีอ้างอิง มีเชิงอรรถ และเขียนด้วย ลีลา เชิงวิชาการ วรรณกรรมประเภทนี้ มีทำกันบ้างในวงการใต้ดินสมัยก่อน อันที่จริง ด้านที่สำคัญบางส่วนบางด้าน ก็เป็นการ สืบทอดประเพณีวรรณกรรม ประเภทเรื่องซุบซิบนินทาเจ้าทั้งหลายนั่นเอง
ว่ากันว่า ทาง ราชการ ตกใจ และ โกรธมาก กับเอกสารชิ้นนี้ ถึงขนาดมีการส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบที่ หอจดหมายแห่งชาติ ว่าในช่วงเวลานั้น มีใครบ้างมาค้นเอกสารที่มีการอ้างอิงในสมุดปกเหลืองที่ว่า เพื่อจับให้ได้ว่า ใครคือคนทำ และ ถึงขนาดว่า มีข่าวลือว่า นักวิชาการชื่อดังมากอย่างน้อย 2 ถูกต้องสงสัยว่าเป็นคนเขียน นักวิชาการ 2 คนดังกล่าว ตอนนี้ก็ยังดังมาก
สุดท้าย ตำรวจได้เข้าจับกุมและมีการดำเนินคดีกับอดีตนักเคลื่อนไหว 2-3 คน ในข้อหาทำหนังสือเล่มนี้ พวกเขาถูกติดคุก คนละ 7-8 แต่ปล่อยออกมาก่อน หลังจากนั้นประมาณ 4 ปี
สรุปว่า เรื่องนี้ เป็นเรื่องร้ายแรง อย่าทำเป็นเล่นๆไป
พูดถึงการที่มีเจ้าหน้าที่ไปตรวจเช็คที่ หอจดหมายเหตูแห่งชาติ มีอยู่วันหนึ่ง ผมอยู่เย็นหน่อย คือหลังจากหอจดหมายเหตุปิดแล้ว พอจะกลับผมก็ทักทายกับเจ้าหน้าที่ที่เฝ้าโต๊ะหน้า ที่เราต้องไปเซ็นชื่อก่อนใช้บริการ ผมเห็นเขา กำลังอ่านรายชื่อคนที่เข้าใช้ในวันนั้น ดูเหมือนทำท่าจะคัดลอกออกมา ผมก็ถามเขาว่า นึกว่ารายชื่อพวกนี้ เซ็นเสร็จก็แล้วไป ไม่มีอะไรสำคัญ เขาบอกว่า ไม่นะ ทุกวันต้องส่งรายชื่อนี้ขึ้นไปตามลำดับให้เจ้านายนะ เพื่อส่งต่อให้รัฐบาล พูดเรื่องพวกนี้แล้ว นอกจากชวนให้ เสียว อย่างยิ่งแล้ว ยังชวนให้ หดหู่ อย่างยิ่งด้วย
ดร.สมศักดิ์
จุดเริ่มต้นของการเขียน อยู่บนพื้นฐานความต้องการเปิดเผยข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ที่ได้ศึกษาค้นคว้าด้วยความสำนึกและตระหนักต่อหน้าที่ของนักประวัติศาสตร์ที่เคารพความจริงคนหนึ่ง และด้วยเหตุผลที่ว่า ข้อเท็จจริง เป็นสัจธรรมที่มีความเที่ยงตรง มันจึงได้ปรากฏคุณค่าและพระเกียรติอย่างตรงไปตรงมาและแจ่มชัดในตัวมันเอง ดังนั้นความกระทบกระเทือนอันใดที่มี จึงหาใช่เจตนาในข้อเขียนแต่อย่างใดไม่ แต่เป็นเพราะข้อเท็จจริงในประวัติศาสตร์นั้นเอง ข้อเท็จจริงเหล่านี้เป็นแสงสว่างอันมีคุณค่าและดูเหมือนจะมีคุณค่ายิ่งโดยเฉพาะในยุค 200 ปีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์(พศ.2525)ที่ผู้คนส่วนหนึ่งพยายามจะเชิดชูพระเกียรติกษัตริย์ไทยให้สูงส่งเกินจริง ราวกับหวั่นเกรงว่า ข้อเท็จจริงของราชวงศ์ที่ปกปิดกันมาช้านานจะรั่วหลุดไปถึงสายตาปวงชน อันจะนำไปสู่ความเสื่อมศรัทธาครั้งใหญ่และจะยังความวิบัติแก่ราชวงศ์ โดยที่แม้แต่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ใดๆก็ไม่อาจคุ้มครองได้
ประวัติศาสตร์ไทยที่เราท่านเล่าเรียนกันมา มิได้สะท้อนความเป็นจริงแห่งการดำรงชีพของคนไทยและความเป็นจริงของเหตุการณ์ในแผ่นดินอย่างตรงไปตรงมา เนื้อหาส่วนใหญ่กลับเป็นเรื่องบิดเบือนและปิดหูปิดตาไม่ให้ผู้คนรู้ความจริง ประวัติศาสตร์ไทยกลายเป็นตำนานของการสืบสันตติวงศ์ เป็นการยกย่องกษัตริย์ให้ผิดมนุษย์ธรรมดา ทำให้ผู้คนหลงเชื่อว่า กษัตริย์คือเทพเจ้าอยู่เหนือคำตำหนิใดๆของมนุษย์ เมื่อกล่าวถึงกษัตริย์จะมีแต่ส่วนดีงามและการยกย่องสรรเสริญเท่านั้น
ที่จริงแล้ว กิจวัตรของกษัตริย์และราชนิกุลทั้งหลายก็เฉกเช่นคนสามัญ ที่ประกอบคละกันไปด้วยส่วนที่ดีงามควรแก่การสรรเสริญ กับส่วนที่เลวร้ายควรแก่การตำหนิวิจารณ์ ฉะนั้นการที่มีแต่สรรเสริญถ่ายเดียวและห้ามเอ่ยถึงส่วนที่เสียแม้แต่น้อยเพื่อการปรับปรุงสร้างสรรค์จึงเป็นหนทางแห่งการเสื่อมถอยมากกว่าเป็นเรื่องดี โดยเฉพาะในยุคปัจจุบันที่การศึกษา ความรับรู้ของมนุษย์ได้ก้าวไปไกลมาก อีกทั้งสังคมก็มีสิทธิเสรีภาพ ข้อยึดปฏิบัติเกี่ยวกับกษัตริย์จึงเป็นเรื่องล้าหลังอย่างยิ่ง เพราะการศึกษาค้นคว้า ทำให้เราทราบข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ว่าใครถูกผิด ใครดีชั่ว อีกประการหนึ่งปุถุชนวิสัยมีความอยากรู้อยากเห็น ยิ่งบิดเบือนมากเสียงซุบซิบก็จะหนาหูขึ้น ดังเช่นในยุคปัจจุบันที่ผู้คนวงการต่างๆนำเรื่องในราชสำนักมาเล่าลือจนกลายเป็นเรื่องตลกหลังอาหารอย่างกว้างขวาง การโป้ปดมดเท็จหลอกลวงผู้คนเพื่อหวังกดหัวประชาชนให้รับใช้พวกตนอย่างงมงายด้วยความสัตย์ซื่อมานับร้อยๆปีนั้น มาบัดนี้จะเป็นหน้าที่ของประวัติศาสตร์ที่จะได้เปิดให้เห็นโฉมหน้าอันแท้จริงของเจ้าศักดินาไทยให้ประจักษ์ชัดต่อประชาชนไทย
ณ ที่นี้ ใคร่ขอขอบคุณนักคิดนักเขียน นักโบราณคดีและนักประวัติศาสตร์ทั้งคนไทยและคนต่างชาติที่กล้าหาญและซื่อสัตย์ต่อข้อเท็จจริง พวกเขาได้เขียนบันทึกและเผยโฉมหน้าที่แท้จริงของประวัติศาสตร์ออกมา จนผู้เขียนสามารถนำมาเรียบเรียงเป็นหนังสือเล่มนี้ ผู้เขียนมีความเชื่ออย่างเต็มเปี่ยมว่า ความเป็นจริง ย่อมลอยขึ้น เหนือน้ำ เหนือฟ้าเสมอ
ด้วยความเคารพ
รักษ์ธรรม รักษ์ไทย
11 มี.ค. 2525
ความเห็นของดร.สมศักดิ์ อาจารย์นักประวัติศาสตร์
ผมขอเล่าในฐานะที่เป็นนักประวัติศาสตร์ ที่ต้องติดตามข่าวคราวเรื่องพวกนี้ก็แล้วกัน
ขอยืนยันว่าผมไม่มีและไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเอกสาร ที่เรียกกันว่า สมุดปกเหลือง เพราะหุ้มด้วยปกสีเหลือง มีการทำออกเผยแพร่ในช่วง "200 ปี กรุงเทพ" คือ ปี 2525 ขนาดคล้ายๆพ้อกเก็ตบุค แต่ไม่หนามาก เป็นการเผยแพร่แบบ ใต้ดินและที่ ฮือฮา กว่า วรรณกรรม ประเภทเดียวกันที่เคยเผยแพร่มาก่อน คือ การที่มีการทำให้มีลักษณะ งานวิชาการ คือมีอ้างอิง มีเชิงอรรถ และเขียนด้วย ลีลา เชิงวิชาการ วรรณกรรมประเภทนี้ มีทำกันบ้างในวงการใต้ดินสมัยก่อน อันที่จริง ด้านที่สำคัญบางส่วนบางด้าน ก็เป็นการ สืบทอดประเพณีวรรณกรรม ประเภทเรื่องซุบซิบนินทาเจ้าทั้งหลายนั่นเอง
ว่ากันว่า ทาง ราชการ ตกใจ และ โกรธมาก กับเอกสารชิ้นนี้ ถึงขนาดมีการส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบที่ หอจดหมายแห่งชาติ ว่าในช่วงเวลานั้น มีใครบ้างมาค้นเอกสารที่มีการอ้างอิงในสมุดปกเหลืองที่ว่า เพื่อจับให้ได้ว่า ใครคือคนทำ และ ถึงขนาดว่า มีข่าวลือว่า นักวิชาการชื่อดังมากอย่างน้อย 2 ถูกต้องสงสัยว่าเป็นคนเขียน นักวิชาการ 2 คนดังกล่าว ตอนนี้ก็ยังดังมาก
สุดท้าย ตำรวจได้เข้าจับกุมและมีการดำเนินคดีกับอดีตนักเคลื่อนไหว 2-3 คน ในข้อหาทำหนังสือเล่มนี้ พวกเขาถูกติดคุก คนละ 7-8 แต่ปล่อยออกมาก่อน หลังจากนั้นประมาณ 4 ปี
สรุปว่า เรื่องนี้ เป็นเรื่องร้ายแรง อย่าทำเป็นเล่นๆไป
พูดถึงการที่มีเจ้าหน้าที่ไปตรวจเช็คที่ หอจดหมายเหตูแห่งชาติ มีอยู่วันหนึ่ง ผมอยู่เย็นหน่อย คือหลังจากหอจดหมายเหตุปิดแล้ว พอจะกลับผมก็ทักทายกับเจ้าหน้าที่ที่เฝ้าโต๊ะหน้า ที่เราต้องไปเซ็นชื่อก่อนใช้บริการ ผมเห็นเขา กำลังอ่านรายชื่อคนที่เข้าใช้ในวันนั้น ดูเหมือนทำท่าจะคัดลอกออกมา ผมก็ถามเขาว่า นึกว่ารายชื่อพวกนี้ เซ็นเสร็จก็แล้วไป ไม่มีอะไรสำคัญ เขาบอกว่า ไม่นะ ทุกวันต้องส่งรายชื่อนี้ขึ้นไปตามลำดับให้เจ้านายนะ เพื่อส่งต่อให้รัฐบาล พูดเรื่องพวกนี้แล้ว นอกจากชวนให้ เสียว อย่างยิ่งแล้ว ยังชวนให้ หดหู่ อย่างยิ่งด้วย
ดร.สมศักดิ์
Newsweek: Thailand's King May Play Politics (No Offense)
Newsweek: Thailand's King May Play Politics (No Offense)
Newsweek
Wednesday, December 17, 2008 9:37 AM
Bangkok -- If you happened to have been in Thailand this week and wanted to read the December 6-10 issue of The Economist, you could have searched the country without finding a copy. That’s because it contained an article and editorial that were critical of King Bhumibol Adulyadej. Rather than risk insulting the king and offending his subjects, Asia Books, which imports the British weekly, chose not to distribute that particular edition.
The pre-emptive move was a sign of respect for the king but also an act of self-preservation. Few people or organizations in Thailand will risk doing anything that might be construed as an insult to the monarch. Thailand’s lese- majeste law may be the most draconian in the world, and it is strongly enforced: Offenders face up to 15 years in jail. Foreigners have been jailed for months and then expelled from the country. The riposte from friendly Thais to a farang contemplating a violation of the law is, “I hope you don’t plan to ever return to Thailand.”
The Economist, writing about Thailand’s current political imbroglio, alleges that the king, who turned 81 earlier this month, plays a role in politics. Officially, the sovereign, as head of state in a constitutional monarchy, is above politics. That alleged involvement, the magazine argues, is not helpful--especially in this time of political instability. Ever since the military ousted Prime Minister Thaksin Shinawatra in a bloodless coup in September 2006, the country has staggered from one government to the next. Just this week Parliament selected the fourth prime minister since the coup. Few people are willing to bet that the new premier, Abhisit Vejjajiva, of the Democrat Party, will last much longer that his immediate predecessor, Somchai Wongsarat, who hung on for 77 days.
Members of the royal family are said to be dismayed about the magazine’s stories, which get into controversial areas last visited in “The King Never Smiles,” a 2006 unauthorized biography by freelance writer Paul M. Handley. The book, banned in Thailand before it was even published, makes similar allegations about the monarchy. “The concern is the myth of a conspiracy between the king and the military,” says an individual with links to the Palace who spoke only on condition of anonymity and because he believes the articles are unfair. People in the king's inner circle “are genuinely distressed, because this fosters the ideas of conspiracy theorists.”
The Economist, the source pointed out, was not banned by the government. There was no need to do so because distributor acted voluntarily to withhold the offending edition. In the age of the Internet, banning publications anywhere is a tricky–and often futile–proposition, apart from in countries like China, Burma and North Korea, which tightly control acces to the Web. “Banning a magazine doesn’t make much sense any more, because it gets through – and they know that,” the source said, referring to the Palace. The Economist argues that the lese-majeste law should be revisited. For now, no such plans are on the drawing board.
แปลเป็นไทยโดย Creepy- เว็บบอร์ดฟ้าเดียวกัน
นิวส์วีค: กษัตริย์ของไทยอาจทรงเล่นกับการเมือง (บทความไม่มีเจตนาไม่ดี)
กรุงเทพ – ถ้าคุณอยู่ที่ประเทศไทยในตอนนี้และต้องการจะอ่านนิตยสาร The Economist ฉบับประจำวันที่ 6-10 ธันวาคม คุณอาจจะต้องหาทั้งประเทศแต่ไม่พบสักเล่มเดียว นั่นเป็นเพราะว่านิตยสารดังกล่าวมีบทความและบทบรรณาธิการวิพากษ์วิจารณ์กษัตริย์ภูมิพล อดุลยเดช ทางเอเชียบุ๊คส์ได้ตัดสินใจระงับการจัดจำหน่านนิตยสารฉบับประจำวันดังกล่าว ดีกว่าจะเสี่ยงกับการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและทำร้ายความรู้สึกพสกนิกรของพระองค์
การดำเนินการดังกล่าวเป็นการแสดงออกถึงการเคารพกษัตริย์และการรู้รักษาตัวรอด มีคนหรือองค์กรจำนวนน้อยที่จะเสี่ยงต่อการทำสิ่งที่อาจหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพน่าจะเป็นกฎหมายที่รุนแรงที่สุดในโลก และมีการบังคับใช้อย่างเข้มงวด ผู้กระทำความผิดจะต้องถูกจำคุกไม่เกิน 15 ปี ชาวต่างชาติเคยถูกจำคุกหลายเดือนก่อนจะถูกขับออกนอกประเทศ คนไทยที่มีใจเป็นมิตรเตือนฝรั่งที่คิดจะละเมิดกฎหมายว่า “ฉันหวังว่าคุณจะไม่คิดกลับมาเมืองไทยอีก”
The Economist เขียนถึงปัญหาความวุ่นวายทางการเมืองของไทย กล่าวหากษัตริย์ซึ่งจะมีพระชนมายุ 81 พรรษา ในเร็วๆนี้ ว่า มีบทบาททางการเมือง ในทางการแล้ว ประมุขของประเทศนี้ซึ่งปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข จะทรงอยู่เหนือการเมือง การเข้ามาเกี่ยวข้องตามที่กล่าวหานั้น ทางนิตยสารเห็นว่าไม่ได้ช่วยอะไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยามที่การเมืองคลอนแคลนอย่งนี้ นับแต่ทหารได้ทำการปฏิวัตินายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร โดยไม่เสียเลือดเนื้อในเดือนกันยายนปี 2549 ประเทศนี้ได้เปลี่ยนรัฐบาลอย่างทุลักทุเล ในสัปดาห์หน้านี้รัฐสภาก็ได้เลือกนายกรัฐมนตรีคนที่สี่นับแต่การปฏิวัติ มีคนจำนวนน้อยที่จะพนันว่ารัฐบาลของอภิสิทธิ์ นายกรัฐมนตรีคนใหม่จากประชาธิปัตย์จะอยู่ได้นานกว่ารัฐบาลชุดก่อน คือรัฐบาลของสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ซึ่งอยู่ได้ 77 วัน หรือไม่
สมาชิกในราชวงศ์ปฏิเสธเรื่องในนิตยสารดังกล่าว ซึ่งทำให้เกิดการโต้เถียงครั้งใหม่ในประเด็นที่หนังสือ “กษัตริย์ไม่เคยแย้มพระสรวล” หนังสืออัตชีวประวัติที่ไม่ได้รับอนุญาต ปี 2549 โดยนักเขียนอิสระ Paul M. Handley ซึ่งถูกสั่งห้ามก่อนการตีพิมพ์เสียอีก ได้กล่าวหากษัตริย์อย่างเดียวกัน “ความกังวลอยู่ที่ตำนานการคบคิดกันระหว่างกษัตริย์กับทหาร” เป็นคำกล่าวของผู้เกี่ยวข้องกับราชวงศ์ซึ่งไม่ประสงค์จะเปิดเผยนาม และเพราะว่าเขาเชื่อว่าเรื่องดังกล่าวนั้นไม่เป็นธรรม ผู้ใกล้ชิดกษัตริย์รู้สึก “เศร้าใจจริงๆ เพราะมันสนับสนุนความคิดเกี่ยวกับทฤษฎีการสมคบคิด”
แหล่งข่าวชี้ว่า รัฐบาลไม่ได้ห้ามนิตยสาร The Economist ผู้จัดจำหน่ายสมัครใจที่จะเก็บฉบับที่ผิดกฎหมายนั้นไว้เอง ในยุคอินเตร์เน็ต การสั่งห้ามหนังสือไม่ว่าที่ไหนก็คือการโกงและมักไร้ประโบชน์ ทั้งนี้ไม่นับประเทศที่ควบคุมการเข้าอินเตอร์เน็ตอย่างเข้มงวดอย่าง จีน พม่า และเกาหลีเหนือ “คำสั่งห้ามนิตยสารไม่ได้เข้าท่าแม้แต่น้อย เพราะมันเข้าไปอ่านได้ และพวกเขาก็รู้” แหล่งข่าวกล่าวถึงราชวัง The Economist เห็นว่าสมควรจะมีการทบทวนกฎหมายหมิ่นพระบมเดชานุภาพ จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่มีการวางแผนเช่นนั้น
Newsweek
Wednesday, December 17, 2008 9:37 AM
Bangkok -- If you happened to have been in Thailand this week and wanted to read the December 6-10 issue of The Economist, you could have searched the country without finding a copy. That’s because it contained an article and editorial that were critical of King Bhumibol Adulyadej. Rather than risk insulting the king and offending his subjects, Asia Books, which imports the British weekly, chose not to distribute that particular edition.
The pre-emptive move was a sign of respect for the king but also an act of self-preservation. Few people or organizations in Thailand will risk doing anything that might be construed as an insult to the monarch. Thailand’s lese- majeste law may be the most draconian in the world, and it is strongly enforced: Offenders face up to 15 years in jail. Foreigners have been jailed for months and then expelled from the country. The riposte from friendly Thais to a farang contemplating a violation of the law is, “I hope you don’t plan to ever return to Thailand.”
The Economist, writing about Thailand’s current political imbroglio, alleges that the king, who turned 81 earlier this month, plays a role in politics. Officially, the sovereign, as head of state in a constitutional monarchy, is above politics. That alleged involvement, the magazine argues, is not helpful--especially in this time of political instability. Ever since the military ousted Prime Minister Thaksin Shinawatra in a bloodless coup in September 2006, the country has staggered from one government to the next. Just this week Parliament selected the fourth prime minister since the coup. Few people are willing to bet that the new premier, Abhisit Vejjajiva, of the Democrat Party, will last much longer that his immediate predecessor, Somchai Wongsarat, who hung on for 77 days.
Members of the royal family are said to be dismayed about the magazine’s stories, which get into controversial areas last visited in “The King Never Smiles,” a 2006 unauthorized biography by freelance writer Paul M. Handley. The book, banned in Thailand before it was even published, makes similar allegations about the monarchy. “The concern is the myth of a conspiracy between the king and the military,” says an individual with links to the Palace who spoke only on condition of anonymity and because he believes the articles are unfair. People in the king's inner circle “are genuinely distressed, because this fosters the ideas of conspiracy theorists.”
The Economist, the source pointed out, was not banned by the government. There was no need to do so because distributor acted voluntarily to withhold the offending edition. In the age of the Internet, banning publications anywhere is a tricky–and often futile–proposition, apart from in countries like China, Burma and North Korea, which tightly control acces to the Web. “Banning a magazine doesn’t make much sense any more, because it gets through – and they know that,” the source said, referring to the Palace. The Economist argues that the lese-majeste law should be revisited. For now, no such plans are on the drawing board.
แปลเป็นไทยโดย Creepy- เว็บบอร์ดฟ้าเดียวกัน
นิวส์วีค: กษัตริย์ของไทยอาจทรงเล่นกับการเมือง (บทความไม่มีเจตนาไม่ดี)
กรุงเทพ – ถ้าคุณอยู่ที่ประเทศไทยในตอนนี้และต้องการจะอ่านนิตยสาร The Economist ฉบับประจำวันที่ 6-10 ธันวาคม คุณอาจจะต้องหาทั้งประเทศแต่ไม่พบสักเล่มเดียว นั่นเป็นเพราะว่านิตยสารดังกล่าวมีบทความและบทบรรณาธิการวิพากษ์วิจารณ์กษัตริย์ภูมิพล อดุลยเดช ทางเอเชียบุ๊คส์ได้ตัดสินใจระงับการจัดจำหน่านนิตยสารฉบับประจำวันดังกล่าว ดีกว่าจะเสี่ยงกับการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและทำร้ายความรู้สึกพสกนิกรของพระองค์
การดำเนินการดังกล่าวเป็นการแสดงออกถึงการเคารพกษัตริย์และการรู้รักษาตัวรอด มีคนหรือองค์กรจำนวนน้อยที่จะเสี่ยงต่อการทำสิ่งที่อาจหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพน่าจะเป็นกฎหมายที่รุนแรงที่สุดในโลก และมีการบังคับใช้อย่างเข้มงวด ผู้กระทำความผิดจะต้องถูกจำคุกไม่เกิน 15 ปี ชาวต่างชาติเคยถูกจำคุกหลายเดือนก่อนจะถูกขับออกนอกประเทศ คนไทยที่มีใจเป็นมิตรเตือนฝรั่งที่คิดจะละเมิดกฎหมายว่า “ฉันหวังว่าคุณจะไม่คิดกลับมาเมืองไทยอีก”
The Economist เขียนถึงปัญหาความวุ่นวายทางการเมืองของไทย กล่าวหากษัตริย์ซึ่งจะมีพระชนมายุ 81 พรรษา ในเร็วๆนี้ ว่า มีบทบาททางการเมือง ในทางการแล้ว ประมุขของประเทศนี้ซึ่งปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข จะทรงอยู่เหนือการเมือง การเข้ามาเกี่ยวข้องตามที่กล่าวหานั้น ทางนิตยสารเห็นว่าไม่ได้ช่วยอะไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยามที่การเมืองคลอนแคลนอย่งนี้ นับแต่ทหารได้ทำการปฏิวัตินายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร โดยไม่เสียเลือดเนื้อในเดือนกันยายนปี 2549 ประเทศนี้ได้เปลี่ยนรัฐบาลอย่างทุลักทุเล ในสัปดาห์หน้านี้รัฐสภาก็ได้เลือกนายกรัฐมนตรีคนที่สี่นับแต่การปฏิวัติ มีคนจำนวนน้อยที่จะพนันว่ารัฐบาลของอภิสิทธิ์ นายกรัฐมนตรีคนใหม่จากประชาธิปัตย์จะอยู่ได้นานกว่ารัฐบาลชุดก่อน คือรัฐบาลของสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ซึ่งอยู่ได้ 77 วัน หรือไม่
สมาชิกในราชวงศ์ปฏิเสธเรื่องในนิตยสารดังกล่าว ซึ่งทำให้เกิดการโต้เถียงครั้งใหม่ในประเด็นที่หนังสือ “กษัตริย์ไม่เคยแย้มพระสรวล” หนังสืออัตชีวประวัติที่ไม่ได้รับอนุญาต ปี 2549 โดยนักเขียนอิสระ Paul M. Handley ซึ่งถูกสั่งห้ามก่อนการตีพิมพ์เสียอีก ได้กล่าวหากษัตริย์อย่างเดียวกัน “ความกังวลอยู่ที่ตำนานการคบคิดกันระหว่างกษัตริย์กับทหาร” เป็นคำกล่าวของผู้เกี่ยวข้องกับราชวงศ์ซึ่งไม่ประสงค์จะเปิดเผยนาม และเพราะว่าเขาเชื่อว่าเรื่องดังกล่าวนั้นไม่เป็นธรรม ผู้ใกล้ชิดกษัตริย์รู้สึก “เศร้าใจจริงๆ เพราะมันสนับสนุนความคิดเกี่ยวกับทฤษฎีการสมคบคิด”
แหล่งข่าวชี้ว่า รัฐบาลไม่ได้ห้ามนิตยสาร The Economist ผู้จัดจำหน่ายสมัครใจที่จะเก็บฉบับที่ผิดกฎหมายนั้นไว้เอง ในยุคอินเตร์เน็ต การสั่งห้ามหนังสือไม่ว่าที่ไหนก็คือการโกงและมักไร้ประโบชน์ ทั้งนี้ไม่นับประเทศที่ควบคุมการเข้าอินเตอร์เน็ตอย่างเข้มงวดอย่าง จีน พม่า และเกาหลีเหนือ “คำสั่งห้ามนิตยสารไม่ได้เข้าท่าแม้แต่น้อย เพราะมันเข้าไปอ่านได้ และพวกเขาก็รู้” แหล่งข่าวกล่าวถึงราชวัง The Economist เห็นว่าสมควรจะมีการทบทวนกฎหมายหมิ่นพระบมเดชานุภาพ จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่มีการวางแผนเช่นนั้น
ประกาศคณะราษฎร 2475 ฉบับที่ ๑
ประกาศคณะราษฎร 2475 ฉบับที่ ๑
http://www.pridiinstitute.com/autopage/show_page.php?h=11&s_id=19&d_id=19
ประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ ๑
ราษฎรทั้งหลาย
เมื่อกษัตริย์องค์นี้ได้ครองราชย์สมบัติสืบต่อจากพระเชษฐานั้น ในชั้นต้นราษฎรบางคนได้หวังกันว่ากษัตริย์องค์ใหม่นี้จะปกครองราษฎรให้ร่มเย็น แต่การณ์ก็หาได้เป็นไปตามที่คิดหวังกันไม่ กษัตริย์คงทรงอำนาจอยู่เหนือกฎหมายเดิม ทรงแต่งตั้งญาติวงศ์และคนสอพลอไร้คุณความรู้ให้ดำรงตำแหน่งที่สำคัญๆ ไม่ทรงฟังเสียงราษฎร ปล่อยให้ข้าราชการใช้อำนาจหน้าที่ในทางทุจริต มีการรับสินบนในการก่อสร้างและการซื้อของใช้ในราชการ หากำไรในการเปลี่ยนเงิน ผลาญเงินของประเทศ ยกพวกเจ้าขึ้นให้สิทธิพิเศษมากกว่าราษฎร กดขี่ข่มเหงราษฎร ปกครองโดยขาดหลักวิชา ปล่อยให้บ้านเมืองเป็นไปตามยถากรรม ดังที่จะเห็นได้จากความตกต่ำในทางเศรษฐกิจและความฝืดเคืองในการทำมาหากินซึ่งพวกราษฎรได้รู้กันอยู่โดยทั่วไปแล้ว รัฐบาลของกษัตริย์เหนือกฎหมายมิสามารถแก้ไขให้ฟื้นขึ้นได้
การที่แก้ไขไม่ได้ก็เพราะรัฐบาลของกษัตริย์มิได้ปกครองประเทศเพื่อราษฎรตามที่รัฐบาลอื่นๆ ได้กระทำกัน รัฐบาลของกษัตริย์ได้ถือเอาราษฎรเป็นทาส (ซึ่งเรียกว่าไพร่บ้าง ข้าบ้าง) เป็นสัตว์เดียรัจฉาน ไม่นึกว่าเป็นมนุษย์ เหตุฉะนั้น แทนที่จะช่วยราษฎร กลับพากันทำนาบนหลังราษฎร จะเห็นได้ว่า ภาษีอากรที่บีบคั้นเอาจากราษฎรนั้น กษัตริย์ได้หักเอาไว้ใช้ปีหนึ่งเป็นจำนวนหลายล้าน ส่วนราษฎรสิ กว่าจะหาได้แม้แต่เล็กน้อย เลือดตาแทบกระเด็น ถึงคราวเสียเงินราชการหรือภาษีใดๆ ถ้าไม่มีเงินรัฐบาลก็ยึดทรัพย์หรือใช้งานโยธา แต่พวกเจ้ากลับนอนกินกันเป็นสุข ไม่มีประเทศใดในโลกจะให้เงินเจ้ามากเช่นนี้ นอกจากพระเจ้าซาร์และพระเจ้าไกเซอร์เยอรมัน ซึ่งชนชาตินั้นก็ได้โค่นราชบัลลังก์ลงเสียแล้ว
รัฐบาลของกษัตริย์ได้ปกครองอย่างหลอกลวงไม่ซื่อตรงต่อราษฎร มีเป็นต้นว่าหลอกว่าจะบำรุงการทำมาหากินอย่างโน้นอย่างนี้ แต่ครั้นคอยๆ ก็เหลวไป หาได้ทำจริงจังไม่ มิหนำซ้ำกล่าวหมิ่นประมาทราษฎรผู้มีบุญคุณเสียภาษีอากรให้พวกเจ้าได้กิน ว่าราษฎรยังมีเสียงทางการเมืองไม่ได้ เพราะราษฎรโง่ คำพูดของรัฐบาลเช่นนี้ใช้ไม่ได้ ถ้าราษฎรโง่ เจ้าก็โง่เพราะเป็นคนชาติเดียวกัน ที่ราษฎรรู้ไม่ถึงเจ้านั้นเป็นเพราะขาดการศึกษาที่พวกเจ้าปกปิดไว้ไม่ให้เรียนเต็มที่ เพราะเกรงว่าเมื่อราษฎรได้มีการศึกษา ก็จะรู้ความชั่วร้ายที่พวกเจ้าทำไว้ และคงจะไม่ยอมให้เจ้าทำนาบนหลังคนอีกต่อไป
ราษฎรทั้งหลายพึงรู้เถิดว่า ประเทศเรานี้เป็นของราษฎร ไม่ใช่ของกษัตริย์ตามที่เขาหลอกลวง บรรพบุรุษของราษฎรเป็นผู้ช่วยกันกู้ให้ประเทศเป็นอิสรภาพพ้นมือจากข้าศึก พวกเจ้ามีแต่ชุบมือเปิบและกวาดทรัพย์สมบัติเข้าไว้ตั้งหลายร้อยล้าน เงินเหล่านี้เอามาจากไหน? ก็เอามาจากราษฎรเพราะวิธีทำนาบนหลังคนนั้นเอง บ้านเมืองกำลังอัตคัดฝืดเคือง ชาวนาและพ่อแม่ทหารต้องทิ้งนา เพราะทำนาไม่ได้ผล รัฐบาลไม่บำรุง รัฐบาลไล่คนงานออกอย่างเกลื่อนกลาด นักเรียนที่เรียนสำเร็จแล้วและทหารที่ปลดกองหนุนแล้วก็ไม่มีงานทำ จะต้องอดอยากไปตามยถากรรม เหล่านี้เป็นผลของกษัตริย์เหนือกฎหมาย บีบคั้นข้าราชการชั้นผู้น้อย นายสิบ และเสมียน เมื่อให้ออกจากงานแล้วก็ไม่ให้เบี้ยบำนาญ ความจริงควรเอาเงินที่พวกเจ้ากวาดรวบรวมไว้มาจัดบำรุงบ้านเมืองให้คนมีงานทำ จึงจะสมควรที่สนองคุณราษฎรซึ่งได้เสียภาษีอากรให้พวกเจ้าได้ร่ำรวยมานาน แต่พวกเจ้าก็หาได้ทำอย่างใดไม่ คงสูบเลือดกันเรื่อยไป เงินเหลือเท่าไหร่ก็เอาไปฝากต่างประเทศ คอยเตรียมหนีเมื่อบ้านเมืองทรุดโทรม ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก การเหล่านี้ย่อมชั่วร้าย
เหตุฉะนั้น ราษฎร ข้าราชการ ทหาร และพลเรือน ที่รู้เท่าถึงการกระทำอันชั่วร้ายของรัฐบาลดังกล่าวแล้ว จึงรวมกำลังตั้งเป็นคณะราษฎรขึ้น และได้ยึดอำนาจของกษัตริย์ไว้ได้แล้ว คณะราษฎรเห็นว่าการที่จะแก้ความชั่วร้ายนี้ได้ก็โดยที่จะต้องจัดการปกครองโดยมีสภา จะได้ช่วยกันปรึกษาหารือหลายๆ ความคิดดีกว่าความคิดเดียว ส่วนผู้เป็นประมุขของประเทศนั้น คณะราษฎรไม่ประสงค์ทำการแย่งชิงราชสมบัติ ฉะนั้น จึงได้อัญเชิญให้กษัตริย์องค์นี้ดำรงตำแหน่งกษัตริย์ต่อไป แต่จะต้องอยู่ใต้กฎหมายธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน จะทำอะไรโดยลำพังไม่ได้ นอกจากด้วยความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร คณะราษฎรได้แจ้งความประสงค์นี้ให้กษัตริย์ทราบแล้ว เวลานี้ยังอยู่ในความรับตอบ ถ้ากษัตริย์ตอบปฏิเสธหรือไม่ตอบภายในกำหนดโดยเห็นแก่ส่วนตนว่าจะถูกลดอำนาจลงมาก็จะชื่อว่าทรยศต่อชาติ และก็เป็นการจำเป็นที่ประเทศจะต้องมีการปกครองแบบอย่างประชาธิปไตย กล่าวคือ ประมุขของประเทศจะเป็นบุคคลสามัญซึ่งสภาผู้แทนราษฎรได้เลือกตั้งขึ้น อยู่ในตำแหน่งตามกำหนดเวลา ตามวิธีนี้ราษฎรพึงหวังเถิดว่าราษฎรจะได้รับความบำรุงอย่างดีที่สุด ทุกๆ คนจะมีงานทำ เพราะประเทศของเราเป็นประเทศที่อุดมอยู่แล้วตามสภาพ เมื่อเราได้ยึดเงินที่พวกเจ้ารวบรวมไว้จากการทำนาบนหลังคนตั้งหลายร้อยล้านมาบำรุงประเทศขึ้นแล้ว ประเทศจะต้องเฟื่องฟูขึ้นเป็นแม่นมั่น การปกครองซึ่งคณะราษฎรจะพึงกระทำก็คือ จำต้องวางโครงการอาศัยหลักวิชา ไม่ทำไปเหมือนคนตาบอด เช่นรัฐบาลที่มีกษัตริย์เหนือกฎหมายทำมาแล้ว เป็นหลักใหญ่ๆ ที่คณะราษฎรวางไว้ มีอยู่ว่า
๑.จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย เช่นเอกราชในทางการเมือง ในทางศาล ในทางเศรษฐกิจ ฯลฯ ของประเทศไว้ให้มั่นคง
๒.จะต้องรักษาความปลอดภัยภายในประเทศ ให้การประทุษร้ายต่อกันลดน้อยลงให้มาก
๓.ต้องบำรุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลใหม่จะจัดหางานให้ราษฎรทุกคนทำ จะวางโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ ไม่ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก
๔.จะต้องให้ราษฎรมีสิทธิเสมอภาคกัน (ไม่ใช่พวกเจ้ามีสิทธิยิ่งกว่าราษฎรเช่นที่เป็นอยู่ในเวลานี้)
๕.จะต้องให้ราษฎรได้มีเสรีภาพ มีความเป็นอิสระ เมื่อเสรีภาพนี้ไม่ขัดต่อหลัก ๔ ประการดังกล่าวข้างต้น
๖.จะต้องให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร
ราษฎรทั้งหลายจงพร้อมใจกันช่วยคณะราษฎรให้ทำกิจอันจะคงอยู่ชั่วดินฟ้านี้ให้สำเร็จ คณะราษฎรขอให้ทุกคนที่มิได้ร่วมมือเข้ายึดอำนาจจากรัฐบาลกษัตริย์เหนือกฎหมายพึงตั้งตนอยู่ในความสงบและตั้งหน้าทำมาหากิน อย่าทำการใดๆ อันเป็นการขัดขวางต่อคณะราษฎร การที่ราษฎรช่วยคณะราษฎรนี้ เท่ากับราษฎรช่วยประเทศและช่วยตัวราษฎร บุตร หลาน เหลน ของตนเอง ประเทศจะมีความเป็นเอกราชอย่างพร้อมบริบูรณ์ ราษฎรจะได้รับความปลอดภัย ทุกคนจะต้องมีงานทำไม่ต้องอดตาย ทุกคนจะมีสิทธิเสมอกัน และมีเสรีภาพพ้นจากการเป็นไพร่ เป็นข้า เป็นทาสพวกเจ้า หมดสมัยที่เจ้าจะทำนาบนหลังราษฎร สิ่งที่ทุกคนพึงปรารถนาคือ ความสุขความเจริญอย่างประเสริฐซึ่งเรียกเป็นศัพท์ว่า “ศรีอาริยะ” นั้น ก็จะพึงบังเกิดขึ้นแก่ราษฎรถ้วนหน้า
คณะราษฎร
๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕
http://www.pridiinstitute.com/autopage/show_page.php?h=11&s_id=19&d_id=19
ประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ ๑
ราษฎรทั้งหลาย
เมื่อกษัตริย์องค์นี้ได้ครองราชย์สมบัติสืบต่อจากพระเชษฐานั้น ในชั้นต้นราษฎรบางคนได้หวังกันว่ากษัตริย์องค์ใหม่นี้จะปกครองราษฎรให้ร่มเย็น แต่การณ์ก็หาได้เป็นไปตามที่คิดหวังกันไม่ กษัตริย์คงทรงอำนาจอยู่เหนือกฎหมายเดิม ทรงแต่งตั้งญาติวงศ์และคนสอพลอไร้คุณความรู้ให้ดำรงตำแหน่งที่สำคัญๆ ไม่ทรงฟังเสียงราษฎร ปล่อยให้ข้าราชการใช้อำนาจหน้าที่ในทางทุจริต มีการรับสินบนในการก่อสร้างและการซื้อของใช้ในราชการ หากำไรในการเปลี่ยนเงิน ผลาญเงินของประเทศ ยกพวกเจ้าขึ้นให้สิทธิพิเศษมากกว่าราษฎร กดขี่ข่มเหงราษฎร ปกครองโดยขาดหลักวิชา ปล่อยให้บ้านเมืองเป็นไปตามยถากรรม ดังที่จะเห็นได้จากความตกต่ำในทางเศรษฐกิจและความฝืดเคืองในการทำมาหากินซึ่งพวกราษฎรได้รู้กันอยู่โดยทั่วไปแล้ว รัฐบาลของกษัตริย์เหนือกฎหมายมิสามารถแก้ไขให้ฟื้นขึ้นได้
การที่แก้ไขไม่ได้ก็เพราะรัฐบาลของกษัตริย์มิได้ปกครองประเทศเพื่อราษฎรตามที่รัฐบาลอื่นๆ ได้กระทำกัน รัฐบาลของกษัตริย์ได้ถือเอาราษฎรเป็นทาส (ซึ่งเรียกว่าไพร่บ้าง ข้าบ้าง) เป็นสัตว์เดียรัจฉาน ไม่นึกว่าเป็นมนุษย์ เหตุฉะนั้น แทนที่จะช่วยราษฎร กลับพากันทำนาบนหลังราษฎร จะเห็นได้ว่า ภาษีอากรที่บีบคั้นเอาจากราษฎรนั้น กษัตริย์ได้หักเอาไว้ใช้ปีหนึ่งเป็นจำนวนหลายล้าน ส่วนราษฎรสิ กว่าจะหาได้แม้แต่เล็กน้อย เลือดตาแทบกระเด็น ถึงคราวเสียเงินราชการหรือภาษีใดๆ ถ้าไม่มีเงินรัฐบาลก็ยึดทรัพย์หรือใช้งานโยธา แต่พวกเจ้ากลับนอนกินกันเป็นสุข ไม่มีประเทศใดในโลกจะให้เงินเจ้ามากเช่นนี้ นอกจากพระเจ้าซาร์และพระเจ้าไกเซอร์เยอรมัน ซึ่งชนชาตินั้นก็ได้โค่นราชบัลลังก์ลงเสียแล้ว
รัฐบาลของกษัตริย์ได้ปกครองอย่างหลอกลวงไม่ซื่อตรงต่อราษฎร มีเป็นต้นว่าหลอกว่าจะบำรุงการทำมาหากินอย่างโน้นอย่างนี้ แต่ครั้นคอยๆ ก็เหลวไป หาได้ทำจริงจังไม่ มิหนำซ้ำกล่าวหมิ่นประมาทราษฎรผู้มีบุญคุณเสียภาษีอากรให้พวกเจ้าได้กิน ว่าราษฎรยังมีเสียงทางการเมืองไม่ได้ เพราะราษฎรโง่ คำพูดของรัฐบาลเช่นนี้ใช้ไม่ได้ ถ้าราษฎรโง่ เจ้าก็โง่เพราะเป็นคนชาติเดียวกัน ที่ราษฎรรู้ไม่ถึงเจ้านั้นเป็นเพราะขาดการศึกษาที่พวกเจ้าปกปิดไว้ไม่ให้เรียนเต็มที่ เพราะเกรงว่าเมื่อราษฎรได้มีการศึกษา ก็จะรู้ความชั่วร้ายที่พวกเจ้าทำไว้ และคงจะไม่ยอมให้เจ้าทำนาบนหลังคนอีกต่อไป
ราษฎรทั้งหลายพึงรู้เถิดว่า ประเทศเรานี้เป็นของราษฎร ไม่ใช่ของกษัตริย์ตามที่เขาหลอกลวง บรรพบุรุษของราษฎรเป็นผู้ช่วยกันกู้ให้ประเทศเป็นอิสรภาพพ้นมือจากข้าศึก พวกเจ้ามีแต่ชุบมือเปิบและกวาดทรัพย์สมบัติเข้าไว้ตั้งหลายร้อยล้าน เงินเหล่านี้เอามาจากไหน? ก็เอามาจากราษฎรเพราะวิธีทำนาบนหลังคนนั้นเอง บ้านเมืองกำลังอัตคัดฝืดเคือง ชาวนาและพ่อแม่ทหารต้องทิ้งนา เพราะทำนาไม่ได้ผล รัฐบาลไม่บำรุง รัฐบาลไล่คนงานออกอย่างเกลื่อนกลาด นักเรียนที่เรียนสำเร็จแล้วและทหารที่ปลดกองหนุนแล้วก็ไม่มีงานทำ จะต้องอดอยากไปตามยถากรรม เหล่านี้เป็นผลของกษัตริย์เหนือกฎหมาย บีบคั้นข้าราชการชั้นผู้น้อย นายสิบ และเสมียน เมื่อให้ออกจากงานแล้วก็ไม่ให้เบี้ยบำนาญ ความจริงควรเอาเงินที่พวกเจ้ากวาดรวบรวมไว้มาจัดบำรุงบ้านเมืองให้คนมีงานทำ จึงจะสมควรที่สนองคุณราษฎรซึ่งได้เสียภาษีอากรให้พวกเจ้าได้ร่ำรวยมานาน แต่พวกเจ้าก็หาได้ทำอย่างใดไม่ คงสูบเลือดกันเรื่อยไป เงินเหลือเท่าไหร่ก็เอาไปฝากต่างประเทศ คอยเตรียมหนีเมื่อบ้านเมืองทรุดโทรม ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก การเหล่านี้ย่อมชั่วร้าย
เหตุฉะนั้น ราษฎร ข้าราชการ ทหาร และพลเรือน ที่รู้เท่าถึงการกระทำอันชั่วร้ายของรัฐบาลดังกล่าวแล้ว จึงรวมกำลังตั้งเป็นคณะราษฎรขึ้น และได้ยึดอำนาจของกษัตริย์ไว้ได้แล้ว คณะราษฎรเห็นว่าการที่จะแก้ความชั่วร้ายนี้ได้ก็โดยที่จะต้องจัดการปกครองโดยมีสภา จะได้ช่วยกันปรึกษาหารือหลายๆ ความคิดดีกว่าความคิดเดียว ส่วนผู้เป็นประมุขของประเทศนั้น คณะราษฎรไม่ประสงค์ทำการแย่งชิงราชสมบัติ ฉะนั้น จึงได้อัญเชิญให้กษัตริย์องค์นี้ดำรงตำแหน่งกษัตริย์ต่อไป แต่จะต้องอยู่ใต้กฎหมายธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน จะทำอะไรโดยลำพังไม่ได้ นอกจากด้วยความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร คณะราษฎรได้แจ้งความประสงค์นี้ให้กษัตริย์ทราบแล้ว เวลานี้ยังอยู่ในความรับตอบ ถ้ากษัตริย์ตอบปฏิเสธหรือไม่ตอบภายในกำหนดโดยเห็นแก่ส่วนตนว่าจะถูกลดอำนาจลงมาก็จะชื่อว่าทรยศต่อชาติ และก็เป็นการจำเป็นที่ประเทศจะต้องมีการปกครองแบบอย่างประชาธิปไตย กล่าวคือ ประมุขของประเทศจะเป็นบุคคลสามัญซึ่งสภาผู้แทนราษฎรได้เลือกตั้งขึ้น อยู่ในตำแหน่งตามกำหนดเวลา ตามวิธีนี้ราษฎรพึงหวังเถิดว่าราษฎรจะได้รับความบำรุงอย่างดีที่สุด ทุกๆ คนจะมีงานทำ เพราะประเทศของเราเป็นประเทศที่อุดมอยู่แล้วตามสภาพ เมื่อเราได้ยึดเงินที่พวกเจ้ารวบรวมไว้จากการทำนาบนหลังคนตั้งหลายร้อยล้านมาบำรุงประเทศขึ้นแล้ว ประเทศจะต้องเฟื่องฟูขึ้นเป็นแม่นมั่น การปกครองซึ่งคณะราษฎรจะพึงกระทำก็คือ จำต้องวางโครงการอาศัยหลักวิชา ไม่ทำไปเหมือนคนตาบอด เช่นรัฐบาลที่มีกษัตริย์เหนือกฎหมายทำมาแล้ว เป็นหลักใหญ่ๆ ที่คณะราษฎรวางไว้ มีอยู่ว่า
๑.จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย เช่นเอกราชในทางการเมือง ในทางศาล ในทางเศรษฐกิจ ฯลฯ ของประเทศไว้ให้มั่นคง
๒.จะต้องรักษาความปลอดภัยภายในประเทศ ให้การประทุษร้ายต่อกันลดน้อยลงให้มาก
๓.ต้องบำรุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลใหม่จะจัดหางานให้ราษฎรทุกคนทำ จะวางโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ ไม่ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก
๔.จะต้องให้ราษฎรมีสิทธิเสมอภาคกัน (ไม่ใช่พวกเจ้ามีสิทธิยิ่งกว่าราษฎรเช่นที่เป็นอยู่ในเวลานี้)
๕.จะต้องให้ราษฎรได้มีเสรีภาพ มีความเป็นอิสระ เมื่อเสรีภาพนี้ไม่ขัดต่อหลัก ๔ ประการดังกล่าวข้างต้น
๖.จะต้องให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร
ราษฎรทั้งหลายจงพร้อมใจกันช่วยคณะราษฎรให้ทำกิจอันจะคงอยู่ชั่วดินฟ้านี้ให้สำเร็จ คณะราษฎรขอให้ทุกคนที่มิได้ร่วมมือเข้ายึดอำนาจจากรัฐบาลกษัตริย์เหนือกฎหมายพึงตั้งตนอยู่ในความสงบและตั้งหน้าทำมาหากิน อย่าทำการใดๆ อันเป็นการขัดขวางต่อคณะราษฎร การที่ราษฎรช่วยคณะราษฎรนี้ เท่ากับราษฎรช่วยประเทศและช่วยตัวราษฎร บุตร หลาน เหลน ของตนเอง ประเทศจะมีความเป็นเอกราชอย่างพร้อมบริบูรณ์ ราษฎรจะได้รับความปลอดภัย ทุกคนจะต้องมีงานทำไม่ต้องอดตาย ทุกคนจะมีสิทธิเสมอกัน และมีเสรีภาพพ้นจากการเป็นไพร่ เป็นข้า เป็นทาสพวกเจ้า หมดสมัยที่เจ้าจะทำนาบนหลังราษฎร สิ่งที่ทุกคนพึงปรารถนาคือ ความสุขความเจริญอย่างประเสริฐซึ่งเรียกเป็นศัพท์ว่า “ศรีอาริยะ” นั้น ก็จะพึงบังเกิดขึ้นแก่ราษฎรถ้วนหน้า
คณะราษฎร
๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕
: บทความต่างประเทศแปลแล้ว (ต่อ)
: บทความต่างประเทศแปลแล้ว (ต่อ)
ฉันคิดว่ามันเป็นเทคนิคที่ดีที่พวกเราค้นพบ" เขากล่าว และกล่าวเสริมว่า ในตำแหน่งของเขานั้น มีความสุดโต่งอยู่ 2 ประการที่ควรหลีกเลี่ยง นั่นคือ การยอมจำนนต่อนักการเมือง และการเอาแต่ใจของกษัตริย์
"คุณสามารถอยู่ในกรอบของกฎหมาย" เขากล่าว "คุณทำได้เพียงแต่สิ่งที่กฎหมายระบุ นั่นคือ ถ้าคุณพูดอะไรบางอย่าง นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีสักคนจะต้องเซ็นรับสนองฯ และถ้าเกิดเขาไม่อยู่ให้เซ็น เราก็จะไม่สามารถพูดได้ นั่นคือหนทางหนึ่งในการทำมัน คือ ไม่ต้องทำอะไรเลย ไม่ทำอะไรทั้งสิ้น
อีกทางหนึ่งก็คือการทำมากเกินไป ใช้อิทธิพลที่เรามีเพื่อทำอะไรก็ได้ แต่นั่นก็จะไม่ได้ผลเช่นกัน เราจะต้องอยู่ตรงกลาง และต้องทำงานในทุกสาขา"
(Barbara Crosette, ‘King Bhumibol’s reign’,
New York Times, 21 พฤษภาคม 2532)
ฉันคิดว่ามันเป็นเทคนิคที่ดีที่พวกเราค้นพบ" เขากล่าว และกล่าวเสริมว่า ในตำแหน่งของเขานั้น มีความสุดโต่งอยู่ 2 ประการที่ควรหลีกเลี่ยง นั่นคือ การยอมจำนนต่อนักการเมือง และการเอาแต่ใจของกษัตริย์
"คุณสามารถอยู่ในกรอบของกฎหมาย" เขากล่าว "คุณทำได้เพียงแต่สิ่งที่กฎหมายระบุ นั่นคือ ถ้าคุณพูดอะไรบางอย่าง นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีสักคนจะต้องเซ็นรับสนองฯ และถ้าเกิดเขาไม่อยู่ให้เซ็น เราก็จะไม่สามารถพูดได้ นั่นคือหนทางหนึ่งในการทำมัน คือ ไม่ต้องทำอะไรเลย ไม่ทำอะไรทั้งสิ้น
อีกทางหนึ่งก็คือการทำมากเกินไป ใช้อิทธิพลที่เรามีเพื่อทำอะไรก็ได้ แต่นั่นก็จะไม่ได้ผลเช่นกัน เราจะต้องอยู่ตรงกลาง และต้องทำงานในทุกสาขา"
(Barbara Crosette, ‘King Bhumibol’s reign’,
New York Times, 21 พฤษภาคม 2532)
บทความต่างประเทศแปลแล้ว (ต่อ)
บทความต่างประเทศแปลแล้ว (ต่อ)
ลักษณะสำคัญของเครือข่ายกษัตริย์ไทยตั้งแต่ปี 2523 ถึง 2544 ก็คือการที่กษัตริย์เป็นผู้ชี้ขาดสูงสุดในการตัดสินใจทางการเมืองเวลาเกิดวิกฤติ และการที่กษัตริย์เป็นต้นกำเนิดหลักของความชอบธรรมของชาติ กษัตริย์ทำตัวเป็นผู้ออกความคิดเห็นและชอบสั่งสอนเกี่ยวกับปัญหาต่าง ๆ ของชาติ และช่วยกำหนดวาระแห่งชาติผ่านพระราชดำรัสวันเฉลิมพระชนมพรรษาทุกปี กษัตริย์แทรกแซงการพัฒนาทางการเมืองอย่างกระตือรือร้น โดยส่วนมากจะผ่านทางตัวแทนของพระองค์ เช่น องคมนตรีและนายทหารที่ได้รับความไว้วางใจ โดยมีอดีตผู้บัญชาการและอดีตนายกฯ เปรม ติณสูลานนท์ เป็นหัวหน้าของเหล่าตัวแทนคอยช่วยกำหนดลักษณะของรัฐบาลผสม และคอยตรวจสอบการดำเนินการทางทหารและการโยกย้ายต่าง ๆ ระบบการปกครองแบบเครือข่ายนี้ต้องพึ่งพาการจัดประชาชนที่เหมาะสม (โดยเฉพาะคนที่เหมาะสม) ไว้ในงานที่เหมาะสม ซึ่งการจัดสรรตำแหน่งนี้เป็นบทบาทหลักของเปรม
เครือข่ายกษัตริย์มิได้เป็นเสรีนิยมโดยเนื้อแท้ของมันอยู่แล้วเพราะมันสนับสนุนการพึ่งพา "คนดี" และไม่ให้ความสำคัญกับสถาบันการเมืองและกระบวนการทางการเมืองตามรูปแบบ ไม่มีมีการให้ความสำคัญกับหลักการของประชาธิปไตย เช่น หลักนิติธรรมและหลักความยินยอมจากประชาชน แต่ความสำเร็จหลักของกษัตริย์ภูมิพลนั้นมาจากการรักษาความเป็นอิสระของราชวงศ์ไว้ได้อย่างดีท่ามกลางประเทศไทยที่แบ่งออกเป็นหลายกลุ่มก้อน สิ่งนี้แตกต่างไปจากการจำกัดอำนาจของกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญดังที่เคยเข้าใจกัน กษัตริย์ไทยอาจถูกมองได้ดีที่สุด ตามศัพท์ของ Robert Dahl ว่าเป็น "ระบบรอง" (subsystem) มากกว่าเป็นสถาบัน (Dahl 1982: 27-8) ผู้ขับเคลื่อนเครือข่ายกษัตริย์ที่สำคัญก็คือสภาองคมนตรีซึ่งประชุมกันอาทิตย์ละ 2 ครั้งเพื่อตรวจสอบกฎหมายและให้คำแนะนำในเรื่องต่าง ๆ แก่กษัตริย์ (Hewison 1997: 72) กษัตริย์อาจปรึกษาหัวหน้าพรรคการเมืองในยามวิกฤติด้วยก็ได้ (1997: 73) Hewison อธิบายว่า "กษัตริย์และผู้ถวายคำปรึกษารู้สึกว่าพระองค์ควรจะแทรกแซงกระบวนการทางการเมือง ... กษัตริย์มักแสดงบทบาทที่เกินเลยขอบเขตอันเหมาะสมตามระบอบราชาธิปไตยใต้รัฐธรรมนูญ" (1997: 72-3) กษัตริย์องค์นี้ได้ก้าวเกินไปจากการอยู่"เหนือการเมือง" พระองค์เข้ามายุ่งเกี่ยวการเมืองอย่างใกล้ชิด การยุ่งเกี่ยวของพระองค์หมายความว่าพระองค์เป็น "กษัตริย์นักกิจกรรม" (1997: 74) กษัตริย์อธิบายบทบาททางการเมืองของตัวเองไว้ชัดเจนในการสัมภาษณ์ที่หายากครั้งหนึ่งกับหนังสือพิมพ์ นิวยอร์กไทมส์ เมื่อปี 2532 ดังนี้
ลักษณะสำคัญของเครือข่ายกษัตริย์ไทยตั้งแต่ปี 2523 ถึง 2544 ก็คือการที่กษัตริย์เป็นผู้ชี้ขาดสูงสุดในการตัดสินใจทางการเมืองเวลาเกิดวิกฤติ และการที่กษัตริย์เป็นต้นกำเนิดหลักของความชอบธรรมของชาติ กษัตริย์ทำตัวเป็นผู้ออกความคิดเห็นและชอบสั่งสอนเกี่ยวกับปัญหาต่าง ๆ ของชาติ และช่วยกำหนดวาระแห่งชาติผ่านพระราชดำรัสวันเฉลิมพระชนมพรรษาทุกปี กษัตริย์แทรกแซงการพัฒนาทางการเมืองอย่างกระตือรือร้น โดยส่วนมากจะผ่านทางตัวแทนของพระองค์ เช่น องคมนตรีและนายทหารที่ได้รับความไว้วางใจ โดยมีอดีตผู้บัญชาการและอดีตนายกฯ เปรม ติณสูลานนท์ เป็นหัวหน้าของเหล่าตัวแทนคอยช่วยกำหนดลักษณะของรัฐบาลผสม และคอยตรวจสอบการดำเนินการทางทหารและการโยกย้ายต่าง ๆ ระบบการปกครองแบบเครือข่ายนี้ต้องพึ่งพาการจัดประชาชนที่เหมาะสม (โดยเฉพาะคนที่เหมาะสม) ไว้ในงานที่เหมาะสม ซึ่งการจัดสรรตำแหน่งนี้เป็นบทบาทหลักของเปรม
เครือข่ายกษัตริย์มิได้เป็นเสรีนิยมโดยเนื้อแท้ของมันอยู่แล้วเพราะมันสนับสนุนการพึ่งพา "คนดี" และไม่ให้ความสำคัญกับสถาบันการเมืองและกระบวนการทางการเมืองตามรูปแบบ ไม่มีมีการให้ความสำคัญกับหลักการของประชาธิปไตย เช่น หลักนิติธรรมและหลักความยินยอมจากประชาชน แต่ความสำเร็จหลักของกษัตริย์ภูมิพลนั้นมาจากการรักษาความเป็นอิสระของราชวงศ์ไว้ได้อย่างดีท่ามกลางประเทศไทยที่แบ่งออกเป็นหลายกลุ่มก้อน สิ่งนี้แตกต่างไปจากการจำกัดอำนาจของกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญดังที่เคยเข้าใจกัน กษัตริย์ไทยอาจถูกมองได้ดีที่สุด ตามศัพท์ของ Robert Dahl ว่าเป็น "ระบบรอง" (subsystem) มากกว่าเป็นสถาบัน (Dahl 1982: 27-8) ผู้ขับเคลื่อนเครือข่ายกษัตริย์ที่สำคัญก็คือสภาองคมนตรีซึ่งประชุมกันอาทิตย์ละ 2 ครั้งเพื่อตรวจสอบกฎหมายและให้คำแนะนำในเรื่องต่าง ๆ แก่กษัตริย์ (Hewison 1997: 72) กษัตริย์อาจปรึกษาหัวหน้าพรรคการเมืองในยามวิกฤติด้วยก็ได้ (1997: 73) Hewison อธิบายว่า "กษัตริย์และผู้ถวายคำปรึกษารู้สึกว่าพระองค์ควรจะแทรกแซงกระบวนการทางการเมือง ... กษัตริย์มักแสดงบทบาทที่เกินเลยขอบเขตอันเหมาะสมตามระบอบราชาธิปไตยใต้รัฐธรรมนูญ" (1997: 72-3) กษัตริย์องค์นี้ได้ก้าวเกินไปจากการอยู่"เหนือการเมือง" พระองค์เข้ามายุ่งเกี่ยวการเมืองอย่างใกล้ชิด การยุ่งเกี่ยวของพระองค์หมายความว่าพระองค์เป็น "กษัตริย์นักกิจกรรม" (1997: 74) กษัตริย์อธิบายบทบาททางการเมืองของตัวเองไว้ชัดเจนในการสัมภาษณ์ที่หายากครั้งหนึ่งกับหนังสือพิมพ์ นิวยอร์กไทมส์ เมื่อปี 2532 ดังนี้
บทความต่างประเทศแปลแล้ว
บทความต่างประเทศแปลแล้ว (ต่อ)
นิยามการเมืองไทย
การจัดประเภทการเมืองไทยเป็นเรื่องที่พิสูจน์มานานแล้วว่าทำได้ยาก Fred Riggs (1966) เคยเสนอแนวคิดอันมีชื่อเสียงว่า ประเทศไทยเป็น "ระบอบอมาตยาธิปไตย" นั่นก็คือ ศักดินาและทหารต่างปกครองรัฐไทยเพื่อจุดประสงค์ของพวกเขาเองเป็นส่วนใหญ่ Hewison วิจารณ์แนวคิดอันทรงอิทธิพลนี้ว่ามันเป็นแนวคิดที่ไม่มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลง และชี้ให้เห็นว่าแนวคิดนี้ละเลยต่อการพิจารณาถึงการต่อต้านที่มีมายาวนาน และล้มเหลวในการทำนายถึงการเกิดขึ้นของการเมืองภาคประชาชนในทศวรรษ 1970 (ปี 2513-2522) (1998: 75)1 การสนทนาเรื่องการเมืองไทยในช่วงต่อมามักจะอยู่ในกรอบการเปลี่ยนแปลงทางประชาธิปไตยและการเปลี่ยนผ่านทางการเมือง (ชัยอนันต์ 1990) หลังรัฐประหารปี 2534 สมมติฐานอย่างง่าย ๆ เกี่ยวกับประชาธิปไตยไทยไม่สามารถใช้การได้อีกต่อไป นักวิชาการหลายคนเปลี่ยนไปให้ความสำคัญกับระบบเศรษกิจการเมืองที่กำลังเปลี่ยนแปลง การเกิดขึ้นของประชาสังคม พร้อมด้วยโครงการวิจัยเกี่ยวกับปฏิรูปการเมืองที่มีขอบเขตแคบลง (Connors 1999; McCargo 2002) บทความนี้จะใช้แนวทางค้นหาคำตอบอีกแนวทางหนึ่ง: เราเสนอว่าการเมืองไทยเป็นการเมืองที่มีลักษณะเป็นเครือข่าย ตั้งแต่ปี 2516 ถึง 2544 เครือข่ายทางการเมืองชั้นนำของประเทศไทยก็คือพระมหากษัตริย์ไทย กษัตริย์ภูมิพล ตั้งแต่ปี 2544 ฐานะอันสูงส่งของเครือข่ายกษัตริย์ได้ถูกท้าทายโดยการปรากฏตัวอันโดดเด่นของ ทักษิณ ชินวัตร เศรษฐีโทรคมนาคมผู้ทรงอิทธิพล
ตั้งแต่การขับไล่รัฐบาลเผด็จการถนอม-ประภาสในปี 2516 กษัตริย์ภูมิพลได้เป็นมากกว่าสัญลักษณ์ของประเทศและไม่ได้เป็นกษัตริย์ใต้รัฐธรรรมนูญตามแบบฉบับเลยแม้แต่น้อย นักเขียนคนอื่นๆ โดยเฉพาะ Hewison (1997) กอบเกื้อ (2002, 2003) และ Kershaw (2001) พยายามตรวจสอบบทบาททางการเมืองของกษัตริย์ไทยโดยโฟกัสไปที่ตัวพระมหากษัตริย์เอง บทความนี้จะใช้แนวทางที่แตกต่าง: เราจะมองกษัตริย์เป็นศูนย์กลางของระบอบการปกครองที่ค่อนข้างแปลกใหม่ ซึ่งเข้าใจได้ดีที่สุดในนามของเครือข่ายทางการเมือง "เครือข่ายกษัตริย์"ของประเทศไทยมีศูนย์กลางอยู่ที่ประธานองคมนตรี เปรม ติณสูลานนท์ เครือข่ายกษัตริย์คือรูปแบบการปกครองกึ่งกษัตริย์สมัยใหม่: พระมหากษัตริย์ไทยและเครือข่ายของพระองค์ได้สร้างระบบกษัตริย์ที่ทันสมัยไว้เป็นสถาบันคู่ขนานกับสถาบันทางการเมือง Anderson อธิบายถึงระบบกษัตริย์ไทยไว้ว่าเป็นรูปแบบการปกครองที่"เก่าแก่อย่างน่าสนใจ" (1978: 209) แต่เครือข่ายกษัตริย์นั้นเป็นการผลิตซ้ำที่ได้รับการปรับให้เข้ากับสมัยใหม่มากกว่าจะเป็นเพียงส่วนหลงเหลือของช่วงเวลาหนึ่ง การสร้างเครือข่ายกษัตริย์ให้แข็งแรงนั้นเป็นการโหยหาถึงช่วงสมบูรณาญาสิทธิราชย์ก่อนปี 2475 ที่ถูกทำให้อ่อนลงลงด้วยการยอมรับอย่างไม่เต็มใจนักว่าพระมหากษัตริย์ไทยสมัยใหม่ไม่อาจเป็นผู้ปกครองอย่างเบ็ดเสร็จได้อีกแล้ว อย่างไรก็ตาม "นักสร้างตำนานเกี่ยวกับกษัตริย์ก็ได้พยายามสร้างความเชื่อมโยงระหว่างรัชกาลที่ 5 กับรัชกาลปัจจุบันอย่างแข็งขัน" (Peleggi 2002: 167) Peter Jackson กล่าวว่า ตอนนี้ก็มีการสร้างลัทธิยกย่องรัชกาลที่ 9 เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ขึ้นมาแล้ว (Jackson 1999: 301-4)2 ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ผู้ซึ่งได้รับเลือกตั้งอย่างท่วมท้นถึงสองครั้งในปี 2544 และ 2548 พยายามแทนที่เครือข่ายอำนาจพระราชวงศ์ด้วยเครือข่ายกลุ่มใหม่อย่างเป็นระบบ
นิยามการเมืองไทย
การจัดประเภทการเมืองไทยเป็นเรื่องที่พิสูจน์มานานแล้วว่าทำได้ยาก Fred Riggs (1966) เคยเสนอแนวคิดอันมีชื่อเสียงว่า ประเทศไทยเป็น "ระบอบอมาตยาธิปไตย" นั่นก็คือ ศักดินาและทหารต่างปกครองรัฐไทยเพื่อจุดประสงค์ของพวกเขาเองเป็นส่วนใหญ่ Hewison วิจารณ์แนวคิดอันทรงอิทธิพลนี้ว่ามันเป็นแนวคิดที่ไม่มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลง และชี้ให้เห็นว่าแนวคิดนี้ละเลยต่อการพิจารณาถึงการต่อต้านที่มีมายาวนาน และล้มเหลวในการทำนายถึงการเกิดขึ้นของการเมืองภาคประชาชนในทศวรรษ 1970 (ปี 2513-2522) (1998: 75)1 การสนทนาเรื่องการเมืองไทยในช่วงต่อมามักจะอยู่ในกรอบการเปลี่ยนแปลงทางประชาธิปไตยและการเปลี่ยนผ่านทางการเมือง (ชัยอนันต์ 1990) หลังรัฐประหารปี 2534 สมมติฐานอย่างง่าย ๆ เกี่ยวกับประชาธิปไตยไทยไม่สามารถใช้การได้อีกต่อไป นักวิชาการหลายคนเปลี่ยนไปให้ความสำคัญกับระบบเศรษกิจการเมืองที่กำลังเปลี่ยนแปลง การเกิดขึ้นของประชาสังคม พร้อมด้วยโครงการวิจัยเกี่ยวกับปฏิรูปการเมืองที่มีขอบเขตแคบลง (Connors 1999; McCargo 2002) บทความนี้จะใช้แนวทางค้นหาคำตอบอีกแนวทางหนึ่ง: เราเสนอว่าการเมืองไทยเป็นการเมืองที่มีลักษณะเป็นเครือข่าย ตั้งแต่ปี 2516 ถึง 2544 เครือข่ายทางการเมืองชั้นนำของประเทศไทยก็คือพระมหากษัตริย์ไทย กษัตริย์ภูมิพล ตั้งแต่ปี 2544 ฐานะอันสูงส่งของเครือข่ายกษัตริย์ได้ถูกท้าทายโดยการปรากฏตัวอันโดดเด่นของ ทักษิณ ชินวัตร เศรษฐีโทรคมนาคมผู้ทรงอิทธิพล
ตั้งแต่การขับไล่รัฐบาลเผด็จการถนอม-ประภาสในปี 2516 กษัตริย์ภูมิพลได้เป็นมากกว่าสัญลักษณ์ของประเทศและไม่ได้เป็นกษัตริย์ใต้รัฐธรรรมนูญตามแบบฉบับเลยแม้แต่น้อย นักเขียนคนอื่นๆ โดยเฉพาะ Hewison (1997) กอบเกื้อ (2002, 2003) และ Kershaw (2001) พยายามตรวจสอบบทบาททางการเมืองของกษัตริย์ไทยโดยโฟกัสไปที่ตัวพระมหากษัตริย์เอง บทความนี้จะใช้แนวทางที่แตกต่าง: เราจะมองกษัตริย์เป็นศูนย์กลางของระบอบการปกครองที่ค่อนข้างแปลกใหม่ ซึ่งเข้าใจได้ดีที่สุดในนามของเครือข่ายทางการเมือง "เครือข่ายกษัตริย์"ของประเทศไทยมีศูนย์กลางอยู่ที่ประธานองคมนตรี เปรม ติณสูลานนท์ เครือข่ายกษัตริย์คือรูปแบบการปกครองกึ่งกษัตริย์สมัยใหม่: พระมหากษัตริย์ไทยและเครือข่ายของพระองค์ได้สร้างระบบกษัตริย์ที่ทันสมัยไว้เป็นสถาบันคู่ขนานกับสถาบันทางการเมือง Anderson อธิบายถึงระบบกษัตริย์ไทยไว้ว่าเป็นรูปแบบการปกครองที่"เก่าแก่อย่างน่าสนใจ" (1978: 209) แต่เครือข่ายกษัตริย์นั้นเป็นการผลิตซ้ำที่ได้รับการปรับให้เข้ากับสมัยใหม่มากกว่าจะเป็นเพียงส่วนหลงเหลือของช่วงเวลาหนึ่ง การสร้างเครือข่ายกษัตริย์ให้แข็งแรงนั้นเป็นการโหยหาถึงช่วงสมบูรณาญาสิทธิราชย์ก่อนปี 2475 ที่ถูกทำให้อ่อนลงลงด้วยการยอมรับอย่างไม่เต็มใจนักว่าพระมหากษัตริย์ไทยสมัยใหม่ไม่อาจเป็นผู้ปกครองอย่างเบ็ดเสร็จได้อีกแล้ว อย่างไรก็ตาม "นักสร้างตำนานเกี่ยวกับกษัตริย์ก็ได้พยายามสร้างความเชื่อมโยงระหว่างรัชกาลที่ 5 กับรัชกาลปัจจุบันอย่างแข็งขัน" (Peleggi 2002: 167) Peter Jackson กล่าวว่า ตอนนี้ก็มีการสร้างลัทธิยกย่องรัชกาลที่ 9 เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ขึ้นมาแล้ว (Jackson 1999: 301-4)2 ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ผู้ซึ่งได้รับเลือกตั้งอย่างท่วมท้นถึงสองครั้งในปี 2544 และ 2548 พยายามแทนที่เครือข่ายอำนาจพระราชวงศ์ด้วยเครือข่ายกลุ่มใหม่อย่างเป็นระบบ
บทความต่างประเทศแปลแล้ว
บทความต่างประเทศแปลแล้ว
http://sites.google.com/site/networkmonarchy/
Duncan McCargo
ศาสตราจารย์ด้านการเมืองเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มหาวิทยาลัยลีดส์
ตีพิมพ์ลงใน The Pacific Review, Vol. 18 No. 4 December 2005: 499-519
บทคัดย่อ บทความนี้ให้เหตุผลว่า แนวคิดที่ใช้กันอย่างกว้างขวาง เช่น เรื่องระบอบอมาตยาธิปไตย ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ประชาธิปไตยระยะเปลี่ยนผ่าน และการปฏิรูปการเมืองนั้น ล้มเหลวในการอธิบายการเมืองไทยเมื่อไม่นานมานี้ได้อย่างถูกต้อง ในทางกลับกัน การเมืองไทยสามารถถูกเข้าใจได้ดีที่สุดในรูปเครือข่ายทางการเมือง เครือข่ายชั้นแนวหน้าในช่วง 2516-2544 มีศูนย์กลางอยู่ที่พระราชวัง ซึ่งในที่นี้จะเรียกว่า "เครือข่ายกษัตริย์" (network monarchy) เครือข่ายกษัตริย์เกี่ยวพันกับการแทรกแซงการเมืองของพระมหากษัตริย์ไทยและตัวแทนของพระองค์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อดีตนายกรัฐมนตรีเปรม ติณสูลานนท์ เครือข่ายกษัตริย์ได้สร้างอิทธิพลขนาดมหาศาล แต่ก็ไม่เคยประสบความสำเร็จจนถึงขั้นครอบงำประเทศ ในทางกลับกัน พระราชวังต้องทำงานผ่านสถาบันทางการเมืองอื่น ๆ โดยมีรัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้งเป็นหลัก แม้เครือข่ายกษัตริย์จะเป็นพวกอนุรักษ์นิยมโดยพื้นฐาน แต่พวกเขาก็มีรูปแบบเป็นฝ่ายเสรีนิยมในช่วงทศวรรษที่ 1990 (ปี 2533-2542) ประเทศไทยพบกับวิกฤติความชอบธรรมหลักๆมาสามครั้งตั้งแต่ 2535 ในแต่ละครั้ง เปรมรับบทบาทเป็นตัวแทนของพระราชวังในการสร้างสมดุลอำนาจทางการเมือง อย่างไรก็ตาม การแทรกแซงเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงจุดอ่อนที่กำลังขยายกว้างขึ้นของระบอบกษัตริย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่ ทักษิณ ชินวัตร ชนะการเลือกตั้งอย่างถล่มทลายในปี 2544 และ 2548 ทักษิณพยายามแทนที่เครือข่ายกษัตริย์ด้วยเครือข่ายใหม่ที่เขาสร้างขึ้น บทความนี้แนะนำว่าความเข้าใจแบบดั้งเดิมในเรื่องอำนาจของกษัตริย์นั้นจำเป็นต้องได้รับการทบทวนใหม่
บทนำ
วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2548 เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีไทย กล่าวปาฐกถาที่สำคัญในกรุงเทพฯเกี่ยวกับสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประชาชนมากกว่า 500 คนถูกฆ่าในเหตุการณ์รุนแรงตลอดปีที่ผ่านมา เปรมกระตุ้นนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำจากพระมหากษัตริย์และพระราชินี โดยให้ใช้แนวทางแก้ไขปัญหาที่สันติและระมัดระวังมากกว่าจะส่งกำลังไปอย่างรีบร้อนโดยไม่เข้าใจสถานการณ์อย่างถูกต้อง เขากล่าวปาฐกถาในงานสัมมนาที่มีชื่อว่า "การรวมพลังแก้ไขปัญหาชายแดนภาคใต้ ตามกระแสพระราชดำรัส" และอ้างถึงพระราชดำรัสวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2548 ซึ่งสนับสนุนให้ใช้การเข้าใจ การเข้าถึง และการพัฒนา ทักษิณอยู่ในวันที่มีการกล่าวพระราชดำรัสนั้นด้วยแต่เขาล้มเหลวในการปฏิบัติตาม เปรมอธิบายว่าทุกคนตั้งแต่ผู้นำชุมชนไปจนถึงเจ้าหน้าที่รัฐ นักวิชาการและเอ็นจีโอ ควรจะศึกษาพระราชดำรัสและปฏิบัติตาม (Thai Press Reports, 3 มีนาคม 2548) ภายในไม่กี่วัน รัฐบาลก็จัดตั้งคณะกรรมการสมานฉันท์แห่งชาติขึ้นมาเพื่อจัดการกับความไม่สงบในภาคใต้ นับเป็นการสวนทางกับนโยบายอันก่อนอย่างสิ้นเชิง
การแทรกแซงของเปรมในเรื่องวิกฤติภาคใต้เป็นตัวอย่างที่เด่นชัดเกี่ยวกับรูปแบบการปกครองหนึ่งของไทยที่ไม่ค่อยมีคนสังเกต นั่นคือ เครือข่ายกษัตริย์ เรื่องที่พระมหากษัตริย์ได้แทรกแซงการเมืองโดยตรงเป็นบางครั้งนั้นเป็นที่รู้จักกันดี ตัวอย่างที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ การแทรกแซงหลังเหตุการณ์นองเลือดเมื่อเดือนพฤษภาคม 2535 เมื่อกษัตริย์เรียกนายกรัฐมนตรีที่ไม่เป็นที่นิยมและผู้นำการประท้วงมาเข้าพบและสั่งให้พวกเขายุติความขัดแย้งลง แต่การแทรกแซงซึ่งยากที่จะพบเห็นอย่างนั้นก็เป็นเพียงส่วนเล็กๆที่ถูกเปิดเผยของเครือข่ายการเคลื่อนไหวทางการเมืองที่ยิ่งใหญ่ที่มีกษัตริย์เป็นแรงจูงใจ ในขณะที่ส่วนอื่นๆส่วนใหญ่ยังถูกปิดซ่อนจากสายตาสาธารณชนไว้อย่างมิดชิด เราจะมาตรวจสอบปรากฏการณ์และพัฒนาการของเครือข่ายกษัตริย์กัน ณ ที่นี้
http://sites.google.com/site/networkmonarchy/
Duncan McCargo
ศาสตราจารย์ด้านการเมืองเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มหาวิทยาลัยลีดส์
ตีพิมพ์ลงใน The Pacific Review, Vol. 18 No. 4 December 2005: 499-519
บทคัดย่อ บทความนี้ให้เหตุผลว่า แนวคิดที่ใช้กันอย่างกว้างขวาง เช่น เรื่องระบอบอมาตยาธิปไตย ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ประชาธิปไตยระยะเปลี่ยนผ่าน และการปฏิรูปการเมืองนั้น ล้มเหลวในการอธิบายการเมืองไทยเมื่อไม่นานมานี้ได้อย่างถูกต้อง ในทางกลับกัน การเมืองไทยสามารถถูกเข้าใจได้ดีที่สุดในรูปเครือข่ายทางการเมือง เครือข่ายชั้นแนวหน้าในช่วง 2516-2544 มีศูนย์กลางอยู่ที่พระราชวัง ซึ่งในที่นี้จะเรียกว่า "เครือข่ายกษัตริย์" (network monarchy) เครือข่ายกษัตริย์เกี่ยวพันกับการแทรกแซงการเมืองของพระมหากษัตริย์ไทยและตัวแทนของพระองค์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อดีตนายกรัฐมนตรีเปรม ติณสูลานนท์ เครือข่ายกษัตริย์ได้สร้างอิทธิพลขนาดมหาศาล แต่ก็ไม่เคยประสบความสำเร็จจนถึงขั้นครอบงำประเทศ ในทางกลับกัน พระราชวังต้องทำงานผ่านสถาบันทางการเมืองอื่น ๆ โดยมีรัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้งเป็นหลัก แม้เครือข่ายกษัตริย์จะเป็นพวกอนุรักษ์นิยมโดยพื้นฐาน แต่พวกเขาก็มีรูปแบบเป็นฝ่ายเสรีนิยมในช่วงทศวรรษที่ 1990 (ปี 2533-2542) ประเทศไทยพบกับวิกฤติความชอบธรรมหลักๆมาสามครั้งตั้งแต่ 2535 ในแต่ละครั้ง เปรมรับบทบาทเป็นตัวแทนของพระราชวังในการสร้างสมดุลอำนาจทางการเมือง อย่างไรก็ตาม การแทรกแซงเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงจุดอ่อนที่กำลังขยายกว้างขึ้นของระบอบกษัตริย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่ ทักษิณ ชินวัตร ชนะการเลือกตั้งอย่างถล่มทลายในปี 2544 และ 2548 ทักษิณพยายามแทนที่เครือข่ายกษัตริย์ด้วยเครือข่ายใหม่ที่เขาสร้างขึ้น บทความนี้แนะนำว่าความเข้าใจแบบดั้งเดิมในเรื่องอำนาจของกษัตริย์นั้นจำเป็นต้องได้รับการทบทวนใหม่
บทนำ
วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2548 เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีไทย กล่าวปาฐกถาที่สำคัญในกรุงเทพฯเกี่ยวกับสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประชาชนมากกว่า 500 คนถูกฆ่าในเหตุการณ์รุนแรงตลอดปีที่ผ่านมา เปรมกระตุ้นนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำจากพระมหากษัตริย์และพระราชินี โดยให้ใช้แนวทางแก้ไขปัญหาที่สันติและระมัดระวังมากกว่าจะส่งกำลังไปอย่างรีบร้อนโดยไม่เข้าใจสถานการณ์อย่างถูกต้อง เขากล่าวปาฐกถาในงานสัมมนาที่มีชื่อว่า "การรวมพลังแก้ไขปัญหาชายแดนภาคใต้ ตามกระแสพระราชดำรัส" และอ้างถึงพระราชดำรัสวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2548 ซึ่งสนับสนุนให้ใช้การเข้าใจ การเข้าถึง และการพัฒนา ทักษิณอยู่ในวันที่มีการกล่าวพระราชดำรัสนั้นด้วยแต่เขาล้มเหลวในการปฏิบัติตาม เปรมอธิบายว่าทุกคนตั้งแต่ผู้นำชุมชนไปจนถึงเจ้าหน้าที่รัฐ นักวิชาการและเอ็นจีโอ ควรจะศึกษาพระราชดำรัสและปฏิบัติตาม (Thai Press Reports, 3 มีนาคม 2548) ภายในไม่กี่วัน รัฐบาลก็จัดตั้งคณะกรรมการสมานฉันท์แห่งชาติขึ้นมาเพื่อจัดการกับความไม่สงบในภาคใต้ นับเป็นการสวนทางกับนโยบายอันก่อนอย่างสิ้นเชิง
การแทรกแซงของเปรมในเรื่องวิกฤติภาคใต้เป็นตัวอย่างที่เด่นชัดเกี่ยวกับรูปแบบการปกครองหนึ่งของไทยที่ไม่ค่อยมีคนสังเกต นั่นคือ เครือข่ายกษัตริย์ เรื่องที่พระมหากษัตริย์ได้แทรกแซงการเมืองโดยตรงเป็นบางครั้งนั้นเป็นที่รู้จักกันดี ตัวอย่างที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ การแทรกแซงหลังเหตุการณ์นองเลือดเมื่อเดือนพฤษภาคม 2535 เมื่อกษัตริย์เรียกนายกรัฐมนตรีที่ไม่เป็นที่นิยมและผู้นำการประท้วงมาเข้าพบและสั่งให้พวกเขายุติความขัดแย้งลง แต่การแทรกแซงซึ่งยากที่จะพบเห็นอย่างนั้นก็เป็นเพียงส่วนเล็กๆที่ถูกเปิดเผยของเครือข่ายการเคลื่อนไหวทางการเมืองที่ยิ่งใหญ่ที่มีกษัตริย์เป็นแรงจูงใจ ในขณะที่ส่วนอื่นๆส่วนใหญ่ยังถูกปิดซ่อนจากสายตาสาธารณชนไว้อย่างมิดชิด เราจะมาตรวจสอบปรากฏการณ์และพัฒนาการของเครือข่ายกษัตริย์กัน ณ ที่นี้
เครือข่ายพลเมืองเน็ต
เครือข่ายพลเมืองเน็ต
ได้มีการเปิดตัวกลุ่มเคลื่อนไหวรณรงค์เรื่องอิสรภาพของสื่ออินเทอร์เน็ต
> ภายใต้ชื่อ
> เครือข่ายพลเมืองเน็ต
> (Thai Netizen
> Network)ซึ่งเป็นการรวมตัวกันของกลุ่มคนในลักษณะเครือข่ายของพลเมืองผู้ใช้สื่ออินเทอร์เน็ต
> ที่มีความเชื่อมั่นร่วมกันในเรื่องสิทธิเสรีภาพการแสวงหาข้อมูลข่าวสาร
> การแสดงความคิดเห็น
> แสดงออก
> การปกป้องสิทธิพลเมือง
> เสรีภาพของสื่อออนไลน์
> และการสนับสนุน
> สื่อพลเมือง
> (Civic Journalism)
>
> จุดยืนของ
> เครือข่ายพลเมืองเน็ต
>
> เรารวมตัวเพื่อทำงานรณรงค์เชิงนโยบายในระดับประเทศเพื่อการธำรงและปกป้อง
> อิสรภาพในโลกไซเบอร์
> (Cyber-liberty)
> ซึ่งหมายถึงสิทธิพลเมืองเน็ต
> (Netizens’ rights)
> และเสรีภาพสื่อออนไลน์
> (Freedom of
> online media)
> บนพื้นฐานของหลัก
> 5 ประการดังนี้
>
>
>
> สิทธิเสรีภาพในการเข้าถึง
> และ
> รับรู้ข้อมูลข่าวสาร
> ความคิดเห็น
> สาระบันเทิง
> และอื่นๆ (Right to Access)
> ด้วยความตระหนักถึงสิทธิความเป็นส่วนตัวของบุคคลอื่น
>
>
> สิทธิเสรีภาพในการแสดงออก
> ซึ่งความคิดเห็นความรู้สึก
> ต่อเรื่อง สังคม
> การเมือง
> เศรษฐกิจ วัฒนธรรม
> ชีวิต ฯลฯ (Freedom of Expression)
> บนพื้นฐานของการเคารพศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์ของผู้อื่น
>
>
>
> สิทธิในการความเป็นส่วนตัวและการได้รับการปกป้องคุ้มครองอันปลอดภัยจากการสอดส่อง
> (Surveillance)
> โดยรัฐและหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
>
>
>
> สนับสนุนกลไกการสร้างความรับผิดชอบร่วมกัน(Responsibility)
> ของชุมชนสื่อออนไลน์
> การกำกับดูแลกันเอง
> (Self-regulation)
> ไม่ใช่การปิดกั้น
> ควบคุม
> (Censorship)
> โดยไม่มีขอบเขตจากหน่วยงานรัฐ
> รวมถึงการปิดกั้นตนเองโดยทั้งระบบ
> (Institutionalized censorship)
> หัวใจสำคัญคือการสร้างความชัดเจน
> และกำหนดเส้นแบ่งระหว่างเสรีภาพในการสื่อสารซึ่งแตกต่างจากอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์
>
>
> สนับสนุนหลักการเรื่องความเสมอภาค
> ความเป็นเจ้าของร่วมกัน
> ความเป็นสมบัติสาธารณะในโลกออนไลน์
> การไม่ผูกขาดทางเศรษฐกิจและทรัพย์สินทางปัญญาจนเกินขอบเขต
> (Common Property)
>
>
> ข้อเสนอต่อรัฐและสังคม
> ต่อเรื่องการกำกับดูแลสื่ออินเทอร์เน็ตและการบังคับใช้กฎหมาย
>
>
>
> รัฐต้องเน้นการกำกับดูแลเพื่อส่งเสริมอิสรภาพการสื่อสารของ
> สื่อออนไลน์มากกว่าการควบคุม
> โดยต้องสนับสนุนกลไกการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการกำหนด
> นโยบายและการบังคับใช้กฎหมาย
>
> รัฐสภา
> ควรมีการปรับแก้กฎหมาย
> พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
> พ.ศ.2550 ให้
> มีความชัดเจนในการเรื่องการจำแนก
> อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์
> ออกจาก
> เสรีภาพในการสื่อสาร
> ทั้งนี้ควรมีกระบวนการที่ปกป้องสิทธิพลเมืองเน็ตและเสรีภาพของสื่อออนไลน์
> ที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากล
> และหลักการสิทธิมนุษยชนในการสื่อสาร
>
> พรรคการเมือง
> กลุ่มทางการเมือง และ
> สังคม
> ไม่ควรคุกคามสิทธิพลเมืองเน็ตและเสรีภาพสื่อออนไลน์
> ด้วยวิถีทางการเมืองและมาตรการทางกฎหมายที่ไม่เป็นธรรม
> อีกทั้งไม่ควรใช้ประเด็นดังกล่าวเป็นเครื่องมือในการต่อสู้ทำลายล้างทางการ
> เมือง
> โดยปราศจากการเคารพหลักการสากลว่าด้วยเรื่องเสรีภาพการสื่อสารผ่านสื่ออิน
> เทอร์เน็ต
>
>
> ใครที่จะเป็นสมาชิกกลุ่มได้บ้าง
> ทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย
> ทุกสาขาอาชีพ
> ทุกรสนิยมทางการเมือง
> เศรษฐกิจ สังคม และ
> การใช้ชีวิต
> ที่เข้าถึงและใช้สื่ออินเทอร์เน็ต
> ด้วยความเชื่อมั่นพื้นฐานเรื่องเสรีภาพอย่างเสมอภาคของปัจเจกบุคคลและสังคม
> ในเรื่องการแสดงความคิดเห็น
> การแสดงออก
> และการกำกับดูแลบนพื้นฐานของความรับผิดชอบร่วมกัน
>
> จุดยืนทางการเมืองของกลุ่มคือ
>
> เครือข่ายพลเมืองเน็ต
> เคารพรสนิยมและความเชื่อที่แตกต่างทางการเมืองของทุกคน
> และเราประกาศตัวเป็นกลุ่มที่ไม่เกี่ยวข้องกับกลุ่มการเมืองใดๆ
> (Non-partisan) ทั้งนี้
> เรามีจุดยืนพื้นฐานร่วมกันคือความเชื่อมั่นการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
> เนื่องเพราะสิ่งนี้จะเป็นรากฐานสำคัญของสิทธิเสรีภาพในการสื่อสาร
> และ สิทธิมนุษยชน
> ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการธำรงอิสรภาพแห่งโลกไซเบอร์
>
> สมัครเป็นสมาชิกกลุ่มได้อย่างไรบ้าง
> เพียงส่ง Email address
> ของคุณมาที่ freethainetizen@gmail.com
>
> ทั้งนี้จะสมัครเป็นสมาชิกแบบนิรนาม
> และ
> เปิดเผยตัวตน
> ก็ได้เราจะรวบรวมรายชื่อและที่ติดต่อของท่านไว้เป็นสมาชิกเพื่อส่งต่อข้อมูลข่าวสารและกิจกรรมของกลุ่มต่อไป
>
>http://www.media4democracy.com/th/index.php?option=com_content&task=view&id=1244&Itemid=
>
> Thai Netizen
> Network: We stand for cyber-liberty!
>
>
ได้มีการเปิดตัวกลุ่มเคลื่อนไหวรณรงค์เรื่องอิสรภาพของสื่ออินเทอร์เน็ต
> ภายใต้ชื่อ
> เครือข่ายพลเมืองเน็ต
> (Thai Netizen
> Network)ซึ่งเป็นการรวมตัวกันของกลุ่มคนในลักษณะเครือข่ายของพลเมืองผู้ใช้สื่ออินเทอร์เน็ต
> ที่มีความเชื่อมั่นร่วมกันในเรื่องสิทธิเสรีภาพการแสวงหาข้อมูลข่าวสาร
> การแสดงความคิดเห็น
> แสดงออก
> การปกป้องสิทธิพลเมือง
> เสรีภาพของสื่อออนไลน์
> และการสนับสนุน
> สื่อพลเมือง
> (Civic Journalism)
>
> จุดยืนของ
> เครือข่ายพลเมืองเน็ต
>
> เรารวมตัวเพื่อทำงานรณรงค์เชิงนโยบายในระดับประเทศเพื่อการธำรงและปกป้อง
> อิสรภาพในโลกไซเบอร์
> (Cyber-liberty)
> ซึ่งหมายถึงสิทธิพลเมืองเน็ต
> (Netizens’ rights)
> และเสรีภาพสื่อออนไลน์
> (Freedom of
> online media)
> บนพื้นฐานของหลัก
> 5 ประการดังนี้
>
>
>
> สิทธิเสรีภาพในการเข้าถึง
> และ
> รับรู้ข้อมูลข่าวสาร
> ความคิดเห็น
> สาระบันเทิง
> และอื่นๆ (Right to Access)
> ด้วยความตระหนักถึงสิทธิความเป็นส่วนตัวของบุคคลอื่น
>
>
> สิทธิเสรีภาพในการแสดงออก
> ซึ่งความคิดเห็นความรู้สึก
> ต่อเรื่อง สังคม
> การเมือง
> เศรษฐกิจ วัฒนธรรม
> ชีวิต ฯลฯ (Freedom of Expression)
> บนพื้นฐานของการเคารพศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์ของผู้อื่น
>
>
>
> สิทธิในการความเป็นส่วนตัวและการได้รับการปกป้องคุ้มครองอันปลอดภัยจากการสอดส่อง
> (Surveillance)
> โดยรัฐและหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
>
>
>
> สนับสนุนกลไกการสร้างความรับผิดชอบร่วมกัน(Responsibility)
> ของชุมชนสื่อออนไลน์
> การกำกับดูแลกันเอง
> (Self-regulation)
> ไม่ใช่การปิดกั้น
> ควบคุม
> (Censorship)
> โดยไม่มีขอบเขตจากหน่วยงานรัฐ
> รวมถึงการปิดกั้นตนเองโดยทั้งระบบ
> (Institutionalized censorship)
> หัวใจสำคัญคือการสร้างความชัดเจน
> และกำหนดเส้นแบ่งระหว่างเสรีภาพในการสื่อสารซึ่งแตกต่างจากอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์
>
>
> สนับสนุนหลักการเรื่องความเสมอภาค
> ความเป็นเจ้าของร่วมกัน
> ความเป็นสมบัติสาธารณะในโลกออนไลน์
> การไม่ผูกขาดทางเศรษฐกิจและทรัพย์สินทางปัญญาจนเกินขอบเขต
> (Common Property)
>
>
> ข้อเสนอต่อรัฐและสังคม
> ต่อเรื่องการกำกับดูแลสื่ออินเทอร์เน็ตและการบังคับใช้กฎหมาย
>
>
>
> รัฐต้องเน้นการกำกับดูแลเพื่อส่งเสริมอิสรภาพการสื่อสารของ
> สื่อออนไลน์มากกว่าการควบคุม
> โดยต้องสนับสนุนกลไกการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการกำหนด
> นโยบายและการบังคับใช้กฎหมาย
>
> รัฐสภา
> ควรมีการปรับแก้กฎหมาย
> พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
> พ.ศ.2550 ให้
> มีความชัดเจนในการเรื่องการจำแนก
> อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์
> ออกจาก
> เสรีภาพในการสื่อสาร
> ทั้งนี้ควรมีกระบวนการที่ปกป้องสิทธิพลเมืองเน็ตและเสรีภาพของสื่อออนไลน์
> ที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากล
> และหลักการสิทธิมนุษยชนในการสื่อสาร
>
> พรรคการเมือง
> กลุ่มทางการเมือง และ
> สังคม
> ไม่ควรคุกคามสิทธิพลเมืองเน็ตและเสรีภาพสื่อออนไลน์
> ด้วยวิถีทางการเมืองและมาตรการทางกฎหมายที่ไม่เป็นธรรม
> อีกทั้งไม่ควรใช้ประเด็นดังกล่าวเป็นเครื่องมือในการต่อสู้ทำลายล้างทางการ
> เมือง
> โดยปราศจากการเคารพหลักการสากลว่าด้วยเรื่องเสรีภาพการสื่อสารผ่านสื่ออิน
> เทอร์เน็ต
>
>
> ใครที่จะเป็นสมาชิกกลุ่มได้บ้าง
> ทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย
> ทุกสาขาอาชีพ
> ทุกรสนิยมทางการเมือง
> เศรษฐกิจ สังคม และ
> การใช้ชีวิต
> ที่เข้าถึงและใช้สื่ออินเทอร์เน็ต
> ด้วยความเชื่อมั่นพื้นฐานเรื่องเสรีภาพอย่างเสมอภาคของปัจเจกบุคคลและสังคม
> ในเรื่องการแสดงความคิดเห็น
> การแสดงออก
> และการกำกับดูแลบนพื้นฐานของความรับผิดชอบร่วมกัน
>
> จุดยืนทางการเมืองของกลุ่มคือ
>
> เครือข่ายพลเมืองเน็ต
> เคารพรสนิยมและความเชื่อที่แตกต่างทางการเมืองของทุกคน
> และเราประกาศตัวเป็นกลุ่มที่ไม่เกี่ยวข้องกับกลุ่มการเมืองใดๆ
> (Non-partisan) ทั้งนี้
> เรามีจุดยืนพื้นฐานร่วมกันคือความเชื่อมั่นการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
> เนื่องเพราะสิ่งนี้จะเป็นรากฐานสำคัญของสิทธิเสรีภาพในการสื่อสาร
> และ สิทธิมนุษยชน
> ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการธำรงอิสรภาพแห่งโลกไซเบอร์
>
> สมัครเป็นสมาชิกกลุ่มได้อย่างไรบ้าง
> เพียงส่ง Email address
> ของคุณมาที่ freethainetizen@gmail.com
>
> ทั้งนี้จะสมัครเป็นสมาชิกแบบนิรนาม
> และ
> เปิดเผยตัวตน
> ก็ได้เราจะรวบรวมรายชื่อและที่ติดต่อของท่านไว้เป็นสมาชิกเพื่อส่งต่อข้อมูลข่าวสารและกิจกรรมของกลุ่มต่อไป
>
>http://www.media4democracy.com/th/index.php?option=com_content&task=view&id=1244&Itemid=
>
> Thai Netizen
> Network: We stand for cyber-liberty!
>
>
Wednesday, December 17, 2008
วิทยุฟ้าใหม่ สถานีที่ 1http://newsky.no-ip.com:9000
วิทยุฟ้าใหม่ สถานี2 http://newsky2.no-ip.com:9020
วิทยุฟ้าใหม่ สถานีที่ 3 http://newsky3.no-ip.com:3000
วิทยุคนรู้ใจ อ.ชูพงษ์ http://chupong.no-ip.org:9009/
วิทยุคนไทย.org mms://khonthai.no-ip.org:5050/
วิทยุแท็กซี่ http://radio2.toncoon.com:9018
วิทยุ 97.0 ถ่ายทอดโดยฟ้าใหม่http://newsky.no-ip.com:9000
วิทยุ 105 MHzhttp://radio.thaidhost
Ton.... ..... says:
[wma=200,50]xxxx[/wma]
วิทยุฟ้าใหม่ สถานี2 http://newsky2.no-ip.com:9020
วิทยุฟ้าใหม่ สถานีที่ 3 http://newsky3.no-ip.com:3000
วิทยุคนรู้ใจ อ.ชูพงษ์ http://chupong.no-ip.org:9009/
วิทยุคนไทย.org mms://khonthai.no-ip.org:5050/
วิทยุแท็กซี่ http://radio2.toncoon.com:9018
วิทยุ 97.0 ถ่ายทอดโดยฟ้าใหม่http://newsky.no-ip.com:9000
วิทยุ 105 MHzhttp://radio.thaidhost
Ton.... ..... says:
[wma=200,50]xxxx[/wma]
Monday, December 15, 2008
ลุกฮือแบบไร้แกนนำ คนเหนือเตรียมเข้ากทม. ประจานรายชื่อสส.งูเห่า
กระแสความโกรธแค้นของประชาชนพุ่งขึ้นทันที หลังส.ส.พรรคร่วมเดิม และกลุ่มงูเห่าโหวตให้นายอภิสิทธิ์เป็นนายกฯ
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่หน้ารัฐสภาวันนี้ เกิดขึ้นโดยปราศจากแกนนำ คือตัวอย่างของปรากฏการณ์ดังกล่าว "เหตุการณ์หน้ารัฐสภา ชัดเจนมาก เพราะมาจากประชาชนจริงๆ ไม่ได้เกิดจากการจัดตั้งของแกนนำ น่ากลัวไหมล่ะ? การต่อสู้ที่ประชาชนลุกขึ้นมาเอง โดยไม่มีผู้นำซึ่งถึงแม้ผมจะแสดงความไม่เห็นด้วย เพราะการล้อมรัฐสภา มันไม่สามารถแก้ไขสิ่งที่เกิดขึ้นในรัฐสภาจากการโหวตเสียงได้ แต่นี่ก้เป็นการแสดงออกที่น่ากลัว" คุณมังกรดำ นักสังเกตการณ์ทางการเมืองฝ่ายสีแดงกล่าวผ่านบอร์ดประชาไท
เหนือบุก
รายงานยังมีด้วยว่า ประชาชนทางภาคเหนือได้รวมกลุ่มกัน เตรียมลงมาประท้วงที่กทม.แล้ว "เชียงใหม่ ลำพูน และจังหวัดใกล้เคียง รวมพลชุดแรก เตรียมเข้า กทม.เย็นนี้ เพื่อช่วยฝ่ายแดง กทม.หลังทราบว่า ฝ่ายแดงที่ กทม.ถูกเจ้าหน้าที่ใช้กำลังสลาย เตรียมข้าวสาร หม้อข้าว หม้อแกง พริกเกลือพร้อม กะอยู่ยาว ประกาศกร้าวไม่ยอมรับรัฐบาลที่สนับสนุนกบฎ และผู้ก่อการร้ายสากล ถ้าถูกสะกัดกั้นด้วยกำลังและอาวุธ พร้อมสู้ตายกันไปข้างหนึ่ง...เอ้า...หมู่เฮา..สู้ต๋ายยยย...โว้ยยยยย.." รายงานโดยคุณ willy สมาชิกบอร์ดประชา
ดูรูปภาพได้ที่นี่ http://thaienews.blogspot.com/2008/12/blog-post_6779.html
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่หน้ารัฐสภาวันนี้ เกิดขึ้นโดยปราศจากแกนนำ คือตัวอย่างของปรากฏการณ์ดังกล่าว "เหตุการณ์หน้ารัฐสภา ชัดเจนมาก เพราะมาจากประชาชนจริงๆ ไม่ได้เกิดจากการจัดตั้งของแกนนำ น่ากลัวไหมล่ะ? การต่อสู้ที่ประชาชนลุกขึ้นมาเอง โดยไม่มีผู้นำซึ่งถึงแม้ผมจะแสดงความไม่เห็นด้วย เพราะการล้อมรัฐสภา มันไม่สามารถแก้ไขสิ่งที่เกิดขึ้นในรัฐสภาจากการโหวตเสียงได้ แต่นี่ก้เป็นการแสดงออกที่น่ากลัว" คุณมังกรดำ นักสังเกตการณ์ทางการเมืองฝ่ายสีแดงกล่าวผ่านบอร์ดประชาไท
เหนือบุก
รายงานยังมีด้วยว่า ประชาชนทางภาคเหนือได้รวมกลุ่มกัน เตรียมลงมาประท้วงที่กทม.แล้ว "เชียงใหม่ ลำพูน และจังหวัดใกล้เคียง รวมพลชุดแรก เตรียมเข้า กทม.เย็นนี้ เพื่อช่วยฝ่ายแดง กทม.หลังทราบว่า ฝ่ายแดงที่ กทม.ถูกเจ้าหน้าที่ใช้กำลังสลาย เตรียมข้าวสาร หม้อข้าว หม้อแกง พริกเกลือพร้อม กะอยู่ยาว ประกาศกร้าวไม่ยอมรับรัฐบาลที่สนับสนุนกบฎ และผู้ก่อการร้ายสากล ถ้าถูกสะกัดกั้นด้วยกำลังและอาวุธ พร้อมสู้ตายกันไปข้างหนึ่ง...เอ้า...หมู่เฮา..สู้ต๋ายยยย...โว้ยยยยย.." รายงานโดยคุณ willy สมาชิกบอร์ดประชา
ดูรูปภาพได้ที่นี่ http://thaienews.blogspot.com/2008/12/blog-post_6779.html
รายชื่อ สส และโหวตให้ใคร ดูตามพรรคชัดๆ (พรรคเก่า)
รายชื่อ สส และโหวตให้ใคร ดูตามพรรคชัดๆ (พรรคเก่า)
ที่ไปเลือก ปชป มีดังต่อไปนี้
พรรคชาติไทย=14คน
พรรคพลังประชาชน=33คน
เพื่อแผ่นดิน=12คน
มัชฌิมาธิปไตย=8คน
รวมใจชาติพัฒนา=5คน
รวม72 สส ที่ยอมขายตัวให้กับพรรค (ปชป)
___จดจำชื่อ สส กบฎ ต่อประชาชน ยอมไปอยู่ใต้รองเท้าบู๊ด____
นายเกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร ชาติไทย อภิสิทธิ์
นายชาดา ไทยเศรษฐ์ ชาติไทย อภิสิทธิ์
นายเชวงศักดิ์ เร่งไพบูลย์วงษ์ ชาติไทย อภิสิทธิ์
นายตุ่น จินตะเวช ชาติไทย อภิสิทธิ์
นายนิโรธ สุนทรเลขา ชาติไทย อภิสิทธิ์
นางปารีณา ไกรคุปต์ ปาจรียางกูร ชาติไทย อภิสิทธิ์
นายพีระเดช ศิริวันสาณฑ์ ชาติไทย อภิสิทธิ์
นายภราดร ปริศนานันทกุล ชาติไทย อภิสิทธิ์
นายวัชระ ยาวอหะซัน ชาติไทย อภิสิทธิ์
นายวิจิตร พรพฤฒิพันธุ์ ชาติไทย อภิสิทธิ์
นายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ ชาติไทย อภิสิทธิ์
พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์ ชาติไทย อภิสิทธิ์
นายสมเจตน์ ลิมปะพันธุ์ ชาติไทย อภิสิทธิ์
นายอัศวิน วิภูศิริ ชาติไทย อภิสิทธิ์
พันตำรวจโท กานต์ เทียนแก้ว พลังประชาชน อภิสิทธิ์
นายกิตติศักดิ์ รุ่งธนเกียรติ พลังประชาชน อภิสิทธิ์
นายคงกฤช หงษ์วิไล พลังประชาชน อภิสิทธิ์
นายเฉลิมชาติ การุญ พลังประชาชน อภิสิทธิ์
นายชยุต ภุมมะกาญจนะ พลังประชาชน อภิสิทธิ์
นายเชิดชัย วิเชียรวรรณ พลังประชาชน อภิสิทธิ์
นายทวีวัฒน์ ฤทธิ์ฤาชัย พลังประชาชน อภิสิทธิ์
นายเทวฤทธิ์ นิกรเทศ พลังประชาชน อภิสิทธิ์
นายธีระทัศน์ เตียวเจริญโสภา พลังประชาชน อภิสิทธิ์
นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ พลังประชาชน อภิสิทธิ์
นายประจักษ์ แกล้วกล้าหาญ พลังประชาชน อภิสิทธิ์
นายประสิทธิ์ ตั้งศรีเกียรติกุล พลังประชาชน อภิสิทธิ์
นายปัญญา ศรีปัญญา พลังประชาชน อภิสิทธิ์
นางพัฒนา สังขทรัพย์ พลังประชาชน อภิสิทธิ์
นายเพิ่มพูน ทองศรี พลังประชาชน อภิสิทธิ์
นายมนต์ชัย วิวัฒน์ธนาฒย์ พลังประชาชน อภิสิทธิ์
นายมนต์ไชย ชาติวัฒนศิริ พลังประชาชน อภิสิทธิ์
นางมลิวัลย์ ธัญญสกุลกิจ พลังประชาชน อภิสิทธิ์
นายมานะศักดิ์ จันทร์ประสงค์ พลังประชาชน อภิสิทธิ์
นายยรรยง ร่วมพัฒนา พลังประชาชน อภิสิทธิ์
นายรังสิกร ทิมาตฤกะ พลังประชาชน อภิสิทธิ์
นายเลิศศักดิ์ ทัศนเศรษฐ พลังประชาชน อภิสิทธิ์
นายวารุจ ศิริวัฒน์ พลังประชาชน อภิสิทธิ์
นายวิเชียร อุดมศักดิ์ พลังประชาชน อภิสิทธิ์
นายวีระ รักความสุข พลังประชาชน อภิสิทธิ์
นายศุภชัย โพธิ์สุ พลังประชาชน อภิสิทธิ์
นายสนอง เทพอักษรณรงค์ พลังประชาชน อภิสิทธิ์
นายสันทัด จีนาภักดิ์ พลังประชาชน อภิสิทธิ์
นายสากล ม่วงศิริ พลังประชาชน อภิสิทธิ์
นายสาธิต เทพวงศ์ศิริรัตน์ พลังประชาชน อภิสิทธิ์
นายสุขุมพงศ์ โง่นคำ พลังประชาชน อภิสิทธิ์
นายสุชาติ โชคชัยวัฒนากร พลังประชาชน อภิสิทธิ์
นายโสภณ ซารัมย์ พลังประชาชน อภิสิทธิ์
นายไชยยศ จิรเมธากร เพื่อแผ่นดิน อภิสิทธิ์
นายนรพล ตันติมนตรี เพื่อแผ่นดิน อภิสิทธิ์
นายประนอม โพธิ์คำ เพื่อแผ่นดิน อภิสิทธิ์
นายพลพีร์ สุวรรณฉวี เพื่อแผ่นดิน อภิสิทธิ์
นายพิกิฏ ศรีชนะ เพื่อแผ่นดิน อภิสิทธิ์
นายพิเชษฐ์ ตันเจริญ เพื่อแผ่นดิน อภิสิทธิ์
นายรณฤทธิชัย คานเขต เพื่อแผ่นดิน อภิสิทธิ์
ร้อยตรีหญิง ระนองรักษ์ สุวรรณฉวี เพื่อแผ่นดิน อภิสิทธิ์
นายวิทยา บุตรดีวงค์ เพื่อแผ่นดิน อภิสิทธิ์
นายสุชาติ ตันติวณิชชานนท์ เพื่อแผ่นดิน อภิสิทธิ์
นายอนุวัฒน์ วิเศษจินดาวัฒน์ เพื่อแผ่นดิน อภิสิทธิ์
นายอลงกต มณีกาศ เพื่อแผ่นดิน อภิสิทธิ์
นายเกียรติกร พากเพียรศิลป์ มัชฌิมาธิปไตย อภิสิทธิ์
นายณัฐวุฒิ สุขเกษม มัชฌิมาธิปไตย อภิสิทธิ์
นายปกรณ์ มุ่งเจริญพร มัชฌิมาธิปไตย อภิสิทธิ์
นางพรทิวา นาคาศัย มัชฌิมาธิปไตย อภิสิทธิ์
นายมานิต นพอมรบดี มัชฌิมาธิปไตย อภิสิทธิ์
นายมาโนช เฮงยศมาก มัชฌิมาธิปไตย อภิสิทธิ์
นายสมนึก เฮงวาณิชย์ มัชฌิมาธิปไตย อภิสิทธิ์
นางอุดมลักษณ์ เพ็งนรพัฒน์ มัชฌิมาธิปไตย อภิสิทธิ์
นายประเสริฐ บุญชัยสุข รวมใจไทยชาติพัฒนา อภิสิทธิ์
นายวรรณรัตน์ ชาญนุกูล รวมใจไทยชาติพัฒนา อภิสิทธิ์
นางวรศุลี สุวรรณปริสุทธิ์ รวมใจไทยชาติพัฒนา อภิสิทธิ์
นายวัชรพล โตมรศักดิ์ รวมใจไทยชาติพัฒนา อภิสิทธิ์
นายวินัย ภัทรประสิทธิ์ รวมใจไทยชาติพัฒนา อภิสิทธิ์
ที่ไปเลือก ปชป มีดังต่อไปนี้
พรรคชาติไทย=14คน
พรรคพลังประชาชน=33คน
เพื่อแผ่นดิน=12คน
มัชฌิมาธิปไตย=8คน
รวมใจชาติพัฒนา=5คน
รวม72 สส ที่ยอมขายตัวให้กับพรรค (ปชป)
___จดจำชื่อ สส กบฎ ต่อประชาชน ยอมไปอยู่ใต้รองเท้าบู๊ด____
นายเกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร ชาติไทย อภิสิทธิ์
นายชาดา ไทยเศรษฐ์ ชาติไทย อภิสิทธิ์
นายเชวงศักดิ์ เร่งไพบูลย์วงษ์ ชาติไทย อภิสิทธิ์
นายตุ่น จินตะเวช ชาติไทย อภิสิทธิ์
นายนิโรธ สุนทรเลขา ชาติไทย อภิสิทธิ์
นางปารีณา ไกรคุปต์ ปาจรียางกูร ชาติไทย อภิสิทธิ์
นายพีระเดช ศิริวันสาณฑ์ ชาติไทย อภิสิทธิ์
นายภราดร ปริศนานันทกุล ชาติไทย อภิสิทธิ์
นายวัชระ ยาวอหะซัน ชาติไทย อภิสิทธิ์
นายวิจิตร พรพฤฒิพันธุ์ ชาติไทย อภิสิทธิ์
นายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ ชาติไทย อภิสิทธิ์
พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์ ชาติไทย อภิสิทธิ์
นายสมเจตน์ ลิมปะพันธุ์ ชาติไทย อภิสิทธิ์
นายอัศวิน วิภูศิริ ชาติไทย อภิสิทธิ์
พันตำรวจโท กานต์ เทียนแก้ว พลังประชาชน อภิสิทธิ์
นายกิตติศักดิ์ รุ่งธนเกียรติ พลังประชาชน อภิสิทธิ์
นายคงกฤช หงษ์วิไล พลังประชาชน อภิสิทธิ์
นายเฉลิมชาติ การุญ พลังประชาชน อภิสิทธิ์
นายชยุต ภุมมะกาญจนะ พลังประชาชน อภิสิทธิ์
นายเชิดชัย วิเชียรวรรณ พลังประชาชน อภิสิทธิ์
นายทวีวัฒน์ ฤทธิ์ฤาชัย พลังประชาชน อภิสิทธิ์
นายเทวฤทธิ์ นิกรเทศ พลังประชาชน อภิสิทธิ์
นายธีระทัศน์ เตียวเจริญโสภา พลังประชาชน อภิสิทธิ์
นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ พลังประชาชน อภิสิทธิ์
นายประจักษ์ แกล้วกล้าหาญ พลังประชาชน อภิสิทธิ์
นายประสิทธิ์ ตั้งศรีเกียรติกุล พลังประชาชน อภิสิทธิ์
นายปัญญา ศรีปัญญา พลังประชาชน อภิสิทธิ์
นางพัฒนา สังขทรัพย์ พลังประชาชน อภิสิทธิ์
นายเพิ่มพูน ทองศรี พลังประชาชน อภิสิทธิ์
นายมนต์ชัย วิวัฒน์ธนาฒย์ พลังประชาชน อภิสิทธิ์
นายมนต์ไชย ชาติวัฒนศิริ พลังประชาชน อภิสิทธิ์
นางมลิวัลย์ ธัญญสกุลกิจ พลังประชาชน อภิสิทธิ์
นายมานะศักดิ์ จันทร์ประสงค์ พลังประชาชน อภิสิทธิ์
นายยรรยง ร่วมพัฒนา พลังประชาชน อภิสิทธิ์
นายรังสิกร ทิมาตฤกะ พลังประชาชน อภิสิทธิ์
นายเลิศศักดิ์ ทัศนเศรษฐ พลังประชาชน อภิสิทธิ์
นายวารุจ ศิริวัฒน์ พลังประชาชน อภิสิทธิ์
นายวิเชียร อุดมศักดิ์ พลังประชาชน อภิสิทธิ์
นายวีระ รักความสุข พลังประชาชน อภิสิทธิ์
นายศุภชัย โพธิ์สุ พลังประชาชน อภิสิทธิ์
นายสนอง เทพอักษรณรงค์ พลังประชาชน อภิสิทธิ์
นายสันทัด จีนาภักดิ์ พลังประชาชน อภิสิทธิ์
นายสากล ม่วงศิริ พลังประชาชน อภิสิทธิ์
นายสาธิต เทพวงศ์ศิริรัตน์ พลังประชาชน อภิสิทธิ์
นายสุขุมพงศ์ โง่นคำ พลังประชาชน อภิสิทธิ์
นายสุชาติ โชคชัยวัฒนากร พลังประชาชน อภิสิทธิ์
นายโสภณ ซารัมย์ พลังประชาชน อภิสิทธิ์
นายไชยยศ จิรเมธากร เพื่อแผ่นดิน อภิสิทธิ์
นายนรพล ตันติมนตรี เพื่อแผ่นดิน อภิสิทธิ์
นายประนอม โพธิ์คำ เพื่อแผ่นดิน อภิสิทธิ์
นายพลพีร์ สุวรรณฉวี เพื่อแผ่นดิน อภิสิทธิ์
นายพิกิฏ ศรีชนะ เพื่อแผ่นดิน อภิสิทธิ์
นายพิเชษฐ์ ตันเจริญ เพื่อแผ่นดิน อภิสิทธิ์
นายรณฤทธิชัย คานเขต เพื่อแผ่นดิน อภิสิทธิ์
ร้อยตรีหญิง ระนองรักษ์ สุวรรณฉวี เพื่อแผ่นดิน อภิสิทธิ์
นายวิทยา บุตรดีวงค์ เพื่อแผ่นดิน อภิสิทธิ์
นายสุชาติ ตันติวณิชชานนท์ เพื่อแผ่นดิน อภิสิทธิ์
นายอนุวัฒน์ วิเศษจินดาวัฒน์ เพื่อแผ่นดิน อภิสิทธิ์
นายอลงกต มณีกาศ เพื่อแผ่นดิน อภิสิทธิ์
นายเกียรติกร พากเพียรศิลป์ มัชฌิมาธิปไตย อภิสิทธิ์
นายณัฐวุฒิ สุขเกษม มัชฌิมาธิปไตย อภิสิทธิ์
นายปกรณ์ มุ่งเจริญพร มัชฌิมาธิปไตย อภิสิทธิ์
นางพรทิวา นาคาศัย มัชฌิมาธิปไตย อภิสิทธิ์
นายมานิต นพอมรบดี มัชฌิมาธิปไตย อภิสิทธิ์
นายมาโนช เฮงยศมาก มัชฌิมาธิปไตย อภิสิทธิ์
นายสมนึก เฮงวาณิชย์ มัชฌิมาธิปไตย อภิสิทธิ์
นางอุดมลักษณ์ เพ็งนรพัฒน์ มัชฌิมาธิปไตย อภิสิทธิ์
นายประเสริฐ บุญชัยสุข รวมใจไทยชาติพัฒนา อภิสิทธิ์
นายวรรณรัตน์ ชาญนุกูล รวมใจไทยชาติพัฒนา อภิสิทธิ์
นางวรศุลี สุวรรณปริสุทธิ์ รวมใจไทยชาติพัฒนา อภิสิทธิ์
นายวัชรพล โตมรศักดิ์ รวมใจไทยชาติพัฒนา อภิสิทธิ์
นายวินัย ภัทรประสิทธิ์ รวมใจไทยชาติพัฒนา อภิสิทธิ์
Saturday, December 6, 2008
ประกาศ รวมพล นปช U.S.A ( NY-NJ )
ประกาศ รวมพล นปช U.S.A ( NY-NJ )
ขอเรียนเชิญ แนวร่วม นปช U.S.A ( NY-NJ ) ทุกท่าน
เพื่อประกาศชื่อกลุ่ม นปช U.S.A ( NY-NJ )ต่อสาธารณะอย่างเป็นทางการ
ณ.ร้านอาหาร ปูดำ 44-19 Broadway Astoria ny
วันเสาร์ที่ 13 ธันวาคม 2551 เวลา 12.00น.(เที่ยงวัน)-16.00น.(บ่าย4โมง)
ติดต่อสอบถามรายละเอียดที่
woodside_ny Tel. (718) 397-5245
จึงประกาศมาให้ทราบโดยทั่วกัน
ขอเรียนเชิญ แนวร่วม นปช U.S.A ( NY-NJ ) ทุกท่าน
เพื่อประกาศชื่อกลุ่ม นปช U.S.A ( NY-NJ )ต่อสาธารณะอย่างเป็นทางการ
ณ.ร้านอาหาร ปูดำ 44-19 Broadway Astoria ny
วันเสาร์ที่ 13 ธันวาคม 2551 เวลา 12.00น.(เที่ยงวัน)-16.00น.(บ่าย4โมง)
ติดต่อสอบถามรายละเอียดที่
woodside_ny Tel. (718) 397-5245
จึงประกาศมาให้ทราบโดยทั่วกัน
Subscribe to:
Posts (Atom)